ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียจะมีการเติบโตขึ้น คนไทยใช้งานออนไลน์เพิ่มขึ้น แต่ปัญหาเรื่องภาวะเครียดและซึมเศร้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน Facebook ประเทศไทย และ Instagram จึงได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ เปิดตัวแคมเปญ #RealTalkThailand เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ( 8-20 ตุลาคม 64) เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพจิตที่ดีในประเทศไทย
การเปิดตัวแคมเปญ #RealTalkThailand เป็นการทำขึ้นเนื่องในโอกาสวันสุขภาพจิตโลก หรือ World Mental Health Day เพื่อช่วยเหลือผู้คนที่กำลังเจอปัญหา โดยดึงเหล่าครีเอเตอร์มาร่วมสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับการมีสุขภาพจิตที่ดี พร้อมลดมุมมองเชิงลบและผลักดันให้การพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพจิตเป็นเรื่องปกติและพูดคุยในวงกว้าง
แคมเปญดังกล่าวถูกเปิดตัวขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยยังคงเดินหน้าจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลกระทบที่ตามมาต่อภาคสังคม ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่า มีคนไทยจำนวนกว่า 3.3 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีปัญหาด้านสุขภาพจิต ไม่ว่าจะเป็นอาการวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และความคิดอยากฆ่าตัวตาย และสถานการณ์การแพร่ระบาดก็ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเด็กและเยาวชนในประเทศมากกว่ากลุ่มอื่น
โดยผลการศึกษาขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) ประจำปี พ.ศ.2563 พบว่า 7 ใน 10 ของเด็กและเยาวชนชาวไทยได้รับผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจิต ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความเครียด ความทุกข์ และความวิตกกังวล จากความไม่แน่นอนทางด้านการเงินและโอกาสในการถูกจ้างงานในอนาคต
แคมเปญดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพจิตในมุมมองที่กว้างขึ้นบนโลกออนไลน์ โดยมีผู้คนจำนวนกว่า 200,000 คน เป็นสมาชิกในกลุ่มบน Facebook ราว 2,000 กลุ่มที่มีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือผู้คนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต นอกจากนี้ คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับประเด็นด้านสุขภาพจิตยังผลักดันให้เกิดพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์บน Instagram เป็นจำนวนกว่า 2.2 ล้านครั้ง ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรและชุมชนเกี่ยวสุขภาพจิตในประเทศไทย Instagram จึงได้เปิดตัวแคมเปญ #RealTalkThailand โดยเปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์ที่มีชื่อเสียงได้เชื่อมต่อกับผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างการตระหนักรู้ในวงกว้างยิ่งขึ้นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแก่ผู้ติดตามของทุกฝ่าย
นอกจากนี้ Instagram ยังได้ร่วมมือกับนักวาดภาพประกอบ รีนพี (Reenp) และกวี วิน นิมมานวรวุฒิ (Win Nimman) ในการสร้างสรรค์ผลงานแบบเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับแคมเปญ #RealTalkThailand โดยเฉพาะ เพื่อให้บทสนทนาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตสามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชนไทยได้มากขึ้น
เนื่องในโอกาสการเปิดตัวแคมเปญ #RealTalkThailand ในครั้งนี้ Instagram ยังได้เน้นถึงความสำคัญของชุดเครื่องมือเพื่อสนับสนุนสุขภาวะ เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถควบคุมประสบการณ์ของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ได้แก่ Instagram Guides ฟีเจอร์เพื่อช่วยให้การค้นพบคำแนะนำ เคล็ดลับ และเนื้อหาอื่นๆ จากครีเอเตอร์ บุคคลสาธารณะ องค์กร และผู้ผลิตเนื้อหา (publishers) บน Instagram เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น
สำหรับในประเทศไทย แคมเปญนี้ยังมาพร้อมการสร้าง Instagram Guides เพื่อให้ความรู้แก่ผู้คนเกี่ยวกับความสำคัญในการจัดการกับความวิตกกังวลและความเครียด รวมถึงการเป็นผู้ฟังที่ดีให้กับผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหา การเข้าดูไกด์ต่างๆ คุณสามารถไปที่หน้าโปรไฟล์ของ โนอิ้งมายด์ อูก้า และสมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย
จากนั้นกดไปที่ปุ่มไอคอนไกด์เพื่อรับชมไกด์ของพวกเขา โดยในขณะเยี่ยมชมไกด์ คุณจะเห็นโพสต์และวิดีโอต่างๆ ที่ครีเอเตอร์ได้เลือกสรรมาจัดแสดง ซึ่งจะถูกจับคู่กับเคล็ดลับและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ คุณยังสามารถแชร์ไกด์เหล่านี้ไปยัง Instagram Stories หรือส่งเป็นข้อความ (Direct) ด้วยการกดปุ่มแชร์ที่ด้านขวาบน
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือด้านความปลอดภัยอื่นๆ ที่พร้อมให้บริการแก่ผู้ใช้งาน ประกอบด้วย
- การซ่อนยอดไลค์ Instagram มอบทางเลือกให้ผู้คนสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้ผู้อื่นเห็นยอดไลค์บนโพสต์ของพวกเขาหรือไม่ และยังสามารถเลือกได้ว่าต้องการเห็นยอดไลค์บน Instagram หรือไม่
- การควบคุมด้านการส่งข้อความและการมีปฏิสัมพันธ์ การตั้งค่าที่ช่วยให้ผู้คนสามารถเลือกได้ว่าต้องการอนุญาตให้ทุกคน ไม่อนุญาตใครเลย หรืออนุญาตเฉพาะผู้คนที่พวกเขาติดตาม ให้สามารถส่งข้อความ แท็ก หรือกล่าวถึงพวกเขาในช่องแสดงความคิดเห็น คำบรรยายใต้ภาพ Stories หรือการส่งข้อความตรง
- จำกัด Instagram ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้รังแก (bullies) สามารถมองเห็นหรือเข้ามามีส่วนร่วมกับเนื้อหาของผู้ใช้ได้ โดยที่ผู้รังแกจะไม่ได้รับการแจ้งเตือน
- ลิมิต Instagram ช่วยให้ผู้คนสามารถซ่อนความคิดเห็นและคำขอในการส่งข้อความตรงโดยอัตโนมัติ จากผู้คนที่ไม่ได้ติดตามหรือผู้คนที่เพิ่งเริ่มติดตามพวกเขาในช่วงที่ผ่านมา
- การควบคุมเนื้อหาที่มีความอ่อนไหว ผู้คนสามารถเลือกเนื้อหาที่พวกเขาเห็นในหน้า Instagram Explore ได้ตามความต้องการของตัวเอง จากการมอบทางเลือกในการเห็นเนื้อหาที่อาจถูกมองว่ามีความอ่อนไหว (sensitive) จำนวนมากขึ้นหรือน้อยลงก็ได้ Instagram ยังกรองเนื้อหาบางประเภทออกจากหน้า Explore ซึ่งเป็นเนื้อหาที่อาจถูกมองว่ามีความอ่อนไหว หรือสร้างความขุ่นเคือง (offensive) และผู้ใช้วัยรุ่นจะเลือกเห็นเนื้อหาประเภทนี้ในจำนวนน้อยลงได้อย่างเดียวเท่านั้น
- การเตือน (Nudges) นอกจากนี้ Instagram กำลังพัฒนาฟีเจอร์ที่สนับสนุนให้ผู้คนหยุดพักและไตร่ตรองว่าเนื้อหาประเภทไหนที่พวกเขาต้องการรับชม และหวังที่จะช่วยเชื่อมต่อผู้คนเข้ากับเนื้อหาที่สร้างแรงบันดาลใจและยกระดับจิตใจของพวกเขา
การแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพจิต
คุณอแมนด้า ชาลิสา ออบดัม กล่าวว่า “โดยส่วนตัวแล้ว ด้ามีความสนใจในเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตให้แก่ผู้คน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากประสบการณ์ตรงที่เคยผ่านมาด้วยตัวเอง และยังได้ทำแคมเปญเพื่อร่วมรณรงค์ให้คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการรับฟัง และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตมาโดยตลอด ด้าจึงรู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนแคมเปญ #RealTalkThailand ร่วมกับ Facebook ประเทศไทย และ Instagram ในครั้งนี้ และจากที่ในปัจจุบัน ผู้คนในสังคมใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียมากขึ้น ด้าจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแคมเปญนี้จะสามารถเข้าถึงผู้คนในวงกว้าง และผลักดันให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้น”
ร้อยโทหญิง ทพญ. กัญจน์ภัสสร กล่าวว่า “ปัจจุบันเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนไทย เพราะเรื่องนี้มีความใกล้ตัวกับเรามากกว่าที่คิด เราเชื่อว่าถ้าหากเรามีความเข้าใจและยอมรับเกี่ยวกับเรื่องปัญหาสุขภาพจิตในสังคมมากขึ้น ก็จะทำให้การแก้ไขปัญหามีความตรงจุดมากขึ้นไปด้วย เรารู้สึกดีใจที่แพลตฟอร์มชั้นนำระดับโลกอย่าง Instagram ให้ความสำคัญและต้องการสนับสนุนขับเคลื่อนสังคมในประเด็นสุขภาพจิต และเราเชื่อว่าแคมเปญนี้จะช่วยให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจในเรื่องสุขภาพจิตกันมากขึ้น”
ในขณะเดียวกัน คุณตระการ ก็รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมงานกับ Facebook และพันธมิตรอื่นๆ ในแคมเปญ #RealTalkThailand โดยกล่าวว่า “เราหวังว่าแคมเปญนี้จะช่วยสร้างการรับรู้ถึงเรื่องปัญหาสุขภาพจิตในสังคม รวมถึงให้ผู้คนได้ตระหนักว่าการแก้ปัญหานี้เป็นหน้าที่ของเราทุกคน รวมทั้งอยากให้ผู้ที่กำลังเผชิญปัญหาเหล่านี้ได้ทราบว่าไม่เป็นไรเลยหากพวกเขาอาจจะรู้สึกไม่โอเคหรือมีปัญหา เราอยากมอบพื้นที่ที่ปลอดภัยให้พวกเขาได้พูดถึงปัญหาที่กำลังเผชิญโดยไม่มีใครมาตัดสินหรือเลือกปฏิบัติ และจากแคมเปญนี้ เราหวังว่าผู้คนจะยื่นมือให้ความช่วยเหลือผู้ที่กำลังเผชิญปัญหาด้วยการเปิดใจฟังด้วยความเข้าใจ ไม่ตัดสิน และยอมรับพวกเขาโดยไม่มีเงื่อนไข”
ในท้ายที่สุด คุณสมภพจากโนอิ้งมายด์ได้กล่าวสรุปว่า “ประเด็นสุขภาพจิตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิตส่วนตัว ด้านความสัมพันธ์ ด้านการทำงาน และด้านการเรียนรู้ หากเราไม่ตระหนักรู้และไม่ดูแลสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม ก็จะเกิดผลกระทบตามมามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์โควิดตอนนี้ ซึ่งสร้างความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ง่ายขึ้น”
คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ #RealTalkThailand ผ่านเพจ Facebook ประเทศไทยที่ https://www.facebook.com/FacebookThailand