แม้ว่าการทำ Rebranding จะเป็นการเปลี่ยนจุดยืนของแบรนด์ไปจากเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับภาพรวมทั้งหมดภายในองค์กร แต่ก็อาจเป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ตามท้องตลาดที่พบเห็นทั่วไป รวมไปถึงแบรนด์ในโลกออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นมากกว่าการสร้างแบรนด์ใหม่ (Branding) ทั้งยังเป็นสัญญาณว่าจะมีวิธีและแนวทางใหม่ในการทำธุรกิจ แม้ว่าแบรนด์เก่าจะมีผู้คนจำนวนหนึ่งจดจำในรูปแบบเดิมได้แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องคำนึงให้ดีว่าจะโยนสิ่งดีๆ ที่ผู้บริโภคได้จดจำออกไปนั้นคุ้มค่าหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การทำ Rebranding มักประสบความสำเร็จในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการเรียนรู้จากตัวอย่างข้อผิดพลาดของการทำ Rebranding ในอดีต จะช่วยให้ธุรกิจของคุณกระโดดไปสู้ทิศทางที่ถูกต้องได้ และนี่เป็น 7 สิ่งที่แบรนด์ควรระวังในการทำ Rebranding เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น :
1. เพราะแบรนด์เป็นมากกว่าชื่อและโลโก้
บ่อยครั้งที่ผู้บริโภคมักสับสนกับเครื่องหมายทางการตลาด ไม่ว่าจะเป็น โลโก้ ชื่อ เว็บไซต์ หรือวัฒนธรรมของแบรนด์ การใช้ mascot มาช่วยให้ลูกค้าลืมภาพลักษณ์เก่าอาจจะไม่ได้ผล ดังนั้นการตัดสินใจ rebrand ควรคิดให้รอบคอบไปถึงผลระยะยาว เหตุผลของการ rebranding นั้นไม่ใช่เพียงแค่ยอดขายตกลง
แต่ควรคำนึงถึงวิธีการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นได้หรือไม่ หลังจากการ rebrand
2. ลืมจุดยืนของแบรนด์ในตลาด
ก่อนอื่นควรเข้าใจลูกค้าว่าต้องการอะไรจากแบรนด์ ไลฟ์สไตล์การใช้สินค้าและบริการเป็นเช่นไร จากนั้นค่อยดูว่าสินค้าและบริการของแบรนด์คุณสามารถตอบสนองกับลูกค้าได้ดีเพียงใด มิเช่นนั้นอาจทำให้ลูกค้าเรียกร้องให้แบรนด์กลับมาสู่ที่เดิม อันเนื่องจากความรู้สึกคุ้นเคยและรูปแบบการใช้งานเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของพวกเขามากกว่าแบบใหม่
3. ระบุเหตุผลในการเปลี่ยนชื่อ และศิลปะในการตั้งชื่อใหม่
เพราะชื่อของแบรนด์เป็นอะไรที่สามารถสื่อเรื่องราวสำคัญจากบริษัทของคุณได้เป็นอย่างดี หากจะทำการ Rebranding โดยการเปลี่ยนชื่อ คุณจะต้องให้เหตุผลที่ตัดสินใจเปลี่ยน เพื่อแสดงให้ลูกค้าของคุณทราบถึงความพยายามที่จะให้ลูกค้ามีส่วนร่วมเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิมร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม การตั้งชื่อเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ไม่มีหลักการตายตัว เช่น FreeCreditReport.com, Google และ Apple ล้วนเป็นชื่อแบรนด์ดังที่นำคำกริยา คำนาม มาร้อยเรียงให้เป็นชื่อแบรนด์อันน่าจดจำ หรืออาจจะใช้คำที่บ่งบอกว่าแบรนด์ของคุณให้บริการอะไรโดยตรง แต่ก็มีบางประเด็นที่ต้องระวัง เช่น FreeCreditReport.com อาจทำให้เสียส่วนแบ่งทางการตลาดไปได้ เพราะคู่แข่งที่ให้บริการเช่นเดียวกันนี้ สามารถแทรกซึมลงไปในชื่อนี้ได้เนื่องจากไม่ได้เป็นชื่อเฉพาะเจาะจงว่ามาจากบริษัทอะไร เห็นได้ว่า แต่ละกลยุทธ์การตั้งชื่อนี้ มาพร้อมกับความท้าทายที่จะต้องรอเสียงตอบรับจากลูกค้าว่าจะออกมาบวกหรือลบ
4. อย่าลืมทำการบ้าน
ก่อนที่จะจัดสรรแรงงาน ค่าใช้จ่ายในการ Rebranding ควรทำการบ้านในทุกๆ ย่างก้าวเสียก่อน Marissa Meyer หรือ CEO จาก Yahoo มาพร้อมกับโลโก้ใหม่ของบริษัท โดยใช้พนักงานและเด็กฝึกงานจำนวนหนึ่งในการลงเสียงให้คะแนนเพื่อเลือกโลโก้ใหม่นี้ จากจำนวนโลโก้ทั้งหมดในรูปด้านล่าง ที่ Yahoo ทำการบ้านในส่วนนี้ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญต่อภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กร และเป็นการตรวจสอบว่าเหล่า audience จะรับกับ โลโก้ใหม่นี้ได้อย่างไม่มีปัญหา
5. ทำตามเสียงที่สะท้อนมา
การเก็บรายละเอียดจากบทสนทนาของเหล่า audience ที่มีต่อแบรนด์คุณเป็นสิ่งสำคัญต่อการลงตลาดใหม่ แบรนด์ควรจัดการในทุกๆ กิจกรรมของการ rebrand โดยเฉพาะผู้นำ หรือ leaders ควรจะเป็นผู้ควบคุมเหนือสุดในส่วนนี้ แล้วค่อยเสริมด้วยไอเดียจากเหล่าผู้ช่วย ซึ่งจะทำให้การ rebranding ขององค์กรนั้นง่ายขึ้น และไปในทิศทางเดียวกัน
6. ระวังในความล้มเหลวจากการรวมแบรนด์ใหม่
หลายบริษัทที่ทำการ rebranding มักเพิกเฉยต่อการ integrate ของทั้งองค์กร เพียงเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่จากฝ่ายการตลาดหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การ rebrand ไม่ควรมองในด้านเดียว แต่ควรมองถึงองค์รวมไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเงิน ฝ่าย HR ฯลฯ ล้วนมีความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนทั้งนั้น ควรแสดงให้เห็นถึงความพยายามปรับเปลี่ยนอย่าง 100% จากองค์กร
7. อย่าลืมรู้จักแบรนด์ตัวเอง
หากแบรนด์ของคุณมีจุดแข็งที่คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ให้คงไว้ซึ่งจุดแข็งนี้ และอย่าลืมนำจุดแข็งนี้ไปสู่ brand messaging ไปยังผู้บริโภคขณะที่ทำการ rebranding การไม่ต่อยอดและเมินเฉยต่อจุดแข็งของคุณเอง เป็นข้อผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการ rebranding ไม่ควรเลือกสิ่งที่แบรนด์ของคุณทำได้แค่ “พอประมาณ” มาเป็น message ใหม่
การ Rebranding ของบริษัทเป็นสิ่งที่ท้าทายในธุรกิจเป็นอย่างมาก แต่การเปลี่ยนแปลงเรื่องราวนี้ก็สามารถเพิ่มโอกาสอันยิ่งใหญ่ในธุรกิจของคุณได้หากมีความเชื่อมั่นในความพยายามของทั้งองค์กร และเรียนรู้ข้อผิดพลาดเพื่อหลีกเลี่ยงมัน
ที่มา : Thenextweb