เมื่อคืนขณะกำลังฟังเพลงใหม่ๆ บน JOOX เจอเพลงนี้โปรโมทเข้ามา นึกว่าเป็นเพลงใหม่ของ “ปาน ธนพร” แบบธรรมดา (พลางคิดเองไปว่า โอ้! Sanook! ดีลได้เพลง RS มาแล้วใช่ไหม? ในที่สุด!) ปรากฏว่าไม่ใช่ …
ผมเปิด YouTube เข้าไปดู มันเป็นเพลงที่ปานร้อง และโกนหัว (แบบหลอกๆ) เพื่อเล่น MV เอง เพื่อโครงการปทุมมามหาสิกขาลัย แห่งวัดปทุมวนาราม เนื้อหาที่ออกมาเลยเป็นเนื้อหาที่สอนให้คนเข้าใจถึงความไม่เที่ยงของการสังขาร สำหรับผม มันเป็น Content ที่โคตร ‘จริง’ กระตุกสติเราให้นึกถึงความเป็นจริงของชีวิตที่อย่างไรก็หนีมันไปไม่พ้น เลยอยากมาเขียนถึงมุมมองนักการตลาดและนักประชาสัมพันธ์ที่มีต่อ Content ชิ้นนี้ที่อาจจะนำไปคิดต่อยอดกับผลงาน Content Marketing ที่เราๆ ทำกันอยู่ครับ
ก่อนที่จะพูดคุยอะไร เชิญชมคลิปนี้ร่วมกันก่อนครับ
เพลงนี้ชื่อเพลงว่า “ตราบลมหายใจสุดท้าย” (Till The last Breath) เป็นเพลงธรรมะ หรือที่ทีมงานระบุว่ามันคือ “คีตธรรม” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากคติธรรมของพระนางเขมาเถรี อัครสาวิกาเบื้องขวาผู้เลิศทางมีปัญญามาก
ส่วนคำร้องแต่งขึ้นโดย “ฐิตวํโสภิกขุ” แห่ง วัดปทุมวนาราม (ผมเองก็เพิ่งเห็นว่าปี 57 ฐิตวํโสภิกขุ เคยจัดทำคีตธรรม “จิตตนคร” และให้ปานมาร้องแล้วครั้งหนึ่งเชิญชมย้อนหลังได้ครับ)
ส่วนทำนอง แต่งโดยคุณ เดชาณัฏฐ์ ธีรดุริยสฤษฏ์ (โน้ต วง Alarm 9) และรัชต์พงษ์ สมศรี (ภู ศิษย์มาวิตต์) เรียบเรียงโดย เจษฎา สุขทรามร (โอ๋ ซีเปีย) ส่วน MV ที่เราเห็นกันนี้จัดทำโดย ผู้กำกับรุ่นใหม่ ภัทธิ บัณฑุวนิช [กลุ่มคนทำงานทั้งหมดนี้เรียกตัวเองว่า ศิลปินและจิตอาสากลุ่มบัวลอย]
ที่มาที่ไปของคลิป
ผมพยายามทำความเข้าใจที่มาที่ไปของ MV นี้โดยดูจากสิ่งที่ทีมงานเขียนไว้ใต้คลิปพบว่า คีตธรรม “ตราบลมหายใจสุดท้าย” แต่งขึ้นจากเรื่องราวของ “พระนางเขมาเถรี” ผู้ซึ่งยึดติดในความงามของกาย ต่อมาได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าก็ได้บรรลุธรรม โดยพระนางได้สดับมาว่า
“ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปตามกระแสตัณหา เหมือนแมงมุมตกไปที่ใยอันตัวทำไว้ ฉะนั้น ชนผู้มีปัญญาทั้งหลายตัดกระแสตัณหานั้นแล้
โดยคำร้องนอกจากแสดงฉากเหตุการณ์และพระคาถ
แนะนำว่าให้ลองคลิกลิงก์ อสุภกรรมฐาน นี้เพื่อศึกษาธรรมต่อไปนะครับ (แต่ถ้าคร่าวๆ “อสุภ” แปลว่า ไม่สวย ไม่งาม กรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ไว้ให้เป็นการเป็นงาน รวมได้ความว่า ตั้งอารมณ์เป็นการเป็นงานในอารมณ์ที่เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยสดงดงาม มีแต่ความสกปรก โสโครก น่าเกลียด)
ในแง่มุมของ MV
ในรายงานของไทยรัฐออนไลน์ ทีมงานระบุว่า ได้จัดทำ MV ในรูปแบบอสุภกรรมฐาน ซึ่งถ่ายทอดความไม่เที่ยงของร่างกายจากเนื้อกายธรรมดา จนไปถึงการเน่าเสื่อมสลายกลายเป็นกระดูก ซึ่งระหว่างการถ่ายทำนั้นต้องอาศัยเอฟเฟกต์ต่างๆ ยุ่งยากพอสมควร ทำให้เรียนรู้ถึงความอดทน ซึ่งตนอยากให้ผู้ฟังเพลงย้อนกลับมาดูกายของเราว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บเป็นธรรมดา
“ภัทธิ บัณฑุวนิช” ผู้กำกับ MV ได้เผยว่านำเสนอออกมาสองแนวทาง แนวทางแรกจะเป็น MV ซึ่งนำเสนอผ่านการเล่าเรื่องในรูปแบบอสุภกรรมฐาน ซึ่งตั้งใจว่าจะทำให้เหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็เกรงว่าคนอีกกลุ่มหนึ่งจะทนดูไม่ไหว จึงทำเป็นแนวทางที่สอง เป็นการเล่าเรื่องผ่านงานศิลปะโดยใช้การแสดงที่เรียกว่า คีตภาวนา เพื่อรองรับคนดูทั้งสองกลุ่ม และอยากฝากถึงผู้ชมทุกกลุ่มว่า ถ้ามีโอกาสก็อยากให้ได้ดูกัน เพราะเป็นงานที่แปลก หาดูได้ยาก ไม่มีงานแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย ทั้งเพลงและภาพในลักษณะนี้ เล่าเรื่องพระนางเขมาเถรีได้ชัดเจนแบบนี้
ข้อคิดจากเหล่าศิลปินอาสาที่ได้ร่วมกิจกรรม”การพิจารณาอสุภกรรมฐาน”
สรุปแล้วเป็นคลิปทำบุญ (ใครดาวน์โหลดเพลงแล้วรายได้จะเอาไปสมทบทุน)
ในรายงานข่าวเดิมระบุว่า ทางวัดฯ มองว่านี่คือสื่อการเรียนการสอนชุดพระนางเขมาเถรี จัดทำในรูปแบบดีวีดี เพื่อมอบให้กับสำนักปฏิบัติธรรมและสถานศึกษาต่างๆ สำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจคีตธรรมตราบลมหายใจสุดท้าย สามารถดาวน์โหลดได้หลากหลายช่องทาง อาทิ Line Music, iTunes, Apple Music, Spotify, Google Play, KKBox, TIDAL, Deezer, Amazon.com โดยรายได้จากการดาวน์โหลดทั้งหมดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–ตุลาคม 59 ไม่หักค่าใช้จ่าย จะนำเข้าสมทบกองทุนพระภิกษุสามเณรและแม่ชีอาพาธและเจ็บป่วย วัดปทุมวนาราม
ทำบุญกันนะครับ แพลตฟอร์มไหนก็ได้ คลิกเลย
iTunes: http://apple.co/1T8ykY2
Line Music: http://bit.ly/1scPqZ8
KKBOX: http://kkbox.fm/3d1Jc2
Deezer: http://bit.ly/24KIqAA
JOOX: http://bit.ly/1TQjySE
Spotify: http://bit.ly/1VSZSRy
ความคิดเห็นส่วนตัว
MV ตัวนี้เป็น Content ที่มีโจทย์จากการที่อยากจะนำเสนอ Content ที่ดีมีประโยชน์ก่อน (ในที่นี้คือเผยแพร่ธรรมะก่อน) ซึ่งแตกต่างจาก MV เรื่องราวความรักสดใส อกหักที่มีอยู่ทั่วไป อีกทั้งเรื่องที่นำเสนอก็ง่ายมากพอที่ทุกคนเข้าใจอยู่แล้วว่าอย่างไรคนเราก็หนี เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปไม่พ้น เราแค่พยายามลืมๆ มันไป โดยไปหยิบเอาเรื่องราวของอนุพุทธประวัติของพระภิกษุณีสำคัญในสมัยพุทธกาล 6 บุคคลสำคัญ มาทำเป็น MV ให้เข้าใจง่าย ซึ่งที่เราๆ เห็นกันนี้คือคีตธรรมบทแรก ซึ่งผมเข้าใจว่าคุณปาน ธนพร น่าจะออกมาร้องอีก 5 เพลงเป็น Episode ต่อๆ ไป
ในแง่มุมของนักการตลาดและประชาสัมพันธ์ MV นี้นอกจากจะแตกต่าง มีสารัตถะชัดเจน มี Call to Action เพื่อรวบรวมเงินเข้ากองทุนข้างต้นแล้ว มันยังกระตุก “ต่อมประมาท” ของผู้บริโภคทุกระดับอีกด้วย
อดคิดไม่ได้จริงๆ ว่าถ้ามีแบรนด์หรือองค์กรไหน ที่หัดจะเลิกขายของกันให้ได้สักนาที และหันมาทำ Content ที่ดีมีประโยชน์กับคนดู ในแนวทางของ Content Marketing แล้วแบรนด์นั้นๆ จะได้ประโยชน์ขนาดไหน