John Cannarella และ Joshua A. Spechler นักวิจัยจาก Princeton University ได้คะเนการจบลงของกระแสความนิยมการใช้ Facebook จากแนวคิดการระบาดของโรค โดยคาดว่าจำนวนผู้ใช้ Facebook จะลดลงถึง 80% ในช่วงปี 2015 – 2017
แนวคิดการระบาดของโรคติดต่อถูกนำมาใช้ประกอบการศึกษา การยอมรับและปรับใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง MySpace และ Facebook โดยแสดงให้เห็นว่า Facebook และ MySpace เป็นคีย์เวิร์ดที่มียอดการค้นหารายสัปดาห์ลดลงหรือเพิ่มอย่างไรในแต่ละช่วงปี
โดยกราฟดังกล่าวมาจากแนวคิดที่ว่าไอเดียใหม่ๆ นั้นก็เหมือนโรคระบาด ที่จะมีการส่งต่อและแพร่กระจายผ่านบุคคลสู่บุคคลอื่นๆ จนในที่สุดต่างก็ต้องตายจากไป พวกเขาได้อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยหลักวิทยาการระบาด ว่าเมื่อใดก็ตามที่ผู้รับแนวคิดเหล่านั้นหมดความสนใจในแนวคิดดังกล่าว นั่นก็เท่ากับพวกเขามีภูมิคุ้มกันจากแนวคิดเหล่านั้นนั่นเอง
นอกจากนี้ Facebook นั้นกลายเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กของผู้ใช้ที่มีอายุ โดยเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาได้มีการเก็บข้อมูลของประชากรบน Facebook พบว่ากลุ่มวัยรุ่นใช้ Facebook ลดลงถึง 25% ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้ที่มีอายุั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปหันมาใช้ Facebook มากขึ้นถึง 88%
ซึ่งหากเทียบกับ SnapChat และ Instagram ที่วัยรุ่นหันไปนิยมใช้งานกันมากขึ้น เพราะความใหม่ และฮิปกว่า โดย Instagram นั้นมีผู้ใช้แบบ active user ถึง 150 ล้านรายต่อเดือน มียอดการอัพโหลดภาพ 55 ล้านภาพต่อวัน
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงบน News Feed ของ Facebook ที่ต้องการให้ผู้ใช้ได้รับข่าวสารต่างๆ บน News Feed เสมือนเป็นหนังสือพิมพ์นั้นอาจทำใหผู้ใช้วัยรุ่นเลิกใช้ Facebook อย่างแน่นอน โดย AllthingsD ได้เผยแนวคิดว่า Viral Content นั้นเป็นสัญญาณที่ดีหากเนื้อหานั้นๆ ถูกส่งต่อ แสดงว่าผู้ใช้ยังคงมีความสุขกับการใช้งาน Facebook การปรับปรุงและลดความสำคัญของ Viral Content อาจกหมายถึงการทำร้ายตัวเองของ Facebook ก็เป็นได้ ไม่ว่าผลการศึกษาของแต่ละสถาบันจะมีความแม่นยำหรือไม่ แต่โซเชียลเน็ตเวิร์กแพลตฟอร์มต่างๆ ต่างก็มีวันหมดควมนิยมของมัน ในกรณี Facebook นี้ Facebook เองก็กำลังนับเวลาถอยหลังอยู่เช่นกัน
ที่มา : PolicyMic
ภาพ : creamglobal