ใครบอกว่าคนต่างจังหวัดใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์กันน้อย หรืออินเทอร์เน็ตยังเข้าไม่ถึงคนกลุ่มนี้ ณัฐวีร์ ณีว มาวิจักขณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนา บริษัท กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด ได้เผยผลงานวิจัยภาพรวมพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย ภายในงานสัมมนาดิจิตอล GroupM Focal ประจำปี 2017 โดยเป็นการเก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อค้นหาพฤติกรรมของ New Internet User กับ New Born Internet User ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
การเก็บผลสำรวจนั้น จะเจาะลึกถึงการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และอะไรเป็นปัจจัยให้คนเหล่านี้ต้องใช้งานโซเชียลมีเดีย ทั้ง 4 ภาค 20 จังหวัด และกลุ่มคนกว่า 200 คน
โดยคนกลุ่มนี้เป็นคนที่ไม่เคยใช้งานคอมพิวเตอร์มาก่อน เริ่มต้นใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ จากสังคมที่บังคับให้ต้องใช้งานเพื่อสื่อสาร เข้าถึงคอมมูนิตี้ ทดแทนช่องทางการสื่อสารแบบเดิม รวมทั้งเริ่มต้นใช้งาน payment เพื่อลดปัญหาการถูกยักยอกเงินสด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ ต้องบังคับให้ตนเอง get use to internet ไปเรื่อยๆ จนเกิด New Passion และอยากใช้งานเครื่องมือเหล่านี้ไปเรื่อยๆ เพื่อตอบโจทย์ชีวิตให้ง่ายขึ้น รวมทั้ง blend ตัวเองเข้าสู่ช่องทางต่างๆ เพื่อหารายได้เสริมนอกจากช่องทางเดิมๆ
หากดูจากภาพจะฉายให้เห็น Application ยอดนิยม ที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้งานกัน เช่น ถ้าใช้จ่ายจะนิยม Kbank, กรุงไทย, scb อ่านข่าวผ่าน Facebook, Instagram ช้อปปิ้งผ่าน Facebook และ Lazada เป็นต้น ซึ่งการใช้โซเชียลมีเดียตลอดเวลาเหล่านี้ทำให้พวกเขาละเลยการมีส่วนร่วมทางสังคมและใช้เวลากับตัวเองมากขึ้น ทำให้ Value ของเทศกาลสำคัญๆ กลายเป็น all about we have มากกว่า
แม้ว่าการดูคอนเทนต์ผ่าน line tv หรือ youtube จะเข้ามาช่วยแก้ pain point การชมละครอย่างต่อเนื่องได้ แต่ seek for stability ไม่ได้ เพราะจะเป็นการรับชมเพื่อสนองความต้องการเป็นครั้งคราว แต่ไม่ใช่ดูต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อให้มีเวลาไปใช้ชีวิตในด้านอื่น
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ แม้ว่าคนจะไม่ค่อยเสพคอนเทนต์ผ่านสื่อหลัก แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคาดหวังว่าหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่จะให้ข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยสำนักข่าวที่พวกเขาเลือกที่จะเชื่อถือ ต้องมาจากไทยรัฐ เดลินิวส์และข่าวสด เพราะมีความน่าเชื่อถือกว่าเว็บไซต์ทั่วไป ดังนั้น สื่อหลักควรให้ความใส่ใจในแพลตฟอร์มออนไลน์ของตนเองให้มากขึ้น เพื่อให้คนในวงกว้างเข้าถึงและคุ้นเคยกับสำนักข่าวของตนเองมากขึ้น ส่วนคนท้องถิ่นก็จะเลือกเสพคอนเทนต์ในพื้นที่ของตนเองก่อนเพื่อให้ทราบว่าในขณะนั้น มีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง
เหตุผลเดียวที่คนยังซื้อหนังสือพิมพ์แบบเล่มอยู่ คือ เพื่อตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ออกเดือนละ 2 ครั้ง เพราะเชื่อว่าตัวเลขที่ตีพิมพ์บนกระดาษยังให้ความน่าเชื่อถืออยู่
ทางด้านของการค้นหาเพื่อซื้อสินค้า ไม่ได้เริ่มต้นจาก google เสมอไป แต่จะค้นหาบน Instagram และ facebook ก่อน โดยเลือกค้นหาจากร้านค้าที่อยู่ใกล้ในจุดที่ตนเองอยู่เพื่อให้ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว หรืออย่างการเติมเงินในโทรศัพท์ ใครจะคาดคิดว่าชาวเขาจะเติมเงินเพื่อใช้บริการแอพบนมือถือสูงถึง 200 บาท/ครั้ง ไม่ใช่ครั้งละ 10-20 บาทอย่างที่คาดคิด
หลังจากได้ข้อมูลที่ตนเองต้องการ คนกลุ่มนี้จะเลือกโปรโมชั่นที่ดีที่สุดก่อน หากแบรนด์สามารถนำเสนอสิ่งที่เหมาะสมเฉพาะกลุ่มได้ คนจะตัดสินใจจ่ายทันที เพราะพวกเขาจะรอเปรียบเทียบโปรโมชั่นกับค่ายอื่นๆ จนรู้สึกว่าคุ้มค่าที่สุดก่อนจ่ายเงินในนาทีสุดท้าย ดังนั้น แบรนด์ต้องสร้างความมั่นใจและคุ้มค่าทำให้พวกเขา “ยอม” ที่จะจ่ายเงินในทันที
สุดท้าย สิ่งที่นักการตลาดควรจะจดจำคือคีย์หลัก 3 ข้อนี้ คือ 1. อย่าไปโฟกัสแค่เรื่องของเพศ การศึกษาและอายุ แต่ต้องวางแผนจากความสนใจที่ต่างกัน เพราะคนที่มีอายุ เพศและการศึกษาเหมือนกัน ไม่ได้หมายความว่ารสนิยมจะเป็นแบบเดียวกัน 2.นำประสบการณ์ที่น่าประทับใจมาออกแบบสิ่งที่ลูกค้าต้องการดีกว่าไป interrupt พวกเขาให้เข้าถึงสิ่งใหม่ๆ และ 3. วางแผนเรื่องช่องทางการจ่ายเงินให้ดี ต้องทำให้ได้มากกว่าแค่รูดบัตรเครดิตแต่ต้องมีช่องทางการจัดส่งที่ครอบคลุมและรวดเร็วไม่แพ้กัน เพราะถ้าส่งสินค้าได้เร็วจะกระตุ้นให้ตัดสินใจจ่ายเงินไวขึ้นด้วย