Ariana Grande นักร้องสาวอเมริกันจัดคอนเสิร์ตชื่อ One Love Manchester เพื่อระดมเงินช่วยเหลือเหยื่อจากเหตุระเบิดฆ่าตัวตายในคอนเสิร์ตของเธอที่เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา คอนเสิร์ตนี้ถูกยกเป็นมิติใหม่บนโลกโซเชียล และเต็มไปด้วยบทเรียนการตลาดที่เหล่าพีอาร์มืออาชีพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ หากต้องการความสำเร็จเปรี้ยงปร้างเหมือนคอนเสิร์ตนี้
เหตุระเบิดพลีชีพในคอนเสิร์ตของ Ariana Grande นั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 22 ราย บาดเจ็บเกินร้อยคน สาว Grande จึงจัดคอนเสิร์ต One Love Manchester ขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อระดมเงินช่วยเหลือเหยื่อเหตุก่อการร้ายดังกล่าว ซึ่งนอกจากการซื้อบัตรเข้าชมปกติ ชาวออนไลน์ทุกคนสามารถชมการถ่ายทอดสดคอนเสิร์ตนี้ และกดปุ่มบริจาคผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ได้ทันที
เบ็ดเสร็จแล้ว สถิติบันทึกว่าคอนเสิร์ตนี้สามารถรวมเงินบริจาคได้มากกว่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 3 ชั่วโมงแรก บัตรขายหมดเกลี้ยง ผู้ชมในงานร่วม 55,000 คน ท่ามกลางศิลปินดัง Grande, Justin Bieber, Miley Cyrus, Coldplay และอื่นๆ เพิ่มเงินให้กองทุน We Love Manchester Emergency Fund ทะลุ 12 ล้านเหรียญสหรัฐ
หากรวมผู้ชมที่ถ่ายทอดสดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ จำนวนผู้ชมเฉลี่ยคือ 10.9 ล้านคน ช่วงเวลาที่มีการชมมากที่สุดทำยอดได้มากกว่า 14.5 ล้านคน กลายเป็นรายการทีวีที่มียอดชมมากที่สุดของอังกฤษไปแล้วเรียบร้อย
สิ่งแรกที่พีอาร์ควรเดินตามแบบอย่างคอนเสิร์ตนี้ คือการใช้ social media ให้เป็น เพื่อเป็นสื่อเชิญทุกคนให้เข้าร่วมจากที่ไหนก็ได้บนโลกนี้
Over 260,000 tuned into RTÉ2 for the #OneLoveManchester concert on Sunday night! What an amazing night it was… pic.twitter.com/H0LO1jnFpK
— RTÉ2 (@RTE2) June 6, 2017
I have tears. This crowd is so great and singing with so much passion #DontLookBackInAnger #OneLoveManchester pic.twitter.com/dxOjWlOyOs
— Lucy Jayne Ford (@lucyj_ford) June 4, 2017
ประเด็นนี้เห็นได้ชัดจากคำว่า #OneLoveManchester กลายเป็นแฮชแทคยอดฮิตระดับโลก พร้อมกับที่ชื่อคอนเสิร์ตนี้กลายเป็นบัญชีทางการบน Twitter ซึ่งแชร์วิดีโอ ภาพ และข้อความแก่ผู้ติดตามมากกว่า 4,700 คน
สิ่งที่ 2 คือการใช้พลังมหาชน ซึ่งในกรณีของคอนเสิร์ตนี้คือการรวมตัวทั้งจากแฟนเพลงและศิลปิน ซึ่งกลายมาเป็นไฟร้อนจุดประกายกระแสให้สังคมลุกฮือ
สิ่งที่ 3 คือการทำดีบางอย่างไม่สามารถลบความผิดพลาดได้ ข้อสรุปนี้มาจาก Uber ซึ่งขอร่วมโหนกระแส #OneLoveManchester ด้วยการทวีตบอกว่ารายได้จากการรับส่งผู้โดยสารที่เดินทางไปร่วมคอนเสิร์ต หรือเดินทางออกจากคอนเสิร์ต จะถูกบริจาคให้กับกองทุนทั้งหมด
ประเด็นนี้ถูกวิจารณ์ว่า ไม่สามารถลบความผิดพลาดให้กับ Uber ได้ ดังนั้นพีอาร์มืออาชีพควรระลึกว่าอย่าแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่ควรลงมือสางปัญหาที่ต้นเหตุให้รวดเร็วมากกว่า
ที่มา: PRDaily