เชื่อว่าบล็อกเกอร์ นักเขียนคอนเทนต์ นักเขียนสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ทั้งหลาย ย่อมต้องการที่จะให้ภาพประกอบของคุณติด SEO บนระบบเสิร์ช หรือแสดงผลในอันดับต้นๆ ของการค้นหากันใช่ไหมคะ เข้าทำงานที่ว่าเนื้อหาไม่โดนใจแต่ภาพประกอบต้องดึงดูดให้คนอยากคลิก
วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคในการปรับแต่งภาพ หรือใส่แคปชั่นในภาพเพื่อให้เหมาะกับ SEO กันค่ะ
มีภาพประกอบเสมอ
แน่นอนว่ายุคนี้ ภาพสวยช่วยกระตุ้นให้คนอยากเข้ามาดูแบรนด์หรือเว็บไซต์ของเรามากขึ้นค่ะ ซึ่งภาพใน google มีจำนวนมากกว่าล้านภาพแล้วจะทำอย่างไรให้ผู้คนที่ค้นหา จะสามารถมองเห็นภาพประกอบหรือภาพจากเนื้อหาของเรากันบ้าง หรือดึงดูดให้คนอยากคลิกติดตามเพจของเราต่อไป
คำแนะนำที่ง่ายที่สุดคือ ต้องมีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่คุณเขียนทุกครั้ง เพราะการค้นหาของผู้คนนั้น นอกจากอ่านข้อความ ภาพประกอบก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้พวกเขาอยากคลิกเข้าไปดู แม้คุณจะมีภาพที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องราวเลยแต่ใส่ SEO เพื่ออธิบายให้ระบบ AI รับรู้ ก็ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงของผู้ที่ค้นหาเช่นกัน
ภาพต้องเหมาะสมกับเรื่องราว
หากในเนื้อหาคุณเขียนว่า “ยินดีต้อนรับสู่บริษัทของเรา” แต่กลับเป็นภาพที่ไม่สื่อหรือใช้ภาพ stock ก็อาจจะดูไม่โปร ดังนั้น ลองใช้ภาพท่ีคุณถ่ายเองมาประกอบจะช่วยให้ภาพที่ปรากฏในเว็บไซต์ของคุณมีความน่าเชื่อถือและ SEO ก็จะตรวจจับเจอแบรนด์ของคุณเร็วขึ้นและจะจัดอันดับเว็บของคุณให้ดีขึ้น
หาภาพจากแหล่งฟรีก็ได้
หากคุณไม่สะดวกจะถ่ายภาพ หรือกังวลว่าความสามารถในการถ่ายภาพให้สวยและคุณภาพดีอาจจะไม่ใช่ทางของคุณ ไม่เป็นไรค่ะ ลองเลือกใช้ภาพจากเว็บไซต์ที่เปิดให้ใช้งานได้ จะมาจากเว็บไซต์แจกภาพฟรี หรือเสียเงินและมีทางเลือกหลากหลายกว่าก็ได้นะคะ
เว็บไซต์ที่มีทั้งให้ใช้งานฟรีและเสียเงิน จะมีเงื่อนไขคือใช้สำหรับประกอบเนื้อหาได้ แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในเชิงพานิชย์ หรือภาพที่เอ็กซ์คลูซีฟมากๆ ก็ต้องจ่ายเงินค่ะ ส่วนเว็บไซต์แจกภาพฟรี ก็เช่น unsplash, pixabay, pinterest, pexels, grappik เป็นต้น ส่วนเว็บไซต์ภาพสวยแต่ต้องจ่ายเงินก็เช่น shutterstock, eyeem, shopify เป็นต้น
เตรียมภาพประกอบในใจระหว่างเขียนเรื่อง
แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคนเลยนะคะ บางคนเขียนไปหารูปประกอบไป บางคนเขียนเสร็จค่อยหารูป บางคนหารูปก่อนค่อยเขียน ก็อยู่ที่แนวทางการเขียนงานในใจของผู้เขียนว่าจะใช้แบบไหน บางทีวาดภาพในหัวว่าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับการทำงาน ก็คิดในหัวว่าจะอยากได้ภาพแบบไหน หรือบางคนก็ติดสปีดเขียนให้เสร็จแล้วค่อยมาจับใจความระหว่างเรื่องที่เขียนว่าจะใช้ภาพประมาณไหนดี
ตั้งชื่อให้สอดคล้อง
บางครั้งเรามักจะรู้สึกว่า ก็แค่ภาพประกอบจะเขียนเป็นคำว่าอะไรก็ได้ จะเป็นรหัสตัวเลขก็ได้ หรือจะเป็นชื่อผู้ถ่ายรูปก็ได้ ตามใจฉัน แต่ทราบไหมคะว่าคุณกำลังเสียโอกาสที่คุณจะค้นหาเว็บไซต์หรือบริการของคุณเจอ ดังนั้น ควรตั้งชื่อภาพให้สอดคล้องกับแคปชั่นที่ต้องการสื่อด้วยนะคะ
ขนาดของภาพต้องชัดเจนและคุณภาพดี
บางคนอาจคิดว่าแค่ถ่ายรูปจากมือถือมาก็เอามาใช้ในเว็บไซต์ได้แล้ว แต่ที่จริงแล้ว resolution ที่ควรมีในขนาดภาพประกอบบนเว็บไซต์ ควรอยู่ระหว่าง 1280 x 800 พิกเซล ถ้าเป็นขนาดของแบนเนอร์ ควรอยู่ที่ 1920 x … หรือ 1600 x …. พิกเซล ภาพโลโก้ ภาพไอคอน แต่นี่ก็เป็นตัวเลขประมาณการนะคะ ต้องดูว่าภาพประกอบที่ใช้จะอยู่ส่วนไหนของเว็บไซต์ จะเป็นแบนเนอร์ บทความ ลิสท์สินค้า หรือภาพโปรไฟล์ ต้องเลือกให้เหมาะกับงานที่จะใช้นะคะ เพราะถ้าไฟล์ใหญ่ไปเว็บไซต์ของคุณจะโหลดหนักและภาพมาช้ากว่าก็ส่งผลให้ลูกค้ารู้สึกรำคาญและปิดไปได้
ขนาดภาพที่ SEO ชอบ
การโหลดได้เร็วคือจุดที่ google ให้ความสำคัญค่ะ คือเว็บไซต์มาภาพประกอบก็ต้องมา ยิ่ง UX และ SEO เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นโอกาสที่ลูกค้าหรือผู้เข้าชมจะสนใจและใช้บริการคุณมากขึ้นเท่านั้น เช่น ใช้รูปภาพขนาดใหญ่ (2500 x 1500) ในกรอบแสดงผลขนาดเล็ก (250 x 150) แค่นี้ก็รู้แล้วว่า การแสดงผลจะเป็นอย่างไร ดังนั้น ควรปรับส่วนนี้ให้เหมาะสมและภาพต้องชัดเจนด้วยนะคะ
คำบรรยายช่วยได้
คำบรรยายภาพเปรียบเสมือนอีกหนึ่งประตูที่ช่วยให้ระบบของ google เข้าใจความหมายของภาพได้ดีขึ้น เช่นเดียวกับเวลาที่คุณทำคำคมใส่แคปชั่นเท่ๆ นั่นละค่ะ หากใต้ภาพมีการบรรยายเป็นภาษาไทยหรืออังกฤษก็แล้วแต่ จะช่วยให้ระบบ SEO สแกนภาพออกมาได้ดีขึ้น เพราะองค์ประกอบของภาพที่ช่วยเรื่องการสแกน จะประกอบด้วย หัวเรื่อง, ตัวพิมพ์ใหญ่, ข้อความตัวหนา, ข้อความที่เน้น, รายการหัวข้อย่อย, กราฟิก, คำบรรยายใต้ภาพ, ประโยคหัวข้อ และสารบัญ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ขาดไม่ได้เลยนะคะ
อีกหนึ่งข้อสงสัยที่น่าสนใจคือ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีคำอธิบายในทุกภาพ (ในบทความเดียวกัน) คำตอบคือ ไม่จำเป็นค่ะ เรามีคำอธิบายภาพเพียงจุดสำคัญที่คาดว่าจะดึงดูดใจผู้อ่านก็พอ (ประมาณว่าจุดไฮไลต์ของบทความที่เรานิยมทำเป็น Blockqoute อะไรแบบนั้นอะค่ะ)
เช่นเดียวกัน การทำภาพปกวีดีโอ หรือภาพประกอบในคลิป นอกจากรายละเอียดที่ใส่ในคลิปจะดึงดูดใจให้คนอยากคลิกดูแล้วการใส่ description ก็ช่วยให้คลิปหรือภาพประกอบนั้น แสดงผลบน SEO ได้ดีเช่นเดียวกัน
ฉะนั้น อย่าลืมนำรายละเอียดเหล่านี้ไปปรับใช้ในการทำ SEO ของภาพกันนะคะ