Site icon Thumbsup

เปลี่ยนองค์กรให้เป็นดิจิทัลอย่างแท้จริง

ทางผู้บริหารของ Redhat ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับดิจิทัลและเทคโนโลยีได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียวนะคะ สำหรับองค์กรที่กำลังวางแผนปรับตัวเข้าสู่เครื่องมือดิจิทัลลองอ่านเรื่องนี้กันดูค่ะเดิร์ก ปีเตอร์ แวน ลูเวน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  RedHat ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า นิยามของคำว่า “ดิจิทัล” ส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยี แต่การที่องค์กรจะมีความเป็นดิจิทัลได้นั้นไม่ได้หมายถึงแค่การนำเทคโนโลยีมาใช้เท่านั้น ความคิดแบบเก่าที่ฝังใจอยู่ในหลายๆ องค์กร เป็นสิ่งกีดขวางในการเปลี่ยนเป็นองค์กรแบบดิจิทัล แม้จะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือระบบที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีแล้วก็ตาม อาจไม่ได้ประโยชน์เลยกับความเชื่อแบบเดิมๆ

จิม ไวท์เฮิร์ส ซีอีโอของเร้ดแฮด ให้ความเห็นถึงภาพรวมของบริษัททั่วไปที่ใช้แผนโมเดลธุรกิจแบบ Top Down หรือการทำงานแบบรับคำสั่งจากเบื้องบนมาปฏิบัติ ซึ่งเป็นการทำงานของคนเฉพาะกลุ่ม ที่พยายามคาดการณ์ปัญหาและความต้องการทางธุรกิจ ตลอดจนกำหนดขั้นตอนเพื่อให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม แม้โมเดลธุรกิจแบบ Top Down จะเหมาะกับสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างนิ่ง แต่แบบแผนดังกล่าวมีความล่าช้าในการปรับเปลี่ยน ซึ่งทำให้องค์กรไม่สามารถก้าวตามการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ ส่งผลให้แผนงานบางอย่างกลับดูล้าสมัย ก่อนที่จะมีการกำหนดออกมาอย่างเป็นรูปธรรม

องค์กรบางแห่งแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายดิจิทัล (CDO) เพื่อบริหารจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง CDO จะมีหน้าที่ช่วยเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ด้วยการกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์กรโดยทั่วไป นายจิม ไวท์เฮิร์ส เชื่อว่าหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนานวัตกรรมไม่ควรที่จะตกอยู่ที่ CDO แต่เพียงผู้เดียว ทุกคนในบริษัทต่างมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ และมีโอกาสเสนอความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ สิ่งที่องค์กรสามารถทำได้ คือหาแนวทางที่จะทำให้พนักงานเข้ามามีส่วนสนับสนุนและมีส่วนร่วมกับบริษัทไปด้วยกันได้ 

สร้างความผูกพันและแรงบันดาลใจให้แก่พนักงาน

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นหนทางที่ยาวไกล องค์กรต่างๆ สามารถนำเสนอจุดประสงค์และวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้กับทีมงาน ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้องค์กรสามารถก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงอันยากลำบากที่เกิดขึ้นไปได้ในที่สุด การที่พนักงานจะมองเห็นความสำคัญในภารกิจขององค์กร และมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสนับสนุน เพื่อผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ได้นั้น

บริษัทจำเป็นต้องมอบบทบาทหน้าที่ให้แก่บุคลากรของตนให้เหมาะสม จากผลสำรวจของเร้ดแฮทในปี 2560 ภายใต้หัวข้อ ‘วัฒนธรรมแบบโอเพ่นซอร์ส’ พบว่า 74% ของผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจและผู้เชี่ยวชาญต่างๆ อ้างว่าความโปร่งใสในการทำงาน มีความสำคัญยิ่งยวดต่อทีมงานและการสร้างความพยายามในการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างอิสระ

เมื่อพนักงานมีแรงบันดาลใจและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กร สิ่งสำคัญคือการจัดหาช่องทางให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนไอเดียได้อย่างอิสระ โดยที่เสียงของพวกเขาได้รับการตอบรับ ช่องทางการสื่อสารในรูปแบบนี้ ทำให้บริษัทได้รับไอเดียแปลกใหม่ มีพลังผลักดันเชิงสติปัญญาที่สามารถแก้ปัญหาได้ง่ายกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามความรับผิดชอบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในองค์กร ยิ่งไปกว่านั้น ความคิดเห็นจากพนักงานในบทบาทที่ต่างกัน จะช่วยให้องค์กรสามารถมองเห็นภาพรวมได้รอบด้าน และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้

ปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมและเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ปฏิบัติตามมติของส่วนรวม

นอกเหนือไปจากกระบวนการทางความคิด กระบวนการทางการตัดสินใจก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจสุดท้าย แต่บริษัทจะต้องพิจารณาความเห็นของพนักงานในทุกแง่มุมก่อนที่จะทำการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง องค์กรจำเป็นที่จะต้องอธิบายถึงเหตุผลที่อยู่ภายใต้การตัดสินใจนั้น เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายขององค์กร

สนับสนุนการสร้างงานต้นแบบในเวลาอันสั้น

ความต้องการของผู้บริโภคและความผันผวนของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สามารถเป็นแรงผลักดันให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนและพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว เช่นกันการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น บริษัทจะต้องสนับสนุนให้พนักงานทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ พร้อมทั้งรายงานความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโปรเจกต์ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายอย่างเปิดเผย รวมไปถึงแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงทิศทางของแผนงานนั้นๆ ให้เป็นไปตามความเหมาะสมในกรณีที่เกิดความผิดพลาด

ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นไปไม่ได้ที่ใครคนใดคนหนึ่งจะมีองค์ความรู้มากเพียงพอที่จะทำการตัดสินใจให้ทั้งองค์กร ผู้นำทุกคนจำเป็นที่จะต้องคิดหาเหตุผลในการสร้างแรงกระตุ้นให้บุคลากรของตน มีกำลังใจที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งจัดเตรียมช่องทางให้พนักงานสามารถทดลองสิ่งใหม่ๆ ได้อยู่เสมอ และในขณะเดียวกัน ก็สามารถกลับมาตั้งหลักได้อย่างรวดเร็ว หากเกิดความผิดพลาด การมีส่วนร่วมของบุคลากรคือพลังสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มภาคภูมิ, go to a pdf creator online to edit your documents.