ในช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ ใครหลายคนคงไปพักผ่อนต่างจังหวัดกับครอบครัว แต่สำหรับใครที่ไม่ได้ไปไหนนอนพักอยู่บ้านสบายๆ และมองหาหนังสือดีๆ อ่านไปจิบกาแฟยามบ่ายไปพลางๆ วันนี้เรามีหนังสือน่าสนใจมาแนะนำอีกเล่มจาก Guest Post ของเราคุณณครินทร์ เลิศนามวงศ์ (กาย) ที่จะมาแนะนำหนังสือ “Show Your Work 10 วิธีในการแชร์เรื่องราวของคุณให้ผู้คนสนใจ”
“Show Your Work” เป็นผลงานของ Austin Kleon ซึ่งเคยฝากผลงานชั้นเยี่ยมไว้แล้วกับ “Steal Like an Artist” ติดอันดับ New York Times Best Seller มาแล้ว และนี่คือผลงานนี่น่าจับตาอีกเล่มของเขา
หลายคนมีคำถาม “ทำยังไงจะมีคนอ่านเรื่องที่
- อย่าไปคิดว่าเราต้องเจ๋ง! เราถึงจะทำได้ – ไม่เกี่ยวว่าคุณเก่งแค่ไหน แต่มันเกี่ยวกับว่า คุณมีความสามารถในการ เรียบเรียงและวิเคราะห์แค่ไหน หากเรามองย้อนไปในอดีต อัจฉริยะแต่ละคน ล้วนนำความคิดของคนอื่นมาสนั
บสนุนกันและกัน หรือ เรียกได้ว่า นำความคิดของของคนอื่น มาเรียบเรียงและวิเคราะห์ (Contribute) ใหม่ แล้วกลายเป็นอีกแนวคิดที่ยอดเยี ่ยมขึ้น แต่ที่สำคัญคือ คุณต้องให้เครดิตกับองค์ความรู้ หรือแนวคิดที่คุณเอามาใช้ด้วย - เน้นเล่าไปที่ กระบวนการสร้าง แทน ตัวผลลัพธ์ – “Human being are interested in other human doing” งานหรือสิ่งที่เรากำลังทำ จะน่าสนใจขึ้นมากหากเราค่อยๆ แชร์เบื้องหลั
งการทำงานของเราออกไป บางอย่างเราคิดว่าธรรมดาสำหรั บเรา อาจเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรั บบางคน เช่น ร่างการออกแบบ, demo, notes, research, etc - แชร์สิ่งเล็กๆ อย่างต่อเนื่อง ทุกวัน – การแชร์อย่างต่อเนื่องทุกวั
นจะเกิด Flow หรือ Feed และเกิด Feedback จากคนที่เราข้อมูลจากเรา และเมื่อเราทำไปเรื่อยๆ จะเห็นแนวทาง ในการสร้างสิ่งที่ใหญ่ขึ้น ชัดเจนขึ้น เป็นตัวเรามากขึ้น เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “So what test”
แต่ Social Network ที่เราใช้ทำ Feed อยู่ปัจจุบัน เช่น Facebook, Twitter มันมาเร็วไปเร็ว เพราะฉะนั้นแนะนำให้จด Domain Name หลักของเราไว้เช่น www.< yourname >.com เพื่อที่คนอื่นจะยังหาเราได้ตลอดเวลา และที่สำคัญคือ การมี Website ของตัวเราเอง ไม่ควรคิดว่าเป็น เครื่องมือโปรโมทตัวเอง แต่ให้คิดว่าเป็น เครื่องมือค้นหาตัวเอง - เปิดเผย คลังความอยากรู้อยากเห็นของคุณ – การแชร์ให้คนอื่นรับรู้ว่า คุณกำลังศึกษาอะไรอยู่ อ่านอะไร ชอบทำกิจกรรมอะไร ฟังเพลงแบบไหน เป็นการสะท้อนถึงรสนิยมของคุณ
- สร้างลำดับการเล่าเรื่องให้น่
าสนใจ – สิ่งของ เมื่ออยู่เพียงลำพังมันจะไม่ได้ มีความหมายอะไรเลย จนกว่าเราจะเล่าเรื่องราวให้มั นเท่านั้น “Human being want to know where things came from, how they were made and who made them.” นอกจากนั้น คุณควรจะฝึกแนะนำตัวเองให้น่ าสนใจที่สุดภายใน 2-3 ประโยค เพื่อใช้เวลาคุณไปร่วมงานกิ จกรรมต่างๆ - สอนสิ่งที่คุณได้เรียนรู้มา – การสอนสิ่งเราเรียนรู้มา ไม่ได้เป็นการลดความได้เปรี
ยบทางการแข่งขันของเรา เพราะองค์ความรู้เดียวกัน ไม่ได้หมายความว่าแต่ ละคนจะทำออกมาได้เหมือนกัน แต่การแชร์ความรู้ กลับเป็นสิ่งที่จะดึงดูดคนที่มี ความสนใจในเรื่องเดียวกันเข้ ามารวมกันมากกว่า - รักษาความเป็นมนุษย์ อย่าเป็น Human Spam – เลิกสนใจตัวเลข ให้สนใจคุณภาพของคนที่ติ
ดตามเรามากกว่า หากเราอยากให้คนอื่นติดตามเรา เราก็ต้องรูจักที่จะเปิดใจ และติดตามในกลุ่มที่เราสนใจ รักษากลุ่มผู้ติดตามในลักษณะที่ ผู้คนทั่วไปคุยกัน มีนัดพบปะกันบ้างเพื่อสร้ างความใกล้ชิด - เรียนรู้ที่จะต่อสู้ และรับมือ – ในโลกออนไลน์ ย่อมจะเจอทั้งคนที่ ชอบ และ ไม่ชอบเรา หากเจอคนที่นิสัยไม่ดีก็ยึดหลั
กว่า “หากมีคนมาเกเรในห้องนั่งเล่ นของบ้านเรา เราก็ไม่จำเป็นต้องให้เค้าอยู่” อาจจะ Block คนนั้นทิ้งไป หรือ ลบ Comment ที่ไม่ดีนั้นไปซะ - หาวิธีสร้างรายได้ – “We don’t make movies to make money, we make money to make more movies.” อย่าขายสิ่งที่เรารักเพื่อเงิน แต่หาวิธีสร้างรายได้จากงานที่
เพิ่ม หรือ อย่างอื่นที่ไม่กระทบกับผู้ติ ดตามของเรา - ห้ามหยุดทำ – สิ่งที่เราทำไปสุดท้ายย่อมจะมี
ช่วงเวลาของมัน เพราะฉะนั้นเราควรทำอย่างต่อเนื ่อง เพื่อสร้างคลื่นลูกใหม่ มาแทนคลื่นลูกเก่าได้อยู่ ตลอดเวลา
editorial note: บทความนี้คือบทความพิเศษ (ที่เราเรียกว่า Guest Post) จาก ณครินทร์ เลิศนามวงศ์ (กาย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินโนเวชั่น พลัส เจ้าของ MAYAR – AR Browser และ SmartSign – ระบบ Android-Based Digital Signage มีประสบการณ์ในธุรกิจ Startup โดยตรงและงานอดิเรกที่ชื่นชอบก็คือ การได้อ่านหนังสือดีๆ และมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง บทความนี้ผู้เขียนส่งมาให้ กองบรรณาธิการ thumbsup อัพโหลดขึ้นให้ชาว thumbsup โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้เขียนเขียน ไม่สะท้อนแนวคิดของกองบรรณาธิการ thumbsup เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียน
บทความนี้ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เขียน ซึ่งมี thumbsup เป็นผู้เผยแพร่เดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ หากต้องการนำบทความไปใช้กรุณาให้เกียรติด้วยการอ้างอิงชื่อผู้เขียนและลิงก์ กลับมายังบทความต้นฉบับ