Site icon Thumbsup

วิเคราะห์สงคราม Music Streaming การแข่งขันที่ดุเดือด ใครจะเป็นผู้อยู่รอด

ช่วงครึ่งปีหลังนี้ เราเริ่มเห็นวงการ Music Streaming ลุกเป็นไฟ ตั้งแต่ YouTube หันมาเปิดให้บริการเอง โดยใช้ชื่อว่า YouTube Music ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงทดลองใช้งานฟรี หรืออย่างข่าวล่าสุดที่ TikTok ก็หันมาเล่น Music Streaming เหมือนกัน คาดว่าจะออกให้ใช้งานทิ้งท้ายสิ้นปี 2562 เรียกว่าเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดสุดๆ แล้วการแข่งขันสูงแบบนี้ ใครจะสามารถครองตลาดนี้กันได้บ้าง เดี๋ยวรู้กัน

การเติบโตของ Music Streaming

มูลค่าตลาด Music Streaming มีมูลค่าสูงถึง 1.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบสิบปี เนื่องจากการเติบโตของสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งเรื่องของราคาสมาร์ทโฟนที่ถูกลงและเข้าถึงผู้ใช้งานทุกกลุ่มได้ง่าย และที่สำคัญคือคุณภาพเสียงดีกว่าสมัยก่อน

นอกจากนี้ ยังรวมถึงเทรนด์การใช้สินค้าถูกลิขสิทธิ์ด้วย ทำให้ประเทศไทยฟังเพลงผ่าน Music Streaming มากกว่า 5,000 ล้านครั้ง ซึ่งการเก็บข้อมูลนี้มีบริการแค่ไม่กี่รายเท่านั้น ซึ่งปีหน้ามียักษ์ใหญ่อย่าง Youtube และ Tik-tok มาร่วมวงด้วย รับรองว่ายอดวิวจะสูงขึ้นไปอีกเท่าตัวแน่นอน

 

ใครน่ากลัวที่สุด

คำว่าน่ากลัวที่สุดนี้วัดได้จากหลายอย่าง แต่เราจะเริ่มจากการวิเคราะห์จุดแข็งของแต่ละค่ายกันดีกว่า เพื่อจะได้รู้ว่าแต่ละแบรนด์มีความโดดเด่นตรงไหน  แล้วจะสามารถสู้กับรายอื่นได้หรือไม่

 

Apple Music

Apple Music เป็น Music Streaming ของ Apple ช่วงที่ Apple เข้ามาตีตลาดในไทย เป็นช่วงบริการฟังเพลงในไทยยังนิยมโหลดจากเว็บเถื่อนอยู่ ถ้าดาวน์โหลดของแท้ก็ต้องเสียค่าบริการเพลงละ 39 บาท

ซึ่งในยุคนั้นถือว่าแพงมาก ถ้าจะมองข้อดีของ Apple Music คงเป็นเรื่องของฐานแฟนเพลง และเพลงสากลที่มีให้เลือกหลากหลาย แต่ข้อที่อาจจะด้อยกว่าเจ้าอื่นคือลูกเล่นที่น่าสนใจของ Apple Music ที่ไม่ค่อยโดนใจผู้ใช้งานเท่าไหร่

แต่ก็มีราคาพิเศษสำหรับนักศึกษาที่ 69 บาท ส่วนผู้ใช้งานทั่วไป 129 บาท หรือแบบครอบครัว 199 บาท เรียกได้ว่า Apple Music เริ่มปรับราคาให้ได้มาตรฐานแบบเดียวกับคู่แข่งบ้างแล้ว

 

Spotify

ขอบคุณรูปภาพจาก Engadget

Spotify ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพเสียงและมี AI ช่วยสุ่มเพลงให้ฟังอย่างราบรื่น ทำให้คนฟังรู้สึกเหมือนได้ฟังเพลงใหม่ๆ ในแนวที่ตัวเองชอบตลอดเวลา ทำให้อยากกลับมาฟังเพลงซ้ำใน Spotify อีก ส่วนจุดด้อยคงเป็นเรื่องของการฟังเพลงฟรีได้น้อย มีโฆษณามาคั่นทุก 30 นาที รวมทั้งจำกัดการสุ่มเลือกเพลง เมื่อเทียบกับการใช้งานบน JOOX

ทางด้านราคาของ Spotify นั้น อยู่ที่ 129 บาทต่อเดือน แบบแฟมิลี่ 199 บาทต่อเดือน แต่สามารถเลือกใช้ในราคาพิเศษร่วมกับพาร์ทเนอร์หรือบัตรเครดิตได้มากมาย

 

JOOX

JOOX มีจุดเด่นที่น่าสนใจ คือสามารถฟังเพลงฟรีได้สบายๆ แค่มีโฆษณาคั่นเท่านั้น ทำให้เข้าถึงคนฟังได้มากกว่าในทุกๆ แบรนด์ แต่ข้อเสียคงเป็นเรื่องระบบการสุ่มเพลงที่ฟังแล้วไม่ลื่นหูสักเท่าไหร่ ระบบยังคงสุ่มเพลงเดิมๆ ทำให้คนฟังเบื่อเพลงที่เล่นซ้ำบ่อยๆ ได้ง่าย

ส่วนเรื่องของราคาก็ค่อนข้างหลากหลายกว่า คือ รายเดือน 99 บาท ราย 3 เดือน 279 บาท และแบบรายปีคือ 879 บาท ก็แล้วแต่ลูกค้าเลือกใช้งานกันไป

 

YouTube Music

YouTube นอกจากเป็นผู้นำแห่งวงการคลิปวิดีโอเป็นอันดับ 1 ของโลกแล้ว เมื่อบุกเข้ามาในวงการ Music Streaming คู่แข่งก็เตรียมตัวสะเทือนวงการได้เลย เพราะทุกเพลงบนโลกใบนี้ล้วนมีมิวสิควิดีโอใน YouTube และทุกเพลงทุกค่ายก็มี Official Chanel บน YouTube ทั้งสิ้น ทำให้ถือไพ่เหนือกว่าทุกรายอย่างแน่นอน

ส่วนข้อเสียคงเป็นเรื่องของแพคเกจการให้บริการ ที่ค่อนข้างแพงกว่าค่ายอื่น ด้วยค่าบริการ YouTube Music เดือนละ 129 บาท ถ้าสมัครผ่านแอพใน iOS ราคาเดือนละ 169 บาท

 

TikTok

อีกหนึ่งบริการที่น่าจับตามองที่พึ่งประกาศไปได้ไม่นานว่าจะมาเล่นใน Music Streaming เหมือนกัน แต่ยังไม่มีข้อมูลออกมามากนักแม้กระทั่งชื่อ ก็ต้องรอดูว่าจะมีลูกเล่นอะไรเหนือเจ้าใหญ่อื่นๆ หรือเปล่า

แต่สิ่งที่ทีมบริหาร TikTok บอกกับสื่อให้ทราบคือ ค่าบริการจะต้องถูกกว่า Spotify แน่นอน รวมทั้งกำลังเร่งคุยกับพาร์ทเนอร์วงการเพลงยักษ์ใหญ่มากมาย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้ในราคาที่ถูกกว่าค่ายอื่นๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่าแต่ละค่าย ต่างก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน แต่ถ้าจะให้น่ากลัวที่สุดคงเป็น YouTube เพราะมี Data เยอะที่สุด แต่ก็ต้องรอดูว่าจะเดินกลยุทธ์มาถูกทางหรือเปล่า เพราะการที่เป็นเจ้าของทุกค่ายไม่ได้หมายความว่าจะสามารถดึงคนมาใช้งานได้เสมอไป

อีกอย่างหนึ่ง คือ คนไทยส่วนใหญ่คนฟังเพลงจาก Smartphone ประมาณ 93% แต่คนจะฟังเพลงผ่าน YouTube โดยการเปิดจากคอมพิวเตอร์มากกว่า (เพราะตอนนั้นยังไม่มี YouTube Music) ซึ่งความน่ากลัวนี้น่าจะมีให้เห็นในปีหน้า

 

จะสู้ยังไงให้รอด

ถ้าจะถอด Key success ของระบบ Music Streaming ในไทยคงมีแค่ไม่กี่ข้อ เพราะพฤติกรรมการฟังเพลงของคนไทยไม่ซับซ้อน 

ต้องจับตาดูว่า ในปีหน้า Music Streaming จะดุเดือดกันแค่ไหน และจะมีแบรนด์อะไรเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดนี้อีกหรือไม่ แต่ส่วนตัวผู้เขียน คิดว่ามีแน่ ที่สำคัญอย่าลืมจับตาดูฟีเจอร์ต่างๆ ที่มีการนำ AI มาเป็นตัวชูโรงสำคัญในการวิเคราะห์พฤติกรรมคนฟังด้วย รับรองว่าปีหน้าสงคราม Music Streaming ลุกไปไฟแน่นอน

Airpods หูฟังไร้สายยอดนิยม คลิกเลย