Site icon Thumbsup

ส่อง!! วัฒนธรรมของ Netflix ที่ทำให้องค์กรเติบโตผ่านความท้าทาย

การเติบโตของ Netflix ถือเป็นอีกหนึ่งสื่อที่พลิกโฉมธุรกิจบันเทิงไปอย่างสิ้นเชิง  แต่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็นเพราะ “วัฒนธรรมองค์กรที่โดดเด่น” เราลองมาดูสิ่งที่ Mr.Mitch Lowe ซึ่งดำรงตำแหน่ง Co-founding Executive of Netflix ได้พูดไว้เอาไว้ในงาน AIS Digital Intelligent Nation 2019 กันค่ะ

เริ่มแรกของการก่อตั้งบริษัทนั้นเริ่มมาจากความคิดที่ว่าชอบชมความบันเทิงตอนทานอาหารเย็นอยู่ เลยมองว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะส่งความบันเทิงไปที่บ้านได้  จึงได้เริ่มต้นธุรกิจด้วยการส่ง DVD ไปตามบ้าน  ในขณะนั้นภรรยาและลูกของเขามองว่าเป็นแนวความที่ผิด  จึงต้องใช้เวลาพิสูจน์ว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นเป็นจริงได้   ด้วยการส่งความบันเทิงไปที่แล็ปท็อป โทรศัพท์มือถือ แต่ในตอนนั้นเทคโนโลยีเองก็ยังไม่เอื้อต่อธุรกิจนัก

จนเวลาผ่านไป 10 ปี เข้าสู่ปี 2008 ก็มีเทคโนโลยีมารองรับนั่นคือ ‘การสตรีมมิ่ง’ หลังจากนั้นก็มีบริการฟรีให้กับลูกค้า  เกิดเป็นบริการในสหรัฐ และอีก 2 ปีผ่านไปก็มีบริการในอเมริกาใต้  ซึ่งพัฒนามาเรื่อยๆ ด้วยความเก่งกาจของทีมงาน  ทำให้ในปัจจุบันมีบริการกว่า 130 ประเทศ

หากเปรียบเป็นคน Netflix บอกว่าตัวเองคือคนที่มองหาวิธีใหม่ๆ เพื่อสร้างเพลิดเพลินสนุกสนาน  และได้แก้ไขปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ไปพร้อมกัน  เรียกได้ว่าความบันเทิงนี้ทำให้คนดูติดหนึบ  เพราะคุณอาจเริ่มดู Netflix ตอนสี่ทุ่ม จนรู้ตัวอีกทีก็ตี 4 แล้วก็เป็นได้

ซึ่งเขาบอกว่าคู่แข่งไม่เคยคิดถึงจุดนี้เลยในการสร้างความบันเทิง  ต่างจากพวกเขาแก้ที่ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ  อย่างเรื่องการข้ามเพลงตอนต้นเรื่องที่มองว่าใครกันจะอยากฟังเพลงเริ่มต้นซีรีส์ที่ยาวเป็นนาทีๆ  สิ่งเล็กๆ เหล่านี้เองเป็นจุดที่ทำให้คนรัก Netflix และบอกต่อกัน  ส่งผลให้ปัจจุบันผู้คนจำนวน 1 ใน 3 ของประเทศสหรัฐฯ เป็นคนที่ดู Netflix มากกว่า 1 ชม.

ก่อนหน้านี้ CEO ของ Netflix เคยถูกถามว่าคู่แข่งของธุรกิจคือใคร  ซึ่งเขาบอกว่าคู่แข่งสำคัญที่สุดคือ ‘ความง่วง’ นั่นเอง และ Netflix เองยังคงกำหนดมาตรฐานใหม่ๆ ขึ้นมาให้องค์กรเสมอ  และมีการใช้จ่ายเงินไปมากกว่าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับเนื้อหาใหม่ๆ

โดยปัจจัยความสำเร็จของ Netflix  คือการทำทุกอย่างเพื่อจ้างคนที่เก่งมาทำงาน  รวมทั้งการกระตุ้น ชื่นชม สร้างแรงจูงใจ  และการมีความเป็นผู้นำ  เขากล่าวว่าการพูดเลือกบุคลากรนั้นต้องมั่นใจได้หาคนที่ตระหนักถึงผลกระทบกับคนอื่น เป็นคนที่ชอบธุรกิจนี้  คนที่ทำตัวเป็นผู้นำ คนที่มองตลอดว่าจะเพิ่มขีดความสามารถ  และความรู้ของเขาเองได้อย่างไร  รวมถึงไม่มีใครอยากทำงานกับคนนิสัยไม่ดี  เพราะจะทำให้การทำงานนั้นเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ

เราจึงต้องจ้างคนที่เรามุ่งหวังว่าหากมีอะไรเล็กๆ น้อยๆ เขาก็จะเข้าไปแก้ไข  ส่วนยุทธศาสตร์ขององค์ก็ต้องมีความชัดเจน และรู้ว่าไปในทิศทางไหน  แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปบอกว่าต้องก้าวเดินแบบ 1 2 3 4 ได้อย่างไร  เพราะคนเก่งๆ จะมีความฉลาดในการสำรวจหาทิศทางอย่างที่คนอื่นไม่กล้าทำ

นี่คือสิ่งที่ Netflix ทำเพื่อเเซงหน้าบริษัทอื่นๆ ซึ่งเอกสารด้านบนคือเอกสารจริงจาก Netflix โดยจะไม่ให้รางวัลการทำงานหนัก แต่ให้รางวัลกับความสำเร็จ  จุดเด่นที่สุดของบริษัทนี้คือพนักงานจะพักร้อนกี่วันก็ได้ตราบเท่าที่ทำงานเสร็จ  และใครก็ตามที่ทำงานหนักแต่ไม่เสร็จ  พวกเขาจะต้องออกไปจากบริษัท  แต่สำหรับคนที่ทำงานได้เยอะก็จะได้สิทธิ์ในการพักผ่อนเยอะเช่นเดียวกัน

ความเป็นผู้นำก็เป็นสิ่งสำคัญหากต้องการให้ทีมมีเอกลักษณ์และกล้าหาญ  เราก็ต้องสอนเขาให้พร้อมจะแสวงหาอะไรสักอย่าง  เพราะถ้าเทียบตัวอย่างจะพบว่าบริษัทอย่าง Blockbuster ครั้งหนึ่งก็เคยมองบริษัท Startup ว่าไม่มีทางเเข่งแข่งกับตัวเองได้  ถ้าคุณเคยมองคู่แข่งแบบนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยนทัศนคติทันที  เพราะสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปไวมาก  เราต้องมองตลอดว่าผู้บริหาร พนักงาน ของเรากำลังทำอะไรอยู่ในตอนนี้

เมื่อหลายปีก่อนเขาเคยไปเช่ารถแล้วต้องใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมง  เพื่อกรอกคำถามใดๆ ก็ตาม  ซึ่งถ้าธุรกิจไหนที่ลูกค้าต้องใช้เวลาเกินกว่าจำเป็น ก็ถึงเวลาที่จะต้องแก้ไข และพัฒนาจุดนี้ให้ดีขึ้น ในอดีตถ้า CEO ของ Blockbuster มีการนึกถึงลูกค้าเป็นลำดับแรก  ก็คงไม่บอกว่า Netflix ไม่ได้อยู่ในเรดาห์ธุรกิจของเลย

นี่คือบริษัทที่เคยพูดลักษณะนี้  และปรับเปลี่ยนตัวเองไม่ไดเนื่องจากผู้บริหาร พนักงาน ไม่ได้คิดในเชิงของการสร้างนวัตกรรมการแก้ปัญหาทั้งเล็กและใหญ่  แน่นอนว่าเราไม่อยากเป็นแบบจึงได้สร้างวัฒนธรรมที่จะไม่ยอมให้บริษัทตกไปในรูปแบบนี้  ซึ่งMicrosoft เคยบอกว่า “Google ไม่ใช่บริษัทจริงๆ ด้วยซ้ำ” ซึ่งถ้าเกิดเราเคยพูดแบบนี้กับคู่แข่งเราต้องคิดหนักๆ เช่นกัน

แต่ตัวอย่างที่ดีคือบริษัท Unicorn Startup ที่ก่อตั้งมาเพื่อแก้ไขปัญหาเล็กๆ วันหนึ่งมีคนหาเเท็กซี่ไม่ได้  แล้วคิดว่าถ้าดึงโทรศัพท์ออกมาแล้วกดปุ่มให้มีรถมารับได้ก็คงดี  จนในที่สุดก็ได้ดลายมาเป็น Uber  ซึ่งธุรกิจตอนนั้นเติบโตจนกระทั่งบริษัทที่รับจ่ายค่าปรับของกรมตำรวจเคยบอกว่า  ตั้งแต่ที่มี Uber จำนวนค่าปรับสำหรับคนดื่มเหล้าแล้วขับนั้นน้อยลงมาก ส่งผลให้รายได้ของเมืองลดลงไปเยอะเลยทีเดียวจนแทบจะให้เมืองลำบาก

อีกสิ่งที่เปลี่ยนคือเมื่อก่อนที่ไปสนามบินลอสแอนเจลิส  คุณจะต้องใช้เวลาหาที่จอดรถไม่เกินกว่า 5 นาที  ต่างจากก่อนหน้านี้ที่ต้องใช้เวลามากกว่าครึ่งชม  นี่คือการเปลี่ยนโฉมหน้าการแก้ปัญหาที่แท้จริง

ลองนึกดูในบริษัทของคุณเองก็ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ทำแล้วช่วยแก้ปัญหามากกว่าที่มีอยู่  อย่างเช่น การทำบัญชี การกรอกเอกสารค่าใช้จ่าย  ในทุกๆ อย่างควรมีนวัตกรรม  และทุกคนเองก็สามาารถทำได้

เพราะ Netflix ก็สามารถเปลี่ยนโฉมหน้าธุรกิจบันเทิงในขณะที่คู่แข่งอย่าง Blockbuster กำลังรุ่งเรืองได้  เพียงต้องหาวิธีเฉพาะ และทั้งหมดนี้คือวิธีที่  Netflix ใช้พัฒนาธุรกิจของพวกเขา

ในตอนท้ายมีการทิ้งท้ายว่า “อย่ากลัวที่จะตัดสินใจผิด” และอีกอย่างคือต้องมีทีมงานที่ไม่กลัวที่จะทำอะไรใหม่ๆ พร้อมๆ ไปกับผู้นำที่เอื้อให้ทีมทำอะไรที่ผิดพลาดบ้างก็ได้  และขอให้ทุกคนมีความกล้าที่จะออกไปสร้างธุรกิจที่ดี