editorial note: บทความนี้คือบทความพิเศษ (ที่เราเรียกว่า Guest Post) จาก @Jimmy_Live (ที่เจ้าตัวออกปากว่ามันคือบทวิพากษ์ปากหมา) โดยส่งมาให้กองบรรณาธิการ thumbsup อัพโหลดขึ้นให้ชาว thumbsup โดยเฉพาะ สิ่งที่ @Jimmy_LIVE เขียน ไม่สะท้อนแนวคิดของกองบรรณาธิการ thumbsup เป็นเพียงมุมมองของคนที่ชอบแทนตัวเองอย่างถ่อมตัวว่า ?โปรแกรมเมอร์? คนหนึ่ง แต่เราเชื่อว่าแฟนๆ หลายคนของเขาทราบดีว่าเขาคือใคร และเราก็อยากจะบอกว่าความเห็นของเขาเป็นความเห็นที่น่าสนใจและมีสไตล์ขวน ติดตามเป็นอย่างยิ่ง ว่าแล้วก็อ่านกันได้โดยพลัน
– – – – – คำเตือน วันนี้จะสาธยายว่าทำไม Mobile Platform แต่ละเจ้ามีปัจจัยแห่งความสำเร็จเป็นอย่างไร แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงบางเจ้าที่ไม่มีปัจจัยแห่งความสำเร็จหลงเหลืออยู่ มันก็ย่อมต้องเป็นการพูดถึงปัจจัยแห่งความหายนะเป็นธรรมดา เมื่อพูดถึงเรื่องนี้มักก่อให้เกิดอาการปวดตับของใครๆ หลายคนได้ จึงต้องมีคำเตือนก่อน อะไรคือ Mobile Platform iOS ลูกรักของศาสดา
ตาจ๊อบส์ระเห็ดออกจากบริษัท ก็ไปตั้ง NeXT ทำคอมพิวเตอร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก… มีแต่บรรดาลูกค้าชั้นเทพใช้ เช่น หน่วยสืบราชการลับ, ธนาคารใหญ่ๆ, มหาวิทยาลัยยักษ์ๆ เครื่องนั้นดีสุดๆ แต่โคตรแพง… ไม่นาน NeXT ที่ศาสดาคาดว่าจะถล่มแอ๊ปเปิ้ลให้ยับเยิน ตอบสนองความอหังการ์ของตนเองก็เจ๊งไปตามระเบียบ เปลี่ยนไปเป็นบริษัททำ OS อย่างเดียว และก็ทำมันเรื่อยมาอีกสิบกว่าปี จนมันกลายเป็น OS ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกไป เล่าข้ามๆ ว่าภายหลัง แอ๊ปเปิ้ลก็เสื่อมโทรมลง ตาสกัลลี่ก็ออกไปเป็นนักการเมือง ตาจ๊อบส์ก็ปล่อย NeXT ทำ OS ไป ตัวเองก็ไปปั้น Pixar จนกลายเป็นบริษัทแอนิเมชั่นสุดยอดของโลกไป แอ๊ปเปิ้ลที่กำลังเสื่อมถึงขีดสุด ทำ OS ใหม่ก็ไม่สำเร็จ ก็เลยขอซื้อ NeXT กลับมา เลยได้ตาจ๊อบส์มาเป็นของแถม และด้วยการเมืองยอกย้อนบวกกับศรัทธาในตัวจ๊อบส์ ทำให้ตานี่ขึ้นไปเป็นซีอีโอของแอ๊ปเปิ้ลอีกครั้ง เอา OS ของ NeXT พัฒนาต่อเป็น OS X ที่เลื่องลือ ทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่าง iPod และ iMac, MacBook ออกมาเป็นทิวแถว พลิกฟื้นแอ๊ปเปิ้ลจากซากที่ไร้ค่าเป็นบริษัทที่ติดอันดับต้นๆ ไป ผลงานนี้ส่งให้ตาจ๊อบส์ได้รับยกย่องเป็นซีอีโอแห่งทศวรรษไป ทีนี้มาถึงเรื่องโมบาย ก่อนหน้าที่ตาจ๊อบส์จะเปิดตัว iPhone นั้น สมาร์ทโฟน คือ โนเกีย กับ วินโดว์สโมบาย ซึ่งอยู่กับนิยามของความ “เป็นไปไม่ได้” เจ้านึงบอกว่าโทรศัพท์ต้องมีปุ่มตามที่กรูกำหนด เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทัชสกรีนไม่เวิร์ค เพราะมันต้องใช้สองมือ ต้องปุ่มเท่านั้นใช้มือเดียว อีกเจ้าบอกต้องทัชสกรีน แต่ต้องใช้ไม้จิ้มจอ เพราะต้องมีเมนูแบบวินโดว์ ใช้นิ้วจิ้มไม่ได้ มันไม่เวิร์ค จอมันเล็ก เมนูมันเยอะ… ทั้งสองเจ้าท่องบทสวดบทเดียวกันคือ ต้องทำให้มันมีความสามารถต่ำๆ เพราะแบ็ตมันเปลือง… OS ก็ต้องเล็กๆ เน้นแต่ความประหยัดแม่งทุกอย่าง ตาจ๊อบส์ออก iPhone มา จอใหญ่บิ๊กเบิ้ม เปลืองแบ็ตโคตรๆ ใช้นิ้วจิ้มจอ ใช้ OS ชั้นเยี่ยมที่แปลงมาจาก OS X โดยตรง ออกแบบ UI ใหม่หมด ให้มันเหมาะกับทัชสกรีน แถมเปิดนิยามของมัลติทัชและ accelerometer ให้กับสมาร์ทโฟน…. คนตื่นเต้นทั้งโลก ยกเว้นไอ้สองคนในตลาดที่พร่ำบอกแต่ว่าไม่เวิร์คหรอก…มันเปลืองแบ็ต…. คนทั้งหลายที่แห่ไปใช้ iPhone ยุคแรกก็รู้ว่ามันเปลืองแบ็ต…แต่ความที่มันใช้ง่าย ใช้สะดวก เข้าเน็ตได้อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในโทรศัพท์ ได้ส่งผลให้ iPhone ขึ้นสู่ความนิยมไปอย่างถล่มทลาย หลายเจ้าก็ยังงมงายต่อไปไม่สิ้นสุด…พร่ำบ่นแต่ว่า ไม่เวิร์คๆๆๆ…. ในด้านของนักพัฒนา iPhone ได้เปิดโลกใหม่ของโมบายแบบทันทีทันใด iPhone คือ Unix-based computer ดีๆ นี่เอง คิดอยากทำโปรแกรมอะไร ก็ดูเหมือนจะไม่มีข้อจำกัดเลย เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนที่มีมาแต่ก่อน ปัจจัยนี้ได้ก่อให้เกิดการถาโถมของการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบท่วมท้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สรุปง่ายๆ ว่าปัจจัยความสำเร็จที่ สำคัญของ Apple iOS คือ 1. Hardware ที่ยอดเยี่ยม 2. OS ที่สุดยอดเสถียร 3. เครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์และ SDK ที่สมบูรณ์ 4. ความแตกตื่นของนักพัฒนาที่เข้ามาขุดทอง แต่ประการสำคัญที่สุดของปัจจัยความสำเร็จของ Apple คือข้อที่ 5 ครับ ข้อ ที่ 5 คือ ความอ่อนด้อยด้านวิสัยทัศน์ของผู้นำตลาด คือ โนเกีย และ ไมโครซอฟต์ครับ ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างความสำเร็จของ Apple iOS โนเกียมีสมาร์ทโฟนมาก่อนเป็นสิบปี ไมโครซอฟต์มี PDA phone ที่เป็นทัชสกรีนมาก่อนเกือบสิบปี เคยออก Windows Tablet มาหลอกเงินผมก็หลายรอบ แต่พอ iPhone กับ iPad ออกมา ทั้งหมดในรอบสิบปี กลายเป็นของห่วยแตกไปหมดทันที แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ iOS ออกมาแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้น คือการชี้นำตลาดว่าควรจะไปทางใด ในระยะสามปีที่ผ่านมา ได้เกิดการจัดระเบียบแบบแผนของตลาดสมาร์ทโฟนอย่างกว้างขวางอย่างที่ไม่เคยมี มาก่อน มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้แบบก้าวกระโดด การเติบโตทางเทคโนโลยีด้านโมบายระยะสามปี สูงกว่าสิบปีที่ผ่านมาอย่างเทียบกันไม่ได้ แน่อนว่า Apple เป็นผู้นำ ที่เหลือคือผู้ตาม แต่เหตุการณ์นี้เคยเกิดมาแล้วตอนแม็คอินทอชเป็นผู้นำ แล้ว Windows เป็นผู้ตาม เจ้าอื่นๆ ทั้งโลกหันไป วิ่งตาม Apple กันหมด ก่อนให้เกิด OS ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆมากมาย จุดหมายคือ แข่งกับ Apple ให้ได้… มาดูกันว่าเจ้าอื่นคิดอะไร… Android ของ Google (ผู้ไม่เคยยอมรับว่าตัวเองเป็นปีศาจ) ในความคิดของผม Android คือคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของ iOS เพราะ Google มีหลายอย่างที่ Apple ไม่มี และ Business Model ของ Android ก็ทำให้คนทั้งโลกที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับ Apple หันมาสนับสนุน Android กันหมด จะว่าไปก็คล้ายกับตอน Windows ที่บรรดาผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รวมหัวกันถล่มแม็คอินทอช ตอน ที่ Android ยังไม่ออกมา Eric Schmidt นั่งเป็นบอร์ดของ Apple ได้เอา prototype ของ Android ออกมาอวดสตีฟ จ๊อบส์ นัยว่าเป็นการบอกว่ากรูกะลังทำโฟนอยู่นะ มรึงจะว่าไง ตอนนั้น จ๊อบส์ดูแล้วเฉยๆ เพราะหน้าตามันเหมือนโนเกียผสมบีบี เลยไม่ว่าไง มรึงจะทำก็ทำไป ไอโฟนลูกรักกรูเจ๋งกว่าอยู่แล้ว… แต่พอเครื่อง G1 ออกมา เท่านั้นแหละ สตีฟ จ๊อบส์ก็ควันออกหูทันที เรื่องราวใหญ่โตจนถึงขั้นบีบ Schmidt ให้พ้นเก้าอี้บอร์ดของ Apple ไปในที่สุด เนื่องเพราะ G1 น่ะ ลอก iPhone ชัดๆ ไอ้ปีศาจเอ๊ย…. Google น่ะเป็นที่รู้กันว่ามี Motto ของบริษัทว่า “Don’t be evil…” แต่ในสายตาของศาสดาแล้ว ไอ้นี่มันปีศาจชัดๆ… เรื่องนี้ Google บอกว่าคิดมาก่อนที่จะมี iPhone อีกเฟ้ย…อย่ามาซี้ซั้วโมโหไป… Android น่ะมีรากฐานจากเครื่อง Side-kick ของ Andy Rubin ที่โด่งดังมาก่อน ตอนนั้น Apple ยังไม่เคยคิดเรื่องโฟนด้วยซ้ำ… เถียงกันไปมาอยู่นาน… แต่สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ การใช้ซอฟต์แวร์ของสมาร์ทโฟนนั้นคือ cloud service คือใช้บริการต่างๆ จาก server เห็นได้จากตอนปีแรกที่ iPhone ออกมา ศาสดาไม่ได้ให้เขียนโปรแกรม แต่ให้นักพัฒนาทำ Web App อย่างเดียว เพราะจริงๆ แล้ว หากไม่นับเกม โปรแกรมเกือบทั้งหมดสามารถพัฒนาเป็น Web App ได้ เพียงแต่บรรดาแฮ็กเกอร์ไปเขียนโปรแกรมเข้าจนศาสดาต้องยอมปล่อย SDK ออกมาในปีต่อมา แอ๊ปเปิ้ล ยังมีข้อเสียเปรียบเรื่อง Cloud อยู่มาก ว่าไปแล้ว MobileMe เป็นบริการสุดห่วยของ Apple ก็ว่าได้ ถ้าเทียบกับ Cloud infrastructure ของ Google แล้ว ศาสดายังห่างชั้นอยู่ ข้อดีของ Android คือการออกแบบ OS ของ Andy Rubin นั้นยอดเยี่ยมมาก สถาปัตยกรรมของ Android นั้น เรียกได้ว่าออกแบบมาเหมาะสมกับการใช้งานแบบสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตมากกว่า iOS เสียอีก แต่เนื่องจากเป็น Java based และความซับซ้อนของสถาปัตยกรรมยังคงทำให้ซอฟต์แวร์ทั้งหลายยังไม่สามารถขับความสามารถที่เต็มที่ออกมาได้ แต่ผมเชื่อว่าโปรแกรมใน Android ในระยะสองสามปีข้างหน้านี้จะสูงกว่า iOS (สาวกคนไหนจะเถึยง ช่วยเอาแบบวิชาการรู้จริงหน่อยนะ ผมขี้เกียจอธิบาย และช่วยสุภาพหน่อยนะกรูเบื่อ) ปัจจัยแห่งความ สำเร็จของ Android คือ 1. ฮาร์ดแวร์มากมายให้การสนับสนุนอยู่ ยังไงๆ เครื่องก็ต้องขายได้มาก เพราะมีคนขายมาก คนผลิตมาก 2. OS ออกแบบมาดี ซอฟต์แวร์ที่ใช้ความสามารถเต็มที่จะมี features ที่ดีๆ มาก 3. Cloud based ของ Google จะขับความสามารถของ SDK ได้มากกว่า ปีนี้ศึกที่น่าลุ้นที่สุดคือ iPad 2 สู้กับฝูง Android Tablet ซึ่งคาดว่าจะเป็นแนวรบที่ดุเดือดที่สุดในแวดวงโมบายของปีนี้ ขุนศึกฝั่ง Android ที่สำคัญก็มี Samsung, HTC, Motorola, Sony-Ericsson, LG, และอื่นๆ อีกมากมาย ฝั่ง Apple แม้จะได้เปรียบ แต่การที่ศาสดาป่วยย่อมก่อให้เกิดปัญหาไม่มากก็น้อย เปรียบไปตอนนี้คือ หมาหมู่กับสิงโต (ป่วย) อ่ะนะ ใครจะตายไม่รู้ แต่ต่างคนต่างเจ็บแน่นอน… Symbian การลากความสำเร็จในอดีตลงน้ำไม่ทำให้อะไรดีขึ้นนอกจากหนักเปล่าๆ โนเกีย ประสบความสำเร็จมากในด้านโมบาย แต่เรื่องสมาร์ทโฟนนั้นแม้ว่าโนเกียจะพร่ำบอกว่าตัวเองคือหนึ่งในผู้นำ แต่คนส่วนใหญ่ส่ายหัวทั้งนั้นว่าไอ้สมาร์ทโฟนที่เอ็งทำมาสิบปีน่ะไม่นับเฟ้ย แม่มห่วย เอาสมาร์ทโฟนที่คนอื่นเค้ายอมรับกันหน่อย?แต่ความเป็นโนเกียนั้น ก็ลากเอานิยามสมาร์ทโฟนของตนมาเป็นมาตรฐานจนได้ Symbian นั้นยอดเยี่ยมในยุคของมัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป มันคือปัญหาที่ต้องสะสาง โนเกียเองก็คงทราบ เลยมีการออก OS ใหม่คือ Maemo ซึ่งตอนหลังไปร่วมกับอินเทลแบบเตี้ยอุ้มค่อมทำเป็น OS ใหม่ชื่อ MeeGo ทำไปทำมาตั้งนาน ไม่มีอะไรออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน แถมหัวหน้าทีมที่คั่วตำแหน่ง CEO มานาน พอผิดหวังก็ลาออกไปอีก นัยว่า OS นี้คงแป๊ก… โนเกียนั้นได้แก้เกมในด้าน Symbian ได้สวยสดงดงามอย่างหนึ่ง คือการเข้าซื้อ Trolltech เอา Qt มาเป็น Development platform ให้นักพัฒนาใช้พัฒนาโปรแกรมสำหรับ Symbian เรื่องนี้ต้องชมครับ เป็นการแก้ปัญหาที่ยอดเยี่ยมมาก Qt เป็น Development tools ที่ยอดเยี่ยม เมื่อเอามาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมสำหรับ Symbian ย่อมทำให้นักพัฒนาทำโปรแกรมได้เร็วขึ้น โปรแกรมก็น่าจะออกมาดีขึ้น ฐานของโนเกียที่กว้างอยู่แล้ว เมื่อมีซอฟต์แวร์มาเสริมก็จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ดังนั้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโนเกียคือ?1. ฐานลูกค้าเก่า และความจงรักภักดีของสาวก 2. Qt ในฐานะเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่ยอดเยี่ยม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโนเกียนี้มีอายุสั้นมาก หากทำได้ช้า สาวกก็จะหายไปเรื่อยๆ และ Qt ที่ลีลามากเหลือเกิน ออกมาชักช้ามาก แถมมีเวอร์ชั่นบ้าบอวุ่นวายไปหมด สิ่งที่ควรทำก่อนไม่ทำ ทำไรไม่รู้ ที่สำคัญคือโนเกียไม่ค่อยหันดูคนอื่น ผมหัดเขียน Qt ไล่ดูวิดีโอสอนเขียนโปรแกรม มีวิดีโอตอนหนึ่งสอนเรื่อง Animation Programming ทำใหญ่โตมาก ถ่ายทำบนรถไฟ มี developer มาพูดถึงการทำ Animation Effect ที่ยอดเยี่ยมมาก ดูไปจนจบ มันก็แค่การขยับ Toolbar ขึ้นเท่านั้น แทบจะลุกขึ้นกระทืบจอ ไม่รู้คิดอะไรได้แค่นี้… เครื่อง N97 เป็นความล้มเหลวที่สุดของโนเกีย และมาแก้ตัวได้ค่อนข้างดีใน N8 แต่ถ้า Qt 4.7 อืดอาดล่าช้า ไม่ออกเครื่องมือและหนังสือออกมาเร็วๆ นักพัฒนาไม่มีทางทำซอฟต์แวร์ได้ทัน N8 ก็จะเริ่มหมดมนต์ขลัง ต้องรอ series X อีกรอบ ถ้ารอบนี้พลาดโนเกียจะรูดแน่ แต่ series X ถ้าดูแล้วอย่างเป็นธรรม โอกาสสำเร็จนั้นมีมากเหลือเกิน… เหลืออย่างเดียว โนเกีย ต้องสนับสนุนจริงจังให้มีซอฟต์แวร์ได้มากพอ ที่สำคัญคือทำไงให้ทีม Qt ลีลาน้อยลงหน่อย รีบๆ ทำออกมาซักที การแถลงผลประกอบการเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โนเกียรายได้เพิ่ม แต่กำไรหด แสดงถึงเวลาที่งวดเข้ามาเต็มทีแล้ว หากไม่สามารถแก้ปัญหาความล่าช้าได้ มีหวังรูดแน่ แต่ดูแล้วมีแนวโน้มเป็นไปได้สูงที่โนเกียจะมี Line product ใหม่เกิดขึ้น เพื่อแก้ปัญหา คนเดาว่าไม่นานโนเกียคงตัดสินใจทำ ไม่ Android ก็ Windows Phone 7 แน่ เพราะการแบบ Symbian เดินลงน้ำไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ Android หรือ WP7 อย่างน้อยก็เป็นห่วงยางได้แหละ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง มีหวังเกมพลิกกันสนุกแน่ (ผมเดาว่าหวยออกทาง Android) Windows Phone 7 เกมแห่งการไล่ล่าเริ่มขึ้นแล้ว ไมโครซอฟต์ ถนัดกลยุทธ์ในการลากเอาอาวุธหนักทุกอย่างที่มีออกมารบให้หมด งานนี้ไมโครซอฟต์ทุ่มสุดตัว เอา XNA กับ Silverlight สองสุดยอดเทคโนโลยีที่มี เอามาครอบ Windows Mobile 7 ที่สุดห่วยของตนเองอย่างมิดชิด เอาเหล้าเก่าออกมาในขวดใหม่ได้อย่างแนบเนียนสุดๆ ผลงานการออกแบบที่ยอดเยี่ยมของ Windows Phone 7 ที่เอาหลักของป้ายจราจรในเมืองมาเป็น “Metro” UI ที่คนตื่นเต้นกันทั้งโลก ทำให้เกิดความคึกคักขึ้นมาทันที ไมโครซอฟต์ได้เปรียบมากในเรื่องนักพัฒนา เพราะมีนักพัฒนาจำนวนมากที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีของไมโครซอฟต์ ดังนั้นเมื่อ Windows Phone 7 นั้นใช้เทคโนโลยีที่คุ้นเคย นักพัฒนาก็เลยแห่เข้าไปทำโปรแกรมกันมาก ตอนนี้มีนักพัฒนาที่วิ่งเข้าสู่ WP7 มากกว่า Android และ BB เสียอีก แน่นอนว่าปัจจัย แห่งความสำเร็จของ Microsoft Windows Phone 7 คือเทคโนโลยีต่างๆ ของไมโครซอฟต์นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น XNA, Silverlight, Office, ไปจนถึง Azure และรวมถึง Visual Studio ที่ใช้ได้ทั้ง C# และ VB ปีนี้จะได้เห็นการเติบโตของ Windows Phone 7 software ที่จะมีอัตราการโตที่สูงมาก นักพัฒนาฝั่ง Windows นี้อัดอั้นมานาน การเขียนโปรแกรมใน iOS นั้นยังไงก็ไม่คุ้นเคยเท่ากับเขียนใน Windows นักพัฒนาที่คิดแบบนี้มีมหาศาล…และกำลังมีความสุขกับการไล่ล่าครั้งใหญ่… (กรูหมั่นไส้มานาน…ว่างั้นเหอะ) ข้อเสียเปรียบ มีอย่างเดียวคือ Windows Mobile 7 มันก็คือลูกหลายรากเหง้าจาก Windows Mobile 6 นั่นแหละ แม้ว่าเอา Silverlight กับ .NET มาครอบจนมิดแล้วเปลี่ยนชื่อไปเป็น Windows Phone 7 ยังไงมันก็คือ Windows Mobile 7 อยู่ดี การที่ไม่เป็น Unix based ทำให้ใช้ได้เฉพาะ Tools และ Library ฝั่ง Windows ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ใช่ Open Source ดังนั้น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดจะไม่เกิดขึ้น ทุกโปรแกรมจะเป็น proprietary หมด ecosystem ยังคงเป็นแบบ Windows เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เตือนก่อนว่าสนามนี้ถ้าไม่ใช่นักล่า ที่หากินในแดนไมโครซอฟต์มาก่อน หากตัดสินใจลงสนาม ระวังหลังด้วยว่า นักล่าตัวใหญ่ๆ มีมากมาย และล่าทุกอย่างที่ขวางหน้า…. BB นิ่มๆ แต่หนักหน่วง RIM มีมุมมองด้านโมบายที่ต่างจากรายอื่นมาตั้งแต่ต้น BB นั้นผูกติดกับ RIM Server ชนิดแยกกันไม่ออก การใช้ BB ไม่ใช่การใช้โทรศัพท์ แต่เป็นการใช้ Terminal Client ที่มี server ขนาดใหญ่ทำงานอยู่ด้านหลังให้กับเรา ระบบที่มีการติดต่อและ Notification ที่ยอดเยี่ยม ทำให้ BB ไม่ใช่แค่โมบาย หลายคนมอง Hardware ของ BB แล้วส่ายหน้า บอกว่าห่วย..สู้ของกรูไม่ได้… นั่นเพราะมองไม่เห็น server ที่อยู่ในตัวของ BB ด้วยอีกตัวนึง…. สถาปัตยกรรม ของ BB ในแง่ที่กล่าวมายังคงเป็นผู้นำในตลาดอยู่ แน่นอนว่ามันอาจลดความสำคัญลง เมื่อมี Cloud service มากมายเกิดขึ้น และ Mobile Internet ก็มีความเร็วที่ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของ 3G/4G (ไม่ใช่ 3G ที่แปลว่าอีก 3 generation ได้ใช้แบบบ้านเรา) การใช้งานของ BB หลายอย่าง เช่น BBM, Push Mail นั้น ล้วนแต่เป็นความสามารถบนสถาปัตยกรรมดังกล่าว ตอนนี้ต่างก็รอดูกันต่อไปว่า RIM จะเอาสถาปัตยกรรมนี้ไปใช้อะไรต่อในการรวมการใช้งานของ Playbook-BB-server อย่างไร ตอนนี้คงยังบอกอะไรไม่ได้มาก จนกว่า Playbook จะออกมาเต็มตัว ภาพต่างๆ คงชัดขึ้น BB นั้นในสหรัฐฯ เริ่มสูญเสียตลาดให้กับเจ้าอื่น แต่ใน ตลาดนอกสหรัฐฯ ยังคงมีการเติบโตที่ดี นอกจากปัจจัยด้านสถาปัตยกรรมที่ว่าไปแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ พฤติกรรมของผู้ใช้ BB เป็นผู้ใช้ที่เข้าถึง Social Network และข้อมูลข่าวสารมากกว่า Platform อื่นโดยเฉลี่ย ปัจจัยนี้ถ้ามองให้ดีจะเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญ เพราะผู้ใช้จะมีความภักดีต่อ Platform สูงเพราะถูกผูกอยู่ด้วยปัจจัยอื่นๆ ภายนอกมากมาย… จบซะที…. ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัว เห็นยังไง เขียนอย่างนั้น …. จบ |