วงการดิจิทัลเอเยนซี่ในเมืองไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาถือว่ามีความคึกคักอย่างมาก ด้วยความต้องการของตลาดที่มีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เอเยนซีหน้าใหม่เปิดเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย 1 ในเอเยนซี่ที่ได้รับการพูดถึงอย่างมากเกี่ยวกับแนวคิดและผลงานที่ได้รับการพูดถึง ก็คือ Rabbit’s Tale ครั้งนี้ thumbsup มีโอกาสได้พูดคุยผู้บริหารวัยรุ่นไฟแรงที่จะมาเปิดเผยถึงแนวทางในการทำเอเยนซี่ที่จะทำให้โดนใจแบรนด์และกลุ่มลูกค้ามากที่สุด
จากซ้ายไปขวา ได้แก่ เล็ก รุ่งโรจน์ ตันเจริญ,บี สโรจ เลาหศิริ, ปอม ชนินทร์ อรัญวัฒน์ และ แม็ค สุนาถ ธนสารอักษร
Rabbit’s Tale กับความเป็นมา
คุณเล็ก ได้เล่าถึงสัญลักษณ์เป็นรูปพระจันทร์เป็นที่มาของชื่อ Rabbit’s Tale กล่าวคือ การไปเยือนดวงจันทร์เปลี่ยนมุมมองจากเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นไปไม่ได้ หรือเป็นนิยายปรัมปรา (Fiction) ไม่ถึง 100 ปีต่อมากลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นวิทยาศาสตร์จับต้องได้ (Nonfiction) โดยมีมนุษย์สามารถขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ได้เป็นคนแรก
หลังจากนั้นกลายเป็นแฟชั่นมากขึ้นทุกคนมุ่งที่จะไปเยือนดวงจันทร์ จนมีการกล่าวถึงประโยคหนึ่งว่า “Shoot for the moon. Even if you miss, you’ll land among the stars” หมายถึง ตั้งเป้าไปดวงจันทร์ อย่างน้อยถ้าคุณพลาดคุณก็จะอยู่ท่ามกลางดวงดาว
ส่วนเหตุผลของการตั้งชื่อ Rabbit’s Tale นอกจากหมายถึงกระต่ายบนดวงจันทร์ในมุมมองของ Fiction, Nonfiction และการตั้งเป้าหมายตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ทุกคนที่เป็นผู้ก่อตั้งยังเกิดปีกระต่ายอีกด้วย
Rabbit’s Tale ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2009 ผู้ก่อตั้ง คือ คุณปอมและคุณแม็ค โดยมีคุณบีเป็นที่ปรึกษา และร่วมงานในเวลาต่อมา ในระยะแรกของการก่อตั้งได้ใช้โรงจอดรถของโรงพิมพ์เก่าของคุณแม็คเป็นสำนักงาน และย้ายสำนักงานในปีที่ 3 ซึ่งเป็นที่อยู่ในปัจจุบัน (ชิดลม) และวางแผนจะย้ายบริษัทเพื่อขยายการเติบโตอีกรอบกลางปีนี้
“Break the norm, Build the tale”
ภายใต้วิสัยทัศน์ของ Rabbit’s Tale นี้ ประกอบไปด้วย
- พนักงาน พนักงานและสถานที่ทำงานสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และได้ทำในสิ่งที่รัก
- ลูกค้า: สร้างความเชื่อใจให้ลูกค้ามากที่สุด
- ความยั่งยืน: การสร้างและการเจริญเติบโต การฟูมฟัก
และที่สำคัญคือ การสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์การตลาดและการโฆษณาสำหรับ Rabbit’s Tale
Tone of voice
- Digital life: วิถีชีวิตมนุษย์มีพลวัตรเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ จากไม่มีรถเป็นมีรถ ทำให้ไปมาหาสู่ถึงกันได้ เปรียบเสมือนกับ Digital life เข้ามามีส่วนในวิถีชีวิตตั้งแต่ตื่นนอน ไปเรียน ไปทำงาน จนกระทั่งเข้านอน จะเห็นได้จากสิ่งแรกที่ทุกคนทำตอนตื่นนอนตอนเช้า คือ เปิด Smartphone เพื่อ Login Social media ทำให้ชีวิตสะดวก เชื่อมโยงการติดต่อสื่อสาร และประหยัดเวลา
- Balance between effectiveness and creativity: Digital marketing ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้เลยระหว่างความมีประสิทธิภาพและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้จะต้องสมดุลกันผลงาน Digital marketing แต่ละชิ้นจึงจะมีคุณค่าและประโยชน์ ไม่ใช่ทำงานเพื่อ scrap Award เพียงอย่างเดียว
Budgeting
Competitive price ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงและงบประมาณที่จำกัด Rabbit’s Tale สามารถบริหารจัดการและปรับกลยุทธ์ได้ ยกตัวอย่างกรณีการสร้างสรรค์ Skip ads น้ำจับเลี้ยงสมุนไพรตราเก๊กหล่อ กับคู่แข่งขันอย่าง เย็น เย็น และจับใจ
Communication
- เพิ่ม challenges/ลด barriers: หลากหลายช่องทาง เช่น โซเชียลมีเดีย (Facebook, Instagram, Twitter, YouTube, etc.), video marketing, website/content marketing, search engine marketing (Google, Yahoo!,), blogger/influencer marketing, e-mail marketing, Application marketing, Chinese marketing เช่น Alibaba, Aliexpress, etc.
- Gadget: พัฒนาสื่อให้ทันสมัยเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยใช้สมาร์ทโฟน
Value added
สร้างผลงาน Digital marketing แต่ละชิ้นจึงให้มีคุณค่าและประโยชน์ ต่อยอดผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำจับเลี้ยงสมุนไพรตราเก๊กหล่อ Skip ads แล้วมีคน tweet และ re-tweet ต่อ และเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือ แนวทางใหม่ๆ ให้สามารถนำเสนอได้ เช่น มีอะไรถามอาม่า บน Twitter ของ เก๊กหล่อ เป็นต้น
Micro marketing
การทำกาตลาดทุกวันนี้ต้องครอบคลุมทุกมิติ เมื่อก่อนผู้บริโภคบริโภคเฉพาะ Mass media เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ วารสาร นับตั้งแต่มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นต้นมา Micro media เช่น Facebook, Instagram, Twitter, YouTube, E-book, E-journal, forum, etc. เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในสังคมเป็นวงกว้างมากขึ้น
Success Stories
เก๊กหล่อ อาม่าท้าให้กด Skip ads แต่ถ้าดูต่ออาม่าจะบอกเคล็ดลับสูตรน้ำจับเลี้ยงแท้
Success story – YouTube 307,950 views, Facebook 30,263 Likes, 82% คนดูต่อโดยไม่ skip ads
หมู-ไก่ หมักพร้อมปรุงตราซีพี สร้างเมนูเป็นเรื่องราว Menu Story อธิบายขั้นตอนตำรับการปรุงอาหารเมนูยอดฮิต “ไก่กรอบ-ทอดสะพาน”, “ข้าวต้มหมู สู้เขานะ” โดยใช้วัตถุดิบหมู-ไก่ หมักพร้อมปรุงตราซีพี
Srichand for men
Canon Redefine ก.ไก่ สร้างมุมมองใหม่ๆ จากช่างภาพด้วยการเปิดโอกาสให้นำเสนอสิ่งใหม่ๆ เริ่มต้นด้วยแบบเรียน ก ไก่ – ฮ นกฮูก https://life.canon.co.th/redefine01
จากผลงานทุกอย่างที่ทาง Rabbit’s Tale ทำขึ้นมา บีย้ำว่าทุกสิ่งไม่ได้คิดเพียงแค่การสร้างและจบไปแค่ทีเดียว แต่ Rabbit’s Tale จะมอบเป็นมรดกตกทอดกับแบรนด์เพื่อไปใช้และพัฒนาในครั้งต่อๆ ไปได้อีกด้วย
หลังจากให้ Rabbit’s Tale ได้แนะนำเกี่ยวกับบริษัทไปแล้ว คราวนี้ก็เป็นทาง thumbsup ได้ถามคำถามเพื่อให้รู้ถึงมุมมองของ Rabbit’s Tale กับสภาวะและสภาพการตลาดของวงการนี้กันบ้าง
ความท้าทายในการสร้าง Rabbit’s Tale ในยุคที่เอเยนซี่รายเล็กๆ กำลังสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กัน
Rabbit’s Tale มองในเรื่องนี้ว่า จะมีการแข่งขันกันสูงขึ้น โดยอาจต้องปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับกระแส เช่น Video marketing ต้องปรับรูปแบบหรือเทคโนโลยีเป็น Short form video marketing (cost-effective, fast, short) ซึ่งมองว่าถ้าเอเยนซี่ไม่ปรับตัวกับการแข่งขันนี้ก็อาจต้องปิดตัวลงก็เป็นได้
ผู้บริโภคยุคนี้ส่งผลกับการทำงานด้านดิจิทัลอย่างไร
Rabbit’s Tale ให้มุมมองในการตอบเป็น 2 มุมมอง ด้านแรกคือ Supplier ซึ่งแยกเป็นกลุ่มแรก entrepreneur คือ retail trader เช่น Office mate หรือบริษัทด้าน Telco ที่ใช้การทำการตลาดดิจิทัลเป็นหลัก ซึ่งจำหน่าย Hardware อย่างตัวโทรศัพท์เป็นหลัก กลุ่มที่สอง คือ Other companies ที่ใช้การทำการตลาดดิจิทัลเป็นส่วนประกอบบังคับ และกลุ่มสุดท้าย คือ SME ที่ตลาดกำลังโต เช่น Srichand เป็นต้น
ส่วนในมุมมองของ Customer เกี่ยวข้องกับ Hardware(wireless, mobile), Software (social media, instant messenger, search engine), Connectivity (informative, suddenly) ที่มีประโยชน์และสามารถเข้าถึงได้ตลอด
มุมมองต่อวงการดิจิทัล และดิจิทัลเอเยนซี่ของไทย
Business barrier ยังต่ำใครก็สามารถเข้ามาทำได้ในธุรกิจดิจิทัลเอเจนซี่ ในมุมมองของ Rabbit’s Tale ไม่คิดว่าบริษัทดังกล่าวเป็นคู่แข่ง แต่จะดำเนินธุรกิจอยู่ในวงการ และทำได้ดีแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทางเอเจนซี่มีความมั่นใจในศักยภาพและพลังของแรงบันดาลใจร่วมกันของพนักงาน ถ้าเปรียบเทียบการอยู่บริษัทเอเจนซี่ใหญ่ก็เหมือนกับขับรถบน Highway คนเดียว ซึ่งขับได้เร็ว ถนนดี ขับง่าย ไปถึงเร็ว แต่ Rabbit’s Tale เหมือนขับรถขึ้นเขา แต่มีเพื่อนร่วมทางคอยกรุยทาง ถางหญ้าไปด้วย บางครั้งทางมีหลุมมีบ่อ ขับยาก แต่เมื่อหันหลังกลับไปจะพบว่าทีมเราอยู่สูงกว่าอีกทาง ทำให้มีพลังและเกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน ผลงานจะออกมาดี และลูกค้าจะรับรู้ได้ถึงความแตกต่างของ Rabbit’s Tale
อีกมุมมองหนึ่งการที่มีคู่แข่งทำให้เกิดการเรียนรู้เชิงกลไกตลาด หลังจากทำความรู้จักและเรียนรู้ระบบการทำงานของเอเจนซี่แล้ว ลูกค้าจะสามารถแยกเอเจนซี่ที่ดีกับไม่ดีและตัดสินใจเลือกเอเจนซี่ได้ คนที่ถูกเลือกก็จะประสบความสำเร็จและเข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิม
มองอนาคตธุรกิจเอเยนซี่ขนาดเล็กและใหญ่ไว้อย่างไร คิดว่าจะเกิดการควบรวมกันหรือแตกบริษัทที่น่าสนใจหรือไม่
มุมมองแรกมีแนวโน้มขยายธุรกิจหรือ Upsizing เพื่อแข่งกับตลาดหลัก ประสบความสำเร็จและเข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิม
ในทางตรงกันข้าม มุมมองที่สองมีแนวโน้มที่จะ Downsizing เช่น Boutique agencies ที่มีความคล่องตัวในการบริหารหรือควบรวมกิจการ (Acquire) ขึ้นอยู่ว่าอยู่ในอุตสาหกรรมไหน เช่น IT, Telecommunication จึงมองว่า Local digital agencies มีทางเลือกมากกว่า agencies ข้ามชาติ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ (Feasibility) ที่จะถูก Acquire โดยธุรกิจที่ใหญ่กว่า หรือเอเจนซี่ที่ใหญ่กว่า ทั้งในธุรกิจ Advertising agencies เหมือนกันหรือข้ามธุรกิจ แต่ข้อดีของ Agency ข้ามชาติ เช่น Club agencies ที่มีชื่อเลียง มีองความรู้ มี Headquarter ดูแล และมีความสามารถในการ Recruit พนักงานที่มีคุณภาพ
มองสถานการณ์ธุรกิจ in-house advertising agency ในประเทศไทยอย่างไร
เป็นสิ่งที่บอกให้พนักงานตระหนัก และหา Value added, Third eye หรือ Specialized ให้ผลิตภัณฑ์ เช่น marketing consultant, create production, new way of approach, วาง platform ให้ลูกค้า access ได้โดยตรงเหมือน Google แล้วลูกค้าจะเป็นคนเลือกเอง
7 เดือนที่เหลือในปี 2559Rabbit’s Tale จะเป็นอย่างไร
Rabbit’s Tale อยู่ในช่วงหลังฝุ่นตลบผ่านคู่แข่งขันมามากมาย และจะพัฒนาตัวเองให้ specialized มากขึ้น และกลายเป็น Digital trustable partner ให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นที่จะได้มาร่วมงานกันกับเรา