Site icon Thumbsup

สาเหตุที่ Pokemon เป็น App ในโทรศัพท์ปุ๊บ สะเทือนแผ่นดินสมาร์ทโฟน

ความแรงของ Pokemon Go ที่สร้างความสั่นสะเทือนในวงการเกมและวงการโมบายล์ ทำให้ทุกคนหันมาสนใจเกมนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงความต้องการของคนหลายๆ ประเทศที่อยากจะเล่นบ้าง โดยเฉพาะไทยที่นับวันรอกันอย่างใจจดใจจ่อ วันนี้เรามีอีกมุมที่ไม่ใช่เรื่องของเกม แต่เป็นเรื่องการตลาด และกลยุทธ์ แบรนด์ต้องเตรียมรับมือกับความฮิตของเกมนี้อย่างไร และทำไมเราถึงต้องสนใจเรื่องนี้


editorial note: บทความนี้คือบทความพิเศษ (ที่เราเรียกว่า Guest Post) จากคุณอ๋อง ผรินทร์ สงฆ์ประชา ที่ส่งบทความนี้เขาส่งมาให้ กองบรรณาธิการ thumbsup อัพโหลดขึ้นให้ชาว thumbsup โดยเฉพาะ บทความนี้ ไม่สะท้อนแนวคิดของกองบรรณาธิการ thumbsup เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวของคุณอ๋อง 

บทความนี้ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เขียน ซึ่งมี thumbsup เป็น ผู้เผยแพร่เดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ หากต้องการนำบทความไปใช้กรุณาให้เกียรติด้วยการอ้างอิงชื่อผู้เขียนและลิงก์ กลับมายังบทความต้นฉบับ


สาเหตุที่ Pokemon เป็น App ในโทรศัพท์ปุ๊บสะเทือนแผ่นดินสมาร์ทโฟนมี 3 ข้อ 

-1-มีราก มีที่มา

โปเกม่อน ปิกาจู๊ ไม่ใช่ของใหม่ 

นับตั้งแต่เกมแรก 1996 ก็ 20 ปีแล้ว 

ซีรี่เกม Pokemon ทะลุล้านตลับมาหลายรอบ 

มีฐานแฟนเดิมเหนียวแน่น 

-2-น่ารัก เข้าถึงทั้งชายหญิง 

เป็นตัวละครที่น่ารัก เสียงร้องปิก๊า ปิก๊า” นี่

อายุเท่าไหร่ฟังแล้วก็น่ารัก 

(ผมดูกะเค้าด้วยทางช่อง 9) 

-3-เป็น O2O

อันนี้สำคัญที่อยากจะคุยถึงวันนี้ 

Online 2 Offline จะเป็นกลยุทธ์หลัก

หลังยุคออนไลน์เฟื่องในอีกไม่นาน 

(ผมเชียร์กระแสนี้อยู่

เกม Pokemon มีมากกว่า 7 ซีรี่ 16 ไตเติ้ล 

ออกเป็นเกมในจออย่างเดียว 

ก็ดังระดับนึง 

.

.

พอ Pokemon Go (PG)

ที่ผสมทั้งโลกจริงและโลกจอ

เข้าด้วยกัน เกิดประสบการณ์ใหม่ 

ใกล้ตัวผู้เล่นมาขึ้น

.

.

.

แผ่นดินสะเทือน !! 

ดูสถิติการค้นหา ใน Google ตั้งแต่ปี 2004 

ถ้าเอาเวลาดีที่สุดของแต่ละกระแสมาวัดกันนะ 

ถ้ากระแสแรงๆ ในบ้านเราเช่น 

ขอใจแลกเบอร์โทร ได้ “92″ คะแนน

EXO “96″

ลูกเทพ “59”

Pokemon เป็น “100” แซงโค้งมาเลย

และพุ่งจาก 16 เป็น 100 ในเดือนเดียว

อย่าลืมว่า Pokemon Go ยังไม่เข้าไทย

แรงขนาดนี้จับยังไงดี??  

.

.

.

______________________________

ก่อนจะฉวยโอกาสได้ 

มาดูวิธีทำเงินที่เป็นไปได้ก่อน 

ผมแบ่งตารางออกเป็น 4 ช่องคือ 

—1— Pokemon & Online

In Game Purchase/ Advertising. อันนี้ปกติ

—2— Pokemon & Offline

Character Business Strategy คือ

ธุรกิจที่เอาตัว Pokemon มาทำเป็นสินค้า 

เช่นตุ๊กตากล่องดินสอฯลฯ

ธุรกิจ SME จับตรงนี้มาเล่นโปรโมชั่นได้ง่าย 

เช่น เป็นของแถม สะสม stamp และตุ๊กตาเป็นต้น 

(ตรงนี้ไม่เหมือนกับ Angry Bird 

คือ ช่วงที่ฮ๊อตที่สุด ดันไม่มีของออกมาขาย)  

แต่ Pokemon นี่มีตลอด เดินหาย่านสำเพ็ง

ก็หาได้ไม่ยาก แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ลองไปหา Pikachu ของเริ่มขาดบ้างแล้ว 

—3— Partner & Online

Benefit Exchange Strategy เช่น

สมมติสะสมแต้มจาก App A เอาไปแลกของใน Pokemon Go 

แล้วทั้ง App A กับ PG ก็แบ่งกำไรคนละครึ่ง 

แต่อันนี้ต้องแล้วแต่ทาง True ด้วย

ว่าจะเปิด Platform ให้ทำอย่างนี้หรือไม่

—4—Partner & Offline

Magnet Model มีให้เห็นในเมืองนอก 

คือ การ Generate Pokemon หายาก

ในโลเคชั่นร้านค้า ที่อยากให้คนไปจับเยอะๆ 

และยังขยายไป Game Experience Strategy ได้ คือ

ถ้าใครเคยดู Pokemon จะรู้ว่า 

Pokemon Trainer (ผู้ใช้ Pokemon) จะใช้

Pokeball (โทรศัพท์มือถือ) ในการจับ

Pokemon จะพัฒนาได้จากการสู้ใน 

Pokemon Gym (ตำแหน่งร้าน ที่จะเป็นยิมฝึกฝน

และเมื่อต่อสู้ได้ชนะ Pokemon Trainer

จะได้ Badge ของ Gym นั้นๆ มา

เพื่อแสดงถึง Level ของ Trainer แต่ละคน

ตรงนี้ในปัจจุบัน ยังไม่เปิดให้บริการ 

แต่ถ้ากระแสดีขนาดนี้ ก็น่าคาดว่าน่าจะมีตามมา 

สรุปง่ายๆ คือ ร้านค้า

สามารถเป็นแหล่งที่เกิด Pokemon เพื่อดึงคนเข้าร้าน 

และสามารถยกระดับเป็น Pokemon Gym แจก Badge 

เพื่อให้ลูกค้าซื้อ หรือทำอะไรบางอย่าง แลกกับ Badge ของ Gym ด้วย 

—5— Traffic and Data Strategy

ตรงนี้คือประเด็นหลักที่ True อยากเอามาทำ 

เพื่อเพิ่มการใช้ Data ได้โดยตรง

และนอกจากนี้เชื่อว่า พฤติกรรม Location, Traffic 

จะเป็นข้อมูลมูลค่าสูง ที่ True เอาไปขยายผล

ต่อเป็น Promotion อื่นๆ ต่อยอดได้อีก

 ______________________________

ข้อควรระวัง ในการฉวยโอกาส 

สินค้าปลอม

ทุกครั้งที่เกิด Character Boom

จะมีของปลอมแนบเนียนวางจำหน่ายด้วย 

ร้านค้า SME อาจต้องระวังจุดนี้ด้วย 

การซื้อของแท้มาแจกแลกสแตมป์ไม่ผิด 

แต่แจกของปลอมอาจโดนทีมจับ มารีดเงินได้ 

ต้องระวังให้ดี 

.

.

การใช้กราฟิก

การเอาโลโก้รูป/ชื่อตัวละครคำอธิบาย

ที่ไปหาโหลดจาก Internet แล้วใช้ทางการค้า

ผิดทั้งหมด!! เพราะไม่ได้รับอนุญาต

ในการใช้ทรัพยสินทางปัญญาเหล่านั้น 

รูปและโลโก้ในบทความนี้

ไม่ได้ทำเพื่อการค้าโดยตรง 

จึงพอเลี่ยงบาลีได้ 

*** ทางแก้ 

ซื้อสินค้าลิขสิทธิ์มา แล้วถ่ายรูป

โลโก้รูป/ชื่อตัวละคร คำอธิบายต่างๆ 

แล้วเอารูปถ่ายไปใช้ ในเว็บ หรือหน้าร้าน 

สามารถทำได้ 

เพราะเราไม่ได้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาโดยตรง

แต่เราเอารูปถ่ายสินค้าที่ซื้อมาถูกต้อง 

.

.

เพิ่มเติมเนื้อหา 04/08/2016 07:36

 ______________________________

กระแสนี้จะอยู่นานแค่ไหน

ถ้าในสภาพตอนนี้” …คาดว่ากระแสนี้จะอยู่ไม่นาน” 

เพราะสองสามสาเหตุ 

  1. Game Play เกมนี้ Game Play ไม่สนุก สนุกแค่ตอนได้ออกไปจับในสถานที่จริง เกมที่อยู่ได้นานๆ นั้นจะต้องเล่นสนุก คาดว่าทางผู้พัฒนา คงกำลังปรับปรุงกันอยู่ 
  2. กราฟิก ต้องพัฒนา ถ้าได้แค่ Polygon 3D ดูสักพักไม่สวยคนก็เลิกเล่น
  3. ผลกระทบ ญี่ปุ่น เมกา ยังมีเคสระนาว นึกถึงบ้านเรา เด็กแว็นซ์ซ้อนท้าย ส่ายหาโปเกม่อน จะเกิดอะไรขึ้น พอเกิดเคสมากๆ เกมจะกลายเป็นแพะ และอาจจะโดนแบนได้ง่ายๆ 

หมายเหตุ 1

ทั้งหมดนี้เป็นการรวบรวมจากสิ่งที่เคยเห็นมาเมื่อมีกระแสหลักๆ เข้ามาเท่านั้น แน่นอนว่าคงไม่ได้เห็นทุกอย่างมาทั้งหมด  

ทั้งหมดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการทำการตลาด

หมายเหตุ 2

Pokemon Go มี Niactic เป็นผู้พัฒนา โดยมี Pokemon Co. เป็นผู้ให้สิทธิ์ Nintendo มีเอี่ยวเล็กๆ ผ่านทางหุ้น 25% ที่ถืออยู่ในบริษัท Pokemon Co. จึงเป็นเหตุให้หุ้น Nintendo พุ่งพรวด ตอน PG ออกวางตลาด

แต่พอคนรู้ความจริงว่า Nintendo มีส่วนเล็กๆ เท่านั้น หุ้นก็ร่วงกระแทกลงมา 

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผรินทร์ สงฆ์ประชา (อ๋อง)

ผู้บุกเบิก E-commerce ในธุรกิจค้าปลีก มีประสบการณ์ใน Ecosystem ทั้ง 4 คือ การตลาดออนไลน์ บริหารสินค้า ชำระเงิน และการขนส่ง ปัจจุบันมุ่งมั่นกับกลยุทธ์ Omni Channel เพื่อประสานโลกออนไลน์และโลกความเป็นจริงเข้าด้วยกันในระดับภูมิภาค