การใช้งบโฆษณาในสื่อต่างๆ ยังคงร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง แม้จะเข้ากลางปี 2562 แล้ว แต่แบรนด์ต่างๆ ยังคงเพิ่มเม็ดเงินในการใช้จ่ายในสื่อต่างๆ อย่างไม่จำกัด เรียกได้ว่าการแข่งขันในกลุ่ม FMCG และสินค้าเด็กอ่อนมาแรงแซงสินค้ากลุ่มโทรคมนาคมไปแล้ว
ภาพรวมการใช้งบเพิ่มขึ้นทุกแบรนด์
นอกจาก TV Direct ที่ยังคงลดงบการตลาดอย่างต่อเนื่อง จากพฤษภาคม 2561 ที่ใช้เม็ดเงินสูงถึง 234,494,000 บาท มาสู่เมษายน 2562 ที่ลดลงเหลือ 191,368,000 บาท จนลดลงมาอีกในเดือนพฤษภาคม เหลือเพียง 99,161,000 บาท
สวนทางกับ Sanook Shopping Direct ที่ใช้งบในเดือนเมษายน 2562 อยู่ที่ 140,961,000 บาท แต่ในเดือนพฤษภาคม ใช้งบเพียง 102,386,000 บาท แม้จะลดลงแต่ก็ยังมากกว่าคู่แข่งอย่าง TV Direct อยู่
ที่น่าสนใจคือเดือนที่ผ่านมา ธนาคารออมสินใช้งบเยอะเป็นอันดับที่ 3 คือ 104,669,000 บาท ส่วน COKE อยู่อันดับที่ 4 ใช้ไป 100,340 บาท พอมาถึงเดือนนี้ สลับตำแหน่งกัน โดย COKE ใช้งบไป 96,453,000 บาท ส่วนธนาคารออมสินใช้ไป 95,542,000 บาท
ส่วนอันดับที่ 5 ซึ่งใช้งบเพิ่มขึ้นมาอย่างดุเดือดคือ S-26 Powder Milk ที่เมื่อพฤษภาคม 2561 ใช้ไป 61,199,000 บาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 86,973,000 บาท ส่งผลให้ O Shopping หล่นไปอยู่อันดับที่ 6 ที่ใช้งบไป 83,128,000 บาท แต่ก็ถือว่าทุ่มงบสูงมากหากเทียบกับปี 2561 ที่ผ่านมา O Shopping ใช้งบเพียง 6,542,000 บาทเท่านั้น
ภาพรวมการใช้สื่อ
ทางด้านของช่องทางการลงโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ของแบรนด์นั้น ความน่าสนใจคือกลุ่มทีวี ยังคงได้รับความสนใจในการเลือกลงโฆษณาอย่างต่อเนื่อง โดยแบรนด์เลือกลงโฆษณาในช่องทางทีวีเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนของปีนี้ด้วย ที่ใช้ไป 5,726,000 บาท เป็น 5,728,000 บาท
ส่วนช่องทางอื่นๆ แม้จะมีตัวเลขที่ดูลดลงเมื่อเทียบกับปี 2561 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2562 แล้ว ถือว่ามีตัวเลขที่เติบโตทุกช่องทางยกเว้น สื่อแมกกาซีนที่ลดลงเพราะจำนวนเล่มหายไปจากตลาดเยอะมาก ทำให้ภาพรวมตัวเลขการใช้จ่ายในสื่อต่างๆ เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2561 ลดลงถึง 189 ล้านบาท แต่หากเทียบแบบเดือนต่อเดือน คือเมษายนที่ผ่านมากับพฤษภาคม 2562 พบว่ามีการใช้เม็ดเงินเพิ่มขึ้นเป็น 246 ล้านบาท
เรียกได้ว่าโอกาสของสื่อยังสดใสเพราะทุกแบรนด์ยังคงใช้จ่ายกันอย่างต่อเนื่อง หากกำลังซื้อของประชากรยังดีอยู่ ก็เชื่อว่าแบรนด์จะยังทำตลาดกันอย่างคึกคักยาวไปตลอดทั้งปีแน่นอน
หมายเหตุสำคัญการเปลี่ยนแปลงและอัพเกรดการเก็บข้อมูล
ทางนีลเส็นขออนุญาตเรียนแจ้ง เกี่ยวกับข้อมูลเม็ดเงินโฆษณา โดยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ทางนีลเส็น ได้เปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลในสื่อ Internet จากการเก็บในรูปแบบ manual ทีใช้พนักงานเก็บข้อมูลจำนวน 50 website +10 mobile web มาเป็นการใช้เทคโนโลยี Crawler เพื่อจัดเก็บข้อมูลโฆษณาบนเว็บไซต์ จำนวนทั้งหมด 200 เว็บไซต์ ซึ่งจะใช้ชื่อสื่อใหมนี้ว่า ‘Digital’ ซึ่งเป็นสื่อในรูปแบบ Text, Flash, HTML5, Image, Skin, Video และ in banner video ทั้งโฆษณาจาก Direct, Indirect programmatic และนำมาคำนวณตาม Rate card กลาง จากวิธีการคำนวณของทีมนีลเส็น Global
หมายเหตุสำคัญ
สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่(transit):มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560
นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่นสื่อเคลื่อนที่(transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี2559 เป็นต้นมา
อินเตอร์เน็ท – ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่อ อินเตอร์เน็ทโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ
สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ททั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจากDAAT
สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559
ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้างTesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น
ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่, และสื่อในห้าง
*****ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นมา การเก็บข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ต เปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลจากสื่อดิจิตอล โดยเพิ่มจาก 60 เว็บไซต์ เป็น 200 เว็บไซต์ *****