ในยุคแห่งการแข่งขันในปัจจุบัน การสื่อสารทางการตลาด และการนำเสนอข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายนั้นถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สื่อต่างๆที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการดังกล่าวก็มีรูปแบบที่หลากหลาย และมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น หนึ่งในสื่อที่เราทุกคนต่างก็พบในชีวิตประจำวันอยู่บ่อยครั้ง และค่อยๆเพิ่มทวีจำนวนมากขึ้นในยุคนี้ก็คงจะหนีไม่พ้น สื่อที่เรียกว่า “Digital Signage” หรือ “สื่อประชาสัมพันธ์ทางจอภาพ” นั่นเอง
Digital Signage ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในแวดวงธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่สำคัญๆ 3 ประการคือ การสร้างชื่อหรือแบรนด์, การสื่อสารและให้ข้อมูล, และการเพิ่มยอดขายหรือสร้างรายได้ ด้วยเหตุนี้เองสิ่งที่สำคัญของสื่อประเภทนี้เป็นอย่างยิ่งก็คือ กลวิธีในการดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย และวิธีการสื่อสารข้อความที่สำคัญ (Key Message) ไปยังผู้รับชมได้อย่างครบถ้วน แต่ทว่าเรากลับพบว่ารูปแบบในการนำเสนอข้อมูลของ Digital Signage ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นแทบจะไม่แตกต่างกันเลย โดยส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการนำเสนอ ข้อความ, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว, หรือวิดีโอประชาสัมพันธ์ไปยังผู้รับชมแต่เพียงเท่านั้น คำถามก็คือว่า ด้วยเหตุใด? และทำไม? ตลาดการให้บริการ Digital Signage ในปัจจุบันจึงเกิดรูปแบบที่ลอกเลียนกันเช่นนี้ขึ้นมา แล้วทางออกสำหรับปัญหานี้คืออะไร? บทความที่จะกล่าวถึงด้านล่างต่อไปนี้มีคำตอบที่คุณกำลังมองหาอยู่ครับ
โดยระบบ Digital Signage ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในท้องตลาดปัจจุบันนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบ Standalone System เป็นระบบที่ตัว Media player แต่ละตัวทำงานแยกออกจากกัน (Standalone) จึงทำให้ในการควบคุมการทำงานของ Media player ทั้งหมดในระบบนั้น ต้องทำทีละเครื่อง และการอัพเดตข้อมูล Content ต่างๆลง Media player นั้น ต้องอาศัยการ copy ข้อมูลจาก Computer ใส่ Memory card หรือ Flash drive แล้วนำไป update ลงบน Media player อีกที ซึ่งระบบประเภทนี้จะลงทุนน้อยกว่า แต่จะพบกับปัญหาความยุ่งยากในการใช้งาน, ใช้เวลานานในการอัพเดต Content แต่ละครั้ง, และการดูแลและอัพเกรดซอร์ฟแวร์ของอุปกรณ์ทำได้ยากเพราะต้องดูแล Media player กันทีละเครื่อง
และอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ Distributed System เป็นระบบที่ตัว Media player รับส่งข้อมูลกับตัว Media server ผ่านทางระบบ Network ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะ LAN, WAN, 3G หรืออื่นๆ โดย Media server ที่ส่งข้อมูลจะอยู่ที่ไหนก็ได้ จะคอยส่งข้อมูลมายัง Media player แล้วเก็บข้อมูลลงบนหน่วยความจำและนำข้อมูลนั้นขึ้นมาแสดงผลบนจอภาพที่เชื่อมต่ออยู่นั้นอีกที ซึ่งวิธีนี้ต้องอาศัยการวางระบบ Network ระหว่าง Client และ Server ที่ดี รวมถึงต้องอาศัยโปรแกรม Content Management System (CMS) มาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูล Content ต่างๆที่ถูกเก็บบน Server และควบคุมการจ่ายข้อมูลไปยังตัว Client ด้วย จึงทำให้ระบบประเภทนี้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมและจัดการ Content ได้ง่าย และอัพเดต Content ต่างๆไปยัง Media player ได้รวดเร็ว
อีกทั้งปัจจุบันมีเทคโนโลยี Cloud computing เข้ามาช่วยทดแทนตัวเครื่อง Media server ด้วยแล้ว จึงยิ่งส่งผลให้ผู้ให้บริการ Digital Signage ในปัจจุบันหันไปใช้รูปแบบ Distributed system ที่เป็น Cloud service หรือ Software as a Service (SaaS) กันมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้สิ่งที่ทำให้ระบบ Distributed System ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควรนั้นเนื่องมาจากราคาของ Media player ซึ่งทำให้ราคารวมของระบบมีค่าสูงขึ้นเมื่อจำนวน Media Player เพิ่มขึ้น
Media player ที่ใช้อยู่ปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ยังคงใช้ PC หรือ mini PC เป็นอุปกรณ์ในการจัดการส่วนนี้อยู่ จึงมีข้อจำกัดทั้งทางด้านขนาด, การทนทานต่อสภาวะแดด ฝน ความชื้น และการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า หรือแม้ว่าผู้ให้บริการบางรายจะหันมาใช้ Signage Media Player (SMP) client เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณพิเศษ ซึ่งมีขนาดเล็กลง ประหยัดพื้นที่มากขึ้น มีความทนทางที่สูงขึ้น และลดการใช้พลังงานลงยิ่งกว่าเดิมแล้วก็ตาม แต่อุปกรณ์ SMP client ประเภทนี้ยังมีราคาที่สูงอยู่ (~10,000 บาทต่อเครื่อง) เนื่องจาก SMP client ยังคงใช้สถาปัตยกรรมตัวเดียวกับ PC อยู่ดี
Penta™ เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้เป็น Platform เพื่อนำมาพัฒนาเป็น Medial Player ได้ PentaTM ใช้ซีพียูในตระกูล ARM เช่นเดียวกับอุปกรณ์มือถือและแท็บเล็ตทั่วไป จึงทำให้ตัวอุปกรณ์มีการใช้พลังงานที่น้อยลงกว่า Media Player อื่นๆ แต่ยังคงทำงานได้ประสิทธิภาพที่มากเทียบเท่ากับ PC แต่มีราคาอยู่ในระดับเพียงแค่ไม่กี่พันบาท ซึ่งต่ำกว่า Media Player ที่มีอยู่ทั่วไปในท้องตลาดเป็นอย่างมาก และตัวอุปกรณ์ Penta ยังมีความทนทาน มีขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก จึงง่ายต่อการติดตั้ง และสามารถจัดวางในพื้นที่ที่จำกัดได้โดยไม่กีดขวาง นอกจากนี้ ในหลายๆงานได้ รวมถึง PentaTM ยังมีพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆมากมาย ทั้ง USB, LAN, WiFi, SD card, AV out, VGA, HDMI, Optical ฯลฯ และยังสามารถอัพเกรดซอร์ฟแวร์ผ่านทาง Over-The-Air Upgrade Service (OTA) ได้อีกด้วย จึงทำให้สามารถรองรับการต่อพ่วงกับอุปกรณ์ต่างๆในอนาคต อาทิ Touch-screen monitor เหล่านี้ได้ เป็นต้น
ในด้าน Software ภายในของ PentaTM นั้น ได้ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเองใหม่ทั้งหมดโดยทีมงาน the VC group โดยรวมจุดเด่นของ Android และ Linux เข้าด้วยกัน การพัฒนาการเชื่อมต่อระหว่าง CMS และ Penta จึงสามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยใช้ Open Source Protocols ที่มีอยู่หรือแม้แต่ออกแบบขึ้นมาเอง เพื่อที่จะรองรับการใช้งานแบบใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่รูปแบบใหม่ๆของ Interactive Digital Signage ที่สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่มีความซับซ้อนและตลาดที่มีความแข่งขันที่สูงอย่างทุกวันนี้
ด้วยเหตุนี้เอง PentaTM จึงนับเป็นนวัตกรรมใหม่ของโลกอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นทางออกสำหรับผู้พัฒนาระบบ Digital Signage ในปัจจุบัน ที่ต้องการนำเสนอสื่อออกมาในรูปแบบใหม่ๆที่ท้าทายและแตกต่าง เพื่อดึงดูดผู้รับชมได้มากยิ่งขึ้น ด้วยอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ในราคาที่คุ้มค่า รวมถึงยังสามารถทำงานร่วมกันกับ Cloud Applications ต่างๆได้ จึงทำให้ PentaTM สามารถถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานไปมาได้หลากหลายและไม่จำกัด ไม่ว่าจะนำไปใช้เป็น ระบบป้ายแสดงผลสื่อทั่วไป (Digital Signage Display Station), ระบบแสดงผลแบบโต้ตอบ (Interactive Digital Signage), ระบบแสดงเมนูอาหารแบบดิจิตอล (Digital Menu Board), ตู้โฆษณาแบบระบบสัมผัส (Self-Service Kiosk) หรือรูปแบบการใช้งานอื่นๆเพิ่มเติมได้อีกมากมายในอนาคต จึงทำให้ผู้พัฒนาระบบ Digital Signage สามารถสร้างรูปแบบการให้บริการใหม่ๆตามกระแสโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วได้ดีเลยทีเดียว ด้วยตัว PentaTM นี้ทิศทางของตลาด Digital Signage ในอนาคตจะต้องเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน
สำหรับใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมขณะนี้มีคอมมูนิตี้สำหรับนักพัฒนา Cloud Client โดยเฉพาะ เข้าไปร่วมแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น พูดคุยถึงกรณีศึกษาต่างๆ ได้ที่ Penta Cloud Client Group บน Facebook และ Penta Cloud Client บน Linkedin Group
บทความนี้เป็น Advertorial