TED Conference เป็นงานใหญ่ที่ถูกจัดขึ้นปีละครั้ง 4 วัน รวบรวมสุดยอดนักพูด 50 คน โดยแต่ละคนมีเวลานำเสนอแค่ 18 นาที โดยนักพูดเหล่านั้นล้วนเป็นบุคคลชั้นนำในด้านต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ Idea หรือ แรงบนดาลใจในสาขาที่ชำนาญ แบ่งเป็น 3 ด้านหลัก คือ Technology, Education และ Design ซึ่งเนื้อหาและ Idea แต่ละอย่างที่นำเสนอนั้นล้วน น่าทึ่ง และประทับใจมาก ข้อมูลเพิ่มเติมลองไปดูที่ www.ted.com
สำหรับวันนี้เราไม่ได้พูดถึงงาน TED โดยตรง แต่จะมาแนะนำหนังสือที่ชื่อว่า Talk Like TED หนังสือที่กองบรรณาธิการเห็นว่าเป็นหนังสือดีมากๆ อีกหนึ่งเล่ม และโชคดีที่วันนี้เรามี Guest Post คุณณครินทร์ เลิศนามวงศ์ (กาย) จะมาช่วยสรุปเนื้อหาใจความสำคัญให้กับ thumbsuper ได้อ่านกัน
Carmine Gallo นักเขียนซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้าน Communication เจ้าของผลงาน “The Presentation Secret of Steve Jobs” และอีกหลายผลงาน ได้ทำการศึกษารวบรวมเทคนิคในการนำเสนอ อ้างอิงกับผลการวิจัยทางสมอง เกี่ยวกับสิ่งกระตุ้นทางสมองและอารมณ์ ที่จะทำให้การนำเสนอของเราออกมาได้อย่างดีเยี่ยม อย่างที่นักพูดใน TED นำเสนอกัน และเรื่องราวเหล่านี้ถูกรวบรวมไว้ใน Talk Like TED เล่มนี้นั่นเอง
Talk like TED แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ในแต่ละส่วนมี 3 เทคนิค รวมเป็น 9 เทคนิคพอดี
ส่วนที่ 1: การเข้าถึงอารมณ์ (Emotional)
- สื่อสารความยอดเยี่ยมออกมาจากใจ (Unleash the Master Within)
- เล่าเรื่องให้เก่ง (Master the Art of Storytelling)
- นำเสนอให้เหมือนการพูดคุย (Have a Conversation)
ส่วนที่ 2: เป็นสิ่งใหม่ (Novel)
- สอนสิ่งใหม่ให้กับผู้ฟัง (Teach Me Something New)
- สร้างช่วงเวลาฝังเขี้ยว (Deliver Jaw-Dropping Moments)
- ทำให้มีชีวิตชีวา (Lighten up)
ส่วนที่ 3: น่าจดจำ (Memorable)
- จำกัดเวลาที่ 18 นาที (Stick to the 18-Minutes Rule)
- สร้างความทรงจำในใจ โดยการใช้ประสบการณ์ที่หลากหลาย (Paint a Mental Picture with Multi sensory Experiences)
- เป็นตัวของตัวเอง (Stay in your Lane)
มาดูในรายละเอียดกันครับ
1. สื่อสารความยอดเยี่ยมออกมาจากใจ (Unleash the Master Within)
“PASSION is the thing that will help you create the highest expression of your talent”, Larry Smith
เราอาจจะเรียนรู้เทคนิคในการนำเสนอที่สุดยอด มี Presentation ที่สวยงาม แต่ เราจะไม่มีทางสร้างแรงบรรดาลใจให้คนอื่นได้เลย หากคุณปราศจาก “Passion” ซึ่งเป็นปัจัยที่สำคัญที่สุดในการนำเสนอ Tony Hsieh ผู้ก่อตั้ง Zappos ผู้นำด้านการขายรองเท้าออนไลน์ บอกว่า Passion ของเค้าไม่ใช่ “การขายรองเท้า” แต่ Passion ของเค้าคือ “การส่งต่อความสุข” ต่างหาก Howard Schultz ผู้ก่อตั้ง Starbuck ก็ไม่ได้มี Passion อะไรเกี่ยวกับการขายกาแฟ แต่ Passion ของเค้าคือ “การสร้าง 3rd place ระหว่างบ้านกับที่ทำงาน” กาแฟเป็นแค่สินค้าตัวนึง แต่ Customer Service ต่างหากที่เป็น ธุรกิจ ของ Starbuck Passion คือ สิ่งที่มีความหมาย เป็นรากฐานของความเป็นตัวตนเรา Passion ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่งที่เราชอบ ไม่ใช่งานอดิเรก ไม่ใช่งานที่เราทำในแต่ละวัน ไม่ใช่สินค้าบางตัว มันเป็นอะไรที่มีความหมายมากกว่านั้น คำถามต่อมาก็คือ “แล้ว Passion เราคืออะไร” ให้ถามตัวเองว่า “อะไรที่ทำให้ใจเรามีความสุข (What makes your heart sing?)” และเมื่อคุณหา Passion ที่แท้จริงของคุณเจอ คุณก็จะสามารถนำเสนอเรื่องนั้นได้อย่างยอดเยี่ยม และสามารถส่งต่อแรงบันดาลใจไปสู่ผู้ฟังได้
Passion มีพลังอย่างมากต่อบุคคล หลายคนไม่ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน ก็เพราะไม่มี Passion ต่องานที่ทำ บางคนค้นพบ Passion แต่กลัวที่จะทำตาม Passion นั้น Steve Jobs เคยกล่าวสุนทรพจน์ในงานปัจฉิมนิเทศของมหาวิทยาลัย Stanford ไว้ว่า “Your work is going to fill a large part of your life, and the only way to be truly satified to do what you believed is great work. And the only way to do great work is to love what you do.”
แล้วคุณค้นพบ Passion ของคุณหรือยังครับ?
2. เล่าเรื่องให้เก่ง (Master the Art of Storytelling)
“Stories are just data with a soul”, Brene Brown
การเล่าเรื่องที่ดี เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเชื่อมโยงอารมณ์ระหว่างเรากับผู้ฟัง เราสามารถเริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่อง เพื่อยกตัวอย่าง (Sample Case) หรือ เหตุการณ์เปรียบเทียบ (Metaphor) ก่อนเข้าสู่เนื้อหา และข้อมูล ที่อาจจะยากต่อการเข้าใจในเวลาอันสั้น อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณ ได้ให้หลักการในการสื่อสารไว้ว่า เราสามารถแบ่งการสื่อสารออกเป็น 3 ส่วน คือ
- Ethos คือ ความน่าเชื่อถือของบุคคลที่สื่อสาร
- Logos คือ พวกข้อเท็จจริง ข้อมูล สถิติ ต่างๆ
- Pathos คือ ทักษะการสื่อสารที่เข้าถึงอารมณ์
มีตัวอย่างของนักพูดท่านนึงซึ่งนำเสนอได้น่าประทับใจมาก อ้างอิงตามทฤษฎีของอริสโตเติล เค้าใช้เวลา 65% (Pathos) ในการเล่าเรื่อง อีก 25% (Logos)ในการแสดงข้อมูล และที่เหลืออีก 10% (Ethos) คือ ความน่าเชื่อถือของตัวเค้าเอง แสดงให้เห็นว่า การใช้ทักษะการนำเสนอที่เข้าถึงอารมณ์ โดยการใช้การเล่าเรื่องมาช่วย สามารถสร้างความประทับใจได้มากกว่า การใช้เฉพาะเพียงข้อมูลในการนำเสนอ หากยังนึกไม่ออกว่าจะเอาอะไรมาเล่าเป็นเรื่อง เราสามารถใช้รูปแบบ 3 รูปแบบนี้เป็นแนวทางได้ครับ
- Personal Story คือ เรื่องของเรา ครอบครัว หรือ เพื่อน ที่สามารถื่อมโยงกับเนื้อหาได้
- Other People Story คือ เรื่องราวของคนอื่น ที่อาจะอยู่ในสถานการณ์ที่เราสามารถนำมายกตัวอย่างได้
- Product or Brand Story คือ เรื่องราวตัวอย่างทางธุรกิจหรือสินค้าแบรนด์ต่างๆ
3. นำเสนอให้เหมือนการพูดคุย (Have a Conversation)
“Don’t fake it until you make it. Fake it till you become it.”, Amy Cuddy
ฝึกฝน ฝึกฝน และ ฝึกฝน การนำเสนอของคุณ จนมันกลายเป็นเหมือนการพูดคุยกับเพื่อน มากกว่าการนำเสนอ
3 Ps สำหรับการพัฒนาทักษะการนำเสนอ คือ Passion, Practice, Presence
4 ส่วนประกอบสำคัญของการพูด
- Rate : ความเร็วในการพูด
- Volume : ระดับเสียง
- Pitch : น้ำหนักเสียง
- Pauses : การหยุดเพื่อเน้นความสำคัญระหว่างพูด
การนำเสนอที่ดี จะต้องรู้จัดใช้ภาษากาย (Body Language) ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ มี 3 เรื่องที่ต้อง ไม่ทำ คือ
- กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ขยับไปขยับมา
- ยืนนิ่งอยู่กับที่
- เอามือล้วงกระเป๋า
4. สอนสิ่งใหม่ให้กับผู้ฟัง (Teach Me Something New)
ให้ความรู้ใหม่ที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน สามารถเรียกความสนใจจากผู้ฟังได้เป็นอย่างดี จากการวิจัยพบว่า เมื่อเรา ฟังเพลง ดื่มเหล้า หรือ ทำกิจกรรมที่เรามีความสุข จะมีสารที่ฮอร์โมนที่หลังออกมาเรียกว่า Dopamine และร่างกายเราก็จะพยายามเรียกหากิจกรรมเหล่านั้น เพื่อให้มีความสุข ตามการกระตุ้นของฮอร์โมน การได้เรียนรับรู้สิ่งใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ก็เป็นการกระตุ้น Dopamine เช่นกัน เรื่องที่เรานำเสนอ อาจจะไม่จำเป็นต้องใหม่หมดจด แต่อาจจะเป็น แนวทางใหม่ที่ดีกว่าเดิม หรือ เป็นการนำเสนอในรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจขึ้นก็ได้ นอกจากนั้นยังพบว่า การนำเสนอข้อมูลใหม่ ในสาขาที่แตกต่างจากเรา จะทำให้เราดูมีความน่าสนใจขึ้นอีก เราควรตั้งหัวข้อเรื่องที่เราจะนำเสนอ จำกัดไม่เกิน 140 ตัวอักษร แล้วค่อยลงในรายละเอียด จากการศึกษาพบว่า ผู้ฟังส่วนใหญ่จะเข้าใจง่ายขึ้นจากการเห็นภาพใหญ่ก่อนลงในรายละเอียด
5. สร้างช่วงเวลาฝังเขี้ยว (Deliver Jaw-Dropping Moments)
สร้างช่วงเวลา ประหลาดใจ ประทับใจ หรือ ตกใจ ไว้ในช่วงการนำเสนอ เพราะคนจะจดจำสิ่งนั้นได้ดีขึ้น และให้ความสนใจกับการนำเสนอเรามากขึ้น มีคำศัพท์ทางประสาทวิทยา คำว่า “Emotionally Charged Event หรือ Emotionally Competent Stimulus (ECS)” คือกระบวนการที่สร้างการจดจำไว้ในสมองได้มั่นคงที่สุด ซึ่งการจะทำให้ ECS ขึ้นได้ เราต้องสร้างเหตุการณ์ที่ไม่ปกติขึ้น ให้ผู้ฟัง ตกใจ ประหลาดใจ หรือ ประทับใจ ตัวอย่างที่ยกมาก็คือ ตอนที่ Bill Gate กำลังพูดถึงองค์กรการกุศลที่เค้าสร้างขึ้นมา และกำลังพูดถึงปัญหาของไข้มาเลเรีย ที่มีพาหะมาจาก ยุง ซึ่งเค้านำมาด้วยและเก็บอยู่ในโหลแก้วที่วางอยู่บนโต๊ะด้านหน้า ทันใดนั้นเค้าก็หยิบโหลแก้วมาเปิดออก ยุงหลายตัวบินออกมาจากโหลแก้วแล้วบินตรงไปหาผู้ฟังหลายคน ทุกคนต่างตกใจกันหมด สุดท้ายเค้าเฉลยว่ายุงเหล่านั้นปลอดจากไข้มาเลเรีย
6. ทำให้มีชีวิตชีวา (Lighten up)
อย่าทำให้การนำเสนอของเราดูซีเรียส ใส่อารมณ์ขันเข้าไป ทำให้การนำเสนอดูเพลิดเพลิน ผู้ฟังชอบที่จะฟัง ยิ้มและหัวเราะไปกับเรามากกว่า
5 วิธีในการเพิ่มการนำเสนอของเราให้สนุก (Humor) ขึ้น
- เพิ่มเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยขำๆ เป็นเรื่องราว จากที่เราเจอเอง หรือ เคยได้ฟังมา
- อธิบายเชิงเปรียบเทียบ (Analogies and Metaphor) การเปรียบเทียบสิ่งที่เรากำลังนำเสนอ กับ สิ่งอื่นที่แตกต่างกัน แต่เข้าใจง่ายขึ้น
- Quotes การอ้างอิงคำพูดเจ๋งๆ ของคนอื่นมาใช้ร่วมในการนำเสนอ
- ใช้วิดีโอขำๆ ร่วมในการนำเสนอ
- ใช้รูปภาพขำๆ ร่วมในการนำเสนอ
7. จำกัดเวลาที่ 18 นาที (Stick to the 18-Minutes Rule)
“Our life is fritted away by detail. Simplify, Simplify.”, Henry David Thoreau
18 นาที เป็นเวลาที่ดีที่สุดต่อการนำเสนอ หากจำเป็นต้องใช้เวลามากกว่านั้น ให้แบ่งเป็นช่วง ช่วงละประมาณ 10 นาที จากการวิจัยได้พบสิ่งที่เรียกว่า “Cognitive Backlog” การให้ข้อมูลที่มากจนเกินไป จะเป็นการปิดกั้นการรับรู้สิ่งที่เราพยายามจะนำเสนอ
มีหลักการพื้นฐานที่ได้ทดสอบจนเป็นที่ยอมรับแล้วว่า “เราสามารถจดจำข้อมูลได้ดีที่สุดเพียง 3 เรื่องเท่านั้น” เรียกว่า “The Rule of Three” จะเห็นได้ว่าหนังสือเล่มนี้ ก็ใช้หลักการ The rule of three ในการจัดเนื้อหา แบ่งออกเป็น 3 หมวด แยกเป็นข้อย่อยอีก หมวดละ 3 ข้อ เพื่อให้เราจำง่ายขึ้น นอกจากนั้น ระบบโทรศัพท์ ยังตั้งใจแบ่งเบอร์โทรศัพท์เป็น 2 ส่วน แต่ส่วนมี 3 และ 4 (อนุโลมให้ 4) หลัก เพื่อให้คนจดจำได้
หลักการ The Rule of Three นี้ควรนำมาใช้กับการออกแบบข้อมูลในการนำเสนอ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน
- กำหนดชื่อเรื่องในการนำเสนอ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร
- กำหนดหัวข้อหลัก 3 ข้อ
- เพิ่ม เรื่องราว ข้อมูล สถิติ และ ตัวอย่าง ให้กับหัวข้อหลัก
8. สร้างความทรงจำในใจ โดยการใช้ประสบการณ์ที่หลากหลาย (Paint a Mental Picture with Multi sensory Experiences)
“It is better to present an explanation in words and pictures than solely in words.” Dr. Richard Mayer
นำเสนอด้วยการสร้างการรับรู้ให้ผู้ฟัง ผ่าน เสียง การมองเห็น การสัมผัส รวมถึง กลิ่น ถ้าเป็นไปได้ เลิกใช้ Traditional Powerpoint Style ที่เป็น หัวข้อ และ Text Bullet แล้วมาใช้ ภาพในการสื่อข้อมูลแทนตัวอักษร เพราะผู้ฟังจะเข้าใจ และจดจำจากภาพได้มากกว่าข้อความ Presentation ที่ดีไม่ควรมีตัวอักษรเกิน 40 คำ ใน 10 slide แรก เทคนิค One theme per slide ใช้ภาพที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเป็นพื้นหลังให้กับข้อมูลสำคัญ หรือข้อมูลเขิงสถิติ เพื่อให้ผู้ฟังจดจำข้อมูลได้ดีขึ้นจากการ Recall ที่สัมพันธ์กับภาพพื้นหลัง
พยายามนำเสนอให้ผู้ฟัง “รู้สึก” ไปกับเรา ทุกครั้งที่เปลี่ยน Slide ให้หยุดชั่วครู่ เพื่อให้ผู้ฟังเน้นความสนใจไปยัง Slide แล้วก้าวเข้ามาใกล้ผู้ฟัง เพื่อเริ่มนำเสนอ มีการสาธิตการทำงานโดยพยายามให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมด้วย ถามผู้ฟังเป็นระยะ
9. เป็นตัวของตัวเอง (Stay in your Lane)
จงเป็นตัวของตัวเอง ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา คุณจะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ฟัง หากคุณไม่ใช่ตัวของคุณเอง ผู้ฟังจะดูออกว่าคุณกำลังทำการแสดง จำไว้เสมอว่า เป้าหมายของการนำเสนอ “ไม่ใช่การโชว์ Presentation” แต่เป็นการ “สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ฟัง” ให้ผู้ฟังเชื่อ ประทับใจ คล้อยตาม และ นำพาไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ แต่คุณจะไม่สามารถทำได้ ถ้าผู้ฟังไม่เชื่อว่าคุณเป็น “ของจริง” Sir Richard Brandson เจ้าของอนาจักร Virgin ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ในช่วงแรกของการทำธุรกิจ เค้ารู้สึกกลัวทุกครั้งเมื่อจะต้องขอให้พูดต่อหน้าคนจำนวนมาก เค้าแทบจะทำอะไรไม่ถูกเลยเมื่ออยู่ต่อหน้าไมค์โครโฟน แต่สุดท้ายเค้าก็ฝึกฝน จนกลายเป็นนักพูดที่ดีขึ้น เค้ากล่าวไว้อีกว่า “การเป็นนักพูดที่ดี ไม่ได้เป็นเพราะโชค หรือ พรสวรรค์ แต่พวกเค้าต้องทำงานหนัก เรียนรู้ที่จะเป็นตัวของตัวเอง เชื่อในส่ิงที่เค้ากำลังพูด หากคุณพิสูจน์ได้ว่าคุณมี Passion ในเรื่องที่จะพูดจริงๆ ผู้ฟังก็ยินดีที่จะมองข้ามความผิดพลาดอย่างอื่นไป เพราะฉะนั้น ขอให้พูดออกมาจากใจ นั้นคือเคล็ดลับ”
ว้าว ผมชอบหนังสือเล่มนี้มาก นอกจากหัวข้อหลักที่ผมสรุปมาแล้ว ยังมีหลายละเอียดอีกมากมาย รวมถึงเคสอีกจำนวนนับไม่ถ้วน อัดแน่นอยู่ในหนังสือเล่มนี้ หากเพื่อนๆ คนไหนสนใจศึกษาเพิ่มเติม ก็หาซื้อมาไว้อ่านได้เลยครับ ผมแนะนำเลย สุดยอดมาก
editorial note: บทความนี้คือบทความพิเศษ (ที่เราเรียกว่า Guest Post) จาก ณครินทร์ เลิศนามวงศ์ (กาย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินโนเวชั่น พลัส เจ้าของ MAYAR – AR Browser และ SmartSign – ระบบ Android-Based Digital Signage มีประสบการณ์ในธุรกิจ Startup โดยตรงและงานอดิเรกที่ชื่นชอบก็คือ การได้อ่านหนังสือดีๆ และมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง บทความนี้ผู้เขียนส่งมาให้ กองบรรณาธิการ thumbsup อัพโหลดขึ้นให้ชาว thumbsup โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้เขียนเขียน ไม่สะท้อนแนวคิดของกองบรรณาธิการ thumbsup เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียน
บทความนี้ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เขียน ซึ่งมี thumbsup เป็นผู้เผยแพร่เดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ หากต้องการนำบทความไปใช้กรุณาให้เกียรติด้วยการอ้างอิงชื่อผู้เขียนและลิงก์ กลับมายังบทความต้นฉบับ