กีฬาอีสปอร์ตเริ่มเข้ามีการเข้าถึงผู้รับชมรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะในยุคที่คนไทยใช้ออนไลน์ตามประเภทของไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน โดย 84% ของคนไทยรับชมกีฬา และมากกว่า 20 ล้านคนเคยออกไปร่วมชมการแข่งขันจากในสนาม
ในขณะที่กลุ่มผู้ชมเติบโตขึ้น ความสนใจของผู้ชมกีฬาที่มีต่อแบรนด์ผู้สนับสนุนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ผู้ชมกีฬามากกว่า 60% ไม่เพียงแต่สามารถจดจำแบรนด์ผู้สนับสนุนได้ พวกเขายังมีมุมมองเชิงบวกต่อแบรนด์ดังกล่าวอีกด้วย
ผู้ชมจะจดจำแบรนด์ที่สนับสนุนกีฬาได้
สิ่งที่มากกว่านั้นคือ 65% ของผู้ชมเห็นด้วยว่าแบรนด์ผู้สนับสนุนกีฬาได้รับความสนใจจากผู้ชมมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของรายการกีฬานั้นสร้างโอกาสให้กับแบรนด์ทั้งในด้านการเข้าถึงและความมีส่วนร่วมกับแบรนด์ (engagement) ความสนใจรายการประเภทกีฬายังคงสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้แบรนด์มีโอกาสและศักยภาพที่จะชนะใจกลุ่มผู้ชมได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แบรนด์ผู้สนับสนุนกีฬาต้องสื่อสารกับผู้ชมที่ในจังหวะที่เหมาะสม และต้องเข้าใจว่ากลุ่มผู้ชมที่ชมกีฬาประเภทดังกล่าวคือใคร แฟนกีฬาชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีรายได้สูงซึ่งอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลฯ
โดยทั่วไปชอบกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล และแบดมินตัน ในขณะที่กีฬามวยสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมที่มีรายได้ต่ำกว่าและอาศัยอยู่ในชนบทได้ดีกว่า
นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชมที่เป็นเพศหญิงยังมีความสนใจในกีฬาวอลเลย์บอลมากกว่ากีฬาประเภทอื่น ในแง่ของช่องทางการรับชม ผู้ชมยังคงใช้สื่อโทรทัศน์เป็นสื่อหลักในการรับชมรายการกีฬา อยู่ที่ 74% และอีก 69% ยังมีการใช้โซเชียลมีเดียประกอบในการรับชมและค้นหาข้อมูลอีกด้วย
แพลตฟอร์มการรับชมของฐานแฟน
โดยเฉลี่ยแฟนอีสปอร์ตชาวไทยรับชมการแข่งขันอีสปอร์ตผ่านหลายแพลตฟอร์ม อาทิเช่น
- YouTube 77%
- Twitch 48%
- Facebook 16%
- mixer 12%
- Garena 11%
โดยโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักที่แฟนอีสปอร์ตเลือกใช้เพื่อเล่นเกมและรับชมการแข่งขันมากถึง 88% ขณะที่ 1 ใน 2 นิยมเล่นเกมบนพีซี และมีเพียง 45% ที่ใช้เกมคอนโซล โดยเฉลี่ยแฟน ๆ มักจะใช้เวลา 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการเล่นเกม ทำให้เห็นว่าการเล่นเกมมีความสำคัญต่อแฟนอีสปอร์ตมาก และนอกจากนี้พวกเขายังใช้เวลา 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ยในการรับชมการแข่งขันอีสปอร์ต
ปัจจุบันทางเลือกของความบันเทิงและแพลตฟอร์มมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้การรักษาระดับความน่าสนใจและการมีส่วนร่วมกับแฟนกีฬากลายเป็นความท้าทายอย่างมาก
ในปัจจุบัน การนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาเป็นเพียงข้อมูลจากความรู้สึกหรือสมมติฐานเกี่ยวกับแฟน, ผู้ถือลิขสิทธิ์ และแบรนด์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลที่ควรนำไปใช้ควรมีการถูกจัดเก็บและวิเคราะห์มาอย่างมีประสิทธิภาพในแง่ความสัมพันธ์ของแฟนและแบรนด์ผู้สนับสนุน
คุณรัญชิตา ศรีวรวิไล ผู้อำนวยการ บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมกีฬาในประเทศไทยกำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์และเจ้าของสื่อจะต้องเข้าใจว่าผู้ชมกำลังรับชมจากแพล็ตฟอร์มใด พฤติกรรมการรับชมเป็นอย่างไร และรับชมอะไรบ้าง
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้แบรนด์และเจ้าของสื่อสามารถเข้าถึงและรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้คือเครื่องมือที่ขาดไม่ได้ที่จะช่วยศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของผู้ชมแบบองค์รวม
โดยแบรนด์ที่สนับสนุนกลุ่มอีสปอร์ต ซัมซุง จะได้รับการจดจำมากถึง 56% ตามมาด้วย ไนกี้ 52% อาดิดาส 48% เป๊ปซี่ 44% และโตโยต้า 43% จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเห็นแบรนด์เหล่านี้ นำเรื่องของสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งมาใช้กับสินค้าในเครือและใช้จ่ายกับกิจกรรมประเภทกีฬาอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ อินไซต์ที่ได้จากกลุ่มผู้รับชมกีฬาชาวไทยพบว่า จะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง แม้ว่าทีวีจะเป็นช่องทางที่ผู้ชมใช้งานเป็นหลักแต่การแสดงความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดียหรือค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตารางแข่งยังเป็นกลุ่มหลัก
ทั้งนี้ กีฬาโอลิมปิกยังถือว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อแบรนด์สปอนเซอร์สูง เพราะมีการเห็นซ้ำๆ ฟังซ้ำๆ ส่วนคนที่รับชมกีฬาอีสปอร์ตจะมีการรับชมในช่วงของการแข่งขันเพื่อความสนุกสนาน
แต่ผู้รับชมกีฬาทั้งสองประเภทจะมีทัศนคติที่ดีกับแบรนด์สปอนเซอร์ และมีโอกาสตัดสินใจซื้อสินค้ากับผู้สนับสนุนต่างๆ ก่อนแบรนด์อื่น