ในยุคที่โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตกลายเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก สิ่งสำคัญที่ได้รับความนิยมตามไปด้วยคือ “การดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน” และด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการประเมินว่าในปี 2017 หรือเพียงแค่อีก 4 ปีข้างหน้ายอดการดาวน์โหลดจะทำสถิติเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยมีเป็นสัดส่วนมากถึง 400% ทีเดียว
จากการรวบรวมข้อมูลของเว็บไซต์ Socialcubix.com ที่อ้างอิงมาจาก Portio Research ระบุว่าในช่วงปลายปีที่แล้ว (2012) ทั่วโลกจำนวนผู้ใช้งานแอพพลิเคชันรวมกันจำนวนราว 1.2 พันล้านคน ซึ่งมีการเติบโตของจำนวนผู้ใช้งานเฉลี่ยสูงถึง 29.8% ต่อปี และในปี 2017 คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 4.4 พันล้านคนหรือเพิ่มขึ้นถึงเกือบถึง 3 เท่าตัว โดยในจำนวนกว่าครึ่ง (47%) มาจากกลุ่มผู้ใช้งานที่อยู่ในทวีปเอเชีย รองลงมาเป็นทวีปยุโรป (21%), อเมริกาเหนือ (18%), ตะวันออกกลาง (12%) และปิดท้ายด้วยลาตินอเมริกาเพียง 9%
อุปกรณ์สำคัญในการดาวน์โหลดแอพพลิเคชันก็คือ โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต โดยในปี 2012 ที่ผ่านมายอดการดาวน์โหลดแอพบนโทรศัพท์มือถือมีจำนวนรวมกันทั้งหมด 45.6 พันล้านแอพ ซึ่งแบ่งเป็นการดาวน์โหลดแอพฟรีจำนวนมากถึง 40.6 พันล้านแอพหรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 89% ของการดาวน์โหลดแอพพลิเคชันทั้งหมด ในขณะที่การดาวน์โหลดแอพเสียเงินราว 5 พันล้านแอพเท่านั้น
ส่วนในอีกราว 3 ปีข้างหน้า (2016) คาดว่ายอดการดาวน์โหลดแอพบนมือถือจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 309.6 พันล้านแอพ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี 2012 ถึงกว่า 6 เท่าตัว โดยแบ่งเป็นการดาวน์โหลดแอพฟรี 287.8 ล้านแอพหรือคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 93% และแอพฟรี 21.7 ล้านแอพ
ในปีนี้ (2013) คาดว่าจะมียอดดาวน์โหลดแอพบนมือถืออยู่ที่ 56 พันล้านแอพ ซึ่งระบบปฏิบัติการที่ถูกใช้งานเพื่อดาวน์โหลดแอพมากที่สุด คือ Android โดยคิดเป็นยอดการดาวน์โหลดสูงถึง 89% และยังครองส่วนแบ่งในตลาดสูงสุดอยู่ที่ 76% ตามมาด้วยการดาวน์โหลดผ่านระบบปฏิบัติการ iOS (34%), Windows Phone (4%) และ Blackberry (3%)
นอกจากการแอพผ่านทางโทรศัพท์มือถือแล้ว อีกหนึ่งช่องทางที่น่าจับตามองไม่แพ้กันอย่างแท็บเล็ตพบว่าในปีนี้ (2013) คาดว่าจะมียอดการดาวน์โหลดผ่านแท็บเล็ตอยู่ที่ 14 พันล้านแอพ โดยแบ่งเปิดระบบปฏิบัติการ iOS มาเป็นอันดับที่ 1 ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 75% รองลงมาเป็น Android (21%) รวมถึง Windows และ Amazon (2%)
ที่มา: SocialCubix