Steve Melhuish ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ PropertyGuru Group และ ถนอมศักดิ์? ค้าเจริญ และศิริพร แผ่วัฒนากุล แห่ง DDProperty
หลังจากที่ thumbsup เคยนำเสนอข่าวเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ชื่อดังในสิงคโปร์ PropertyGuru.com เข้ามาซื้อกิจการ DDProperty.com ในเมืองไทยไป? ล่าสุดทาง DDProperty ก็แถลงข่าวอย่างเป็นทางการอีกครั้งโดยไม่ระบุตัวเลขการซื้อขาย แต่ว่า PropertyGuru.com? จะลงทุนทั้งหมด 80 ล้านบาท เพื่อรุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ในไทยต่อไป
ถนอมศักดิ์? ค้าเจริญ? กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออลพร็อพเพอร์ตี้ มีเดีย จำกัด และผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ DDproperty.com เว็บไซต์ศูนย์รวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย เผยว่า Propertyguru.com จากสิงคโปร์ปัจจุบันดำเนินกิจการอยู่ใน 8 ประเทศทั้งที่ลงทุนโดยตรงและพันธมิตรทางธุรกิจได้เข้ามาร่วมลงทุนกับเว็บไซต์ของตัวเอง? เพื่อเข้ามาทำตลาดอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์เต็มรูปแบบในประเทศไทย
?PropertyGuru เข้ามาร่วมลงทุนใน DDProperty เนื่องจากแนวคิดด้านธุรกิจที่สอดคล้องกัน และต่างก็มองเห็นโอกาสการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ในประเทศไทย ซึ่งเรามีเป้าหมายที่จะพัฒนา DDProperty ให้เป็นเว็บไซต์ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่งในประเทศไทยร่วมกัน? โดยตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา DDProperty มีการเติบโตในด้านบวกเสมอมา ทั้งด้านจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และรายได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าใช้บริการสูงถึง 740,000 รายต่อเดือน (Visit) จำนวนครั้งการเข้าชมมากถึง 5 ล้านเพจข้อมูล โดยมีการนำเสนออสังหาริมทรัพย์กว่า 95,000 รายการเพื่อขายหรือเช่า และมีจำนวนสมาชิกกว่า 75,000 คน? ทั้งนี้เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดของจำนวนครั้งการเข้ารับบริการเว็บไซต์เพิ่มขึ้นถึง 188%?
ถนอมศักดิ์กล่าวต่อไปว่า ภายหลังจากการเข้ามาร่วมลงทุนกับ DDProperty.com สิ่งที่ PropertyGuru.com ได้นำมาแชร์ร่วมกันคือ ประสบการณ์ ความรู้ เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการเพิ่มทีมงาน ซึ่งแต่เดิมบริษัทฯ มีบุคคลากรเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น? โดยหลังจากนี้ผู้ใช้งานจะได้เห็นนวัตกรรมการค้นหาข้อมูลอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใหม่ๆ ผ่านทาง Mobile Application โดยเฉพาะอย่างยิ่ง iPhone App, Android App ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงที่สิงคโปร์ ก็จะมีการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย เพื่อสร้างระบบการใช้งานที่สะดวกมากยิ่งขึ้นเช่นกัน
ส่วนทาง PropertyGuru Group โดย Steve Melhuish ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ PropertyGuru Group เผยว่า จากที่ได้เข้ามาสำรวจตลาดออนไลน์และประเมินเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยพบว่า ตลาดโฆษณาออนไลน์มีมูลค่ามากกว่า 1,500 ล้านบาทต่อปี โดยมีอัตราการเติบโตในปีที่ผ่านมาสูงถึง 20% ซึ่งในส่วนของเว็บไซด์อสังหาออนไลน์ยังเป็นตลาดใหม่และพัฒนาได้อีกมาก จึงได้พูดคุยกับ DDProperty.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ของไทยที่มีศักยภาพและมีพื้นฐานที่มีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว
?ในช่วง 2 ปีแรก เราจะใช้งบประมาณลงทุนกว่า 80 ล้านบาท เพื่อพัฒนาด้านข้อมูลของเว็บไซต์ พร้อมทำการตลาดเพื่อให้ DDProperty.com เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยภายในสิ้นปีนี้เราตั้งเป้าที่จะทำให้มีผู้เข้าใช้บริการ (Visit) มากกว่า 1.5 ล้านรายต่อเดือนมี และมีจำนวนการเข้าชม (Page View) มากถึง 10 ล้านครั้งต่อเดือน?? นอกจากนี้จะมุ่งเน้นในเรื่องคุณภาพของข้อมูลและความสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์เป็นหลัก และจะมีการสร้างฐานข้อมูลโครงการอสังหาริมทรัพย์ ต่างๆ รวมถึงฐานข้อมูลตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ ในประเทศไทย เพื่อให้ลูกค้าสามารถค้นหาเป้าหมายได้ตรงตามความต้องการ? ซึ่งจากนโยบายจากภาครัฐบาลของไทยที่มีการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจะทำให้มีการซื้อขายที่อยู่อาศัยและการเปิดตัวโครงการบ้าน-คอนโด เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในภาพรวมก็คงจะส่งผลถึงเม็ดเงินที่จะทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ตัวโครงการฯ มากขึ้นด้วย?
Steve กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปัจจุบัน PropertyGuru มีผู้ใช้บริการกว่า 4 ล้านรายในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มากกว่า 50 ล้านเพจข้อมูล? โดยมีฐานข้อมูลลูกค้าที่ลงทะเบียนใช้บริการประจำถึง 3 แสนราย และมีตัวแทนซื้อขายอสังหาริมทรัพย์อีกกว่า 14,500 คน โดยมีอัตราการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นถึง 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีการเข้าใช้บริการเติบโตถึง 85% ในช่วง 6 เดือน โดยหลังจากการลงทุนในประเทศไทยครั้งนี้จะทำให้ทางบริษัทสามารถทำตลาดเพื่อนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ซึ่งต้องการเข้าถึงผู้ซื้อเป้าหมายในหลายประเทศแถบอาเซียนเช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย อินเดีย มาเก๊า และฮ่องกง ได้เหนือกว่าคู่แข่งในภูมิภาคเดียวกัน
เห็นข่าวนี้แล้วก็รู้สึกดีที่วงการเว็บไทยมีความเคลื่อนไหว เชื่อว่าต่อไปเมื่อเปิด ASEAN แล้วเราคงจะเห็นความเคลื่อนไหวเช่นนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะระบบทุนจะขยายเป็นรูปแบบภูมิภาคมากขึ้น นั่นคือทุนที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจากออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์