เมื่อเราพูดถึงการทำการตลาดออนไลน์ การที่เราจะออกแบบงานอะไรสักอย่างเพื่อให้ตอบโจทย์ของทุกๆ คนนั้นถือได้ว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว และนักการตลาดออนไลน์ส่วนใหญ่ก็เข้าใจความเป็นจริงนี้ค่อนข้างดี ดังนั้นเราจึงได้พัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคโดยดูข้อมูลหลายๆ อย่าง เช่น พฤติกรรมล่าสุดและ profile ของกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น เพื่อให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำ Content Marketing ก็ต้องอาศัยการเจาะกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนแล้วทำการ optimize เนื้อหาและชิ้นงานด้วยเช่นกัน เช่น เราต้องการทำ infographic สักชิ้น เราคงไม่ได้ต้องการให้งานชิ้นนี้เข้าถึงคนทั่วไปทุกๆ คน แต่เราต้องการให้เข้าถึงกลุ่มคนอ่านที่เป็นเป้าหมายตรงๆ เพื่อให้มียอดการเห็นและการแชร์ที่สูงที่สุดมากกว่า
ส่วนที่น่าสนใจก็คือ…
มีงานวิจัยเปิดเผยว่า 74% ของผู้บริโภครู้สึกไม่พึงพอใจเพิ่มขึ้นเมื่อเขาเข้ามาที่เว็บไซต์แล้วข้อมูลบนเว็บไม่ตอบโจทย์ของเขา ซึ่งนั่นก็ยิ่งตอกย้ำว่าการออกแบบเนื้อหาที่พยายามให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายนั้นยิ่งไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องอีกต่อไป
ผู้บริโภคทุกวันนี้ไม่ยอมเสียเวลามาทำความรู้จักเว็บไซต์ของคุณอีกต่อไป เขาต้องการให้เว็บของคุณนำเสนอข้อมูลและเนื้อหาที่ตอบโจทย์ของเขาและให้เข้าถึงได้อย่างรวดเร็วที่สุด ดังนั้นเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จและโดดเด่นมากที่สุดจึงกลายเป็นเว็บไซต์ที่รู้จักการใช้พลังของ Real-time Personalization หรือการปรับเนื้อหาและการแสดงผลให้เข้ากับผู้อ่านแต่ละคนแบบทันทีทันใดนั่นเอง ซึ่งหัวใจของการออกแบบเว็บไซต์ให้ได้แบบนี้มีมากกว่าแค่การใช้รูปสวยๆ หรือวางเลย์เอาต์ดีๆ แต่มันคือการตอบสนองประหนึ่งเว็บคือหน้ารวบรวมข้อมูลสำคัญๆ ส่วนตัวของผู้ใช้ไว้ในที่เดียว (Personal Dashboard)
สำหรับเว็บไซต์แล้ว การทำ real-time personalization จึงถือเป็นการออกแบบประสบการณ์การใช้งานให้ตอบโจทย์ของผู้ใช้แต่ละคน ดังนั้นเว็บไซต์จึงต้องฉลาดเพียงพอที่จะเข้าใจพฤติกรรมว่าผู้ใช้แต่ละคนมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บอย่างไรบ้าง จากนั้นก็ทำการประมวลผลและแสดงเนื้อหาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้นั้นๆ ที่เคยทำบนเว็บมาก่อน ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มการมี engagement และช่วยให้เนื้อหาที่นำเสนอตอบโจทย์ของผู้อ่านเพิ่มขึ้นด้วย
ลองมาดู 5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการจัดการกับ Real-time Personalization ให้ประสบความสำเร็จกันครับ
#1 สร้าง Audience Persona หรือบุคลิกและความสนใจของผู้เข้าชมเว็บขึ้นมา โดยดูจากข้อมูล web analytics และการทำการวิจัยให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าและบริการของคุณ
#2 ให้ความสำคัญกับ Persona ที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะการวิเคราะห์ว่าอะไรที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายตาม Persona นั้นๆ เกิดการซื้อ หรือการดูว่างานที่เขาทำคืออะไร และอะไรที่ทำให้เขามีความสุขหรือแม้กระทั่งอะไรที่ทำให้เขาไม่มีความสุข
#3 สร้างแผนที่ของคอนเทนต์หรือเนื้อหาข้อมูลต่างๆ เพื่อวางกลยุทธ์ของสินค้าและบริการที่ต้องการเน้นย้ำ รวมไปถึงช่องทางหรือรูปแบบที่เหมาะสม เช่น เนื้อหานี้ควรจะเป็นตัวหนังสือ, รูปภาพแบบไหน ต้องออกแบบในทิศทางใด และโทนในการสื่อสารเป็นอย่างไร เป็นต้น
#4 แนวคิดของขั้นตอนเหล่านี้ก็เพื่อวางเส้นทางให้กลุ่มเป้าหมายได้เดินตาม โดยมีการกรองมาแล้วว่าข้อมูลไหนบ้างที่กลุ่มเป้าหมายแต่ละคนควรจะเห็น ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ต้องเชื่อมโยงกับความสนใจของเขามากที่สุด
#5 เมื่อเรามี persona และกลยุทธ์ของคอนเทนต์ที่ชัดเจนแล้ว ให้พิจารณาปัจจัยภายนอกอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การใช้วิธีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยดูจากพื้นที่ที่เขาเข้าเว็บไซต์เพื่อทำการคัดเลือกเนื้อหาให้ตรงกับผู้อ่านแต่ละคน หรือการเลือกส่งข้อความทักทายให้เข้ากับเทศกาลต่างๆ ให้ตรงกับแต่ละ Persona และช่องทางที่ผู้อ่านนั้นๆ ใช้งาน
สุดท้ายแล้ว การที่เว็บไซต์ของคุณจะเลือกใช้ Real-time Personalization ให้ล้ำลึกเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของเว็บเอง แต่สำหรับเว็บไซต์ที่เพิ่งเริ่มต้นเข้ามาสู่การทำ Real-time Personalization นั้น คำแนะนำก็คือให้เริ่มจากการทำ dashboard ที่สามารถปรับต่างได้ตามความเหมาะสมให้ตรงกับความชอบของผู้อ่าน ซึ่งนี่จะเป็นก้าวสำคัญในการทำเว็บไซต์ของคุณให้ฉลาดยิ่งขึ้นไปอีก
ที่มา: Syndacast
บทความนี้เป็น advertorial