Site icon Thumbsup

โอกาสในการซื้อขายจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แนวคิดท่ีน่าสนใจของ LINE-LAZADA

ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่ามีการเติบโตของการซื้อขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น จนส่งผลให้คนที่ไม่เคยช้อปปิ้งในออนไลน์ ก็ทดลองใช้กันมากขึ้นเพื่อลดภาระในการเดินทาง จนเป็นเหตุผลให้คนเกือบทุกรุ่นปรับตัวใช้งานอีคอมเมิร์ซเร็วขึ้น การใช้จ่ายผ่านค้าปลีกออนไลน์นี้ก็อาจมากกว่า 3% ที่เคยคาดการณ์

งาน The Standard Economic Forum ที่มีคุณพิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) และคุณธนิดา ซุยวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาด บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย ได้ขึ้นมาเผยโอกาสการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์

ช้อปปิ้งออนไลน์เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น

ด้วยการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจนทางลาซาด้าคาดว่าปีนี้จะมียอดการใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซเกิน 3% เพราะนี่แค่ครึ่งปีแรก เม็ดเงินก็แตะไปแล้วกว่า 2 แสนล้านบาท ส่วนทาง LINE เองก็มีการเข้าใช้งาน Shopping เพิ่มขึ้น 68% ยอดใช้จ่ายต่อบิลสูงถึง 1,500 บาท

คุณธนิดา : ลาซาด้ามีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและเสริมความแข็งแรงด้านอีโคซิสเต็มของแพลตฟอร์ม ทั้งจากการลงทุนเองและนำมาจากอาลีบาบาซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเรา เพราะเราจะเติบโตคนเดียวไม่ได้ พาร์ทเนอร์ ผู้ประกอบการ ต้องโตไปด้วยกัน การที่เรามีข้อมูลและทราบพฤติกรรมของลูกค้า และแบ่งปันข้อมูลทั้งเพศ อายุ ความชอบ พฤติกรรมการค้นหา พฤติกรรมการใช้จ่ายและการวิเคราะห์ผลอย่างเหมาะสมจะทำให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลและวางกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจออกมา เป็นการช่วยเร่งให้ผู้ประกอบการเติบโตอย่างแข็งแรง

โอกาสของอีคอมเมิร์ซยังเติบโตได้เพราะความต้องการของผู้ซื้อ แน่นอนว่า การเติบโตนั้นย่อมมีจำนวนคู่แข่งในตลาดเพิ่มขึ้นด้วย แต่การเพิ่มขึ้นของผู้ให้บริการรายใหม่จะไม่ได้มีแค่แพลตฟอร์ม แต่จะมีอีโคซิสเต็มอื่นๆ ด้วย เช่น การขนส่ง เพย์เมนท์ ฟูลฟิลเมนท์ สิ่งเหล่านี้จะเข้ามาช่วยพัฒนาให้โลกของการใช้จ่ายออนไลน์มีมูลค่าสูงข้ึน และเพิ่มโอกาสทางการขายของผู้ประกอบการรุ่นใหม่มากขึ้น

แนะธุรกิจอย่าฉวยโอกาสขึ้นราคาหลังคลายล็อกดาวน์

หลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายเรื่องการเปิดให้บริการธุรกิจของธุรกิจ สิ่งที่หลายคนต่างกังวลคือทุกอย่างจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ หรือจะต้องใช้ชีวิตแบบระวังตัวมากขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการที่เคยฉวยโอกาสกักตุนสินค้าหรือขึ้นราคาสินค้าแพงๆ จะอยู่รอดหรือไม่

คุณธนิดา : ช่วงวิกฤต COVID-19 สินค้าในกลุ่มที่อยู่อาศัยมีทิศทางการเติบโตที่ดีเพราะคนต้องทำงานที่บ้าน แต่เมื่อสถานการณ์กลับไปสู่ช่วงปกติ คนก็อยากที่จะออกไปใช้ชีวิตข้างนอก แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจยังซบเซาและการใช้จ่ายน้อยลงเพราะต้องการเก็บเงินไว้ในกระเป๋าเยอะๆ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เราจะเห็นผู้ประกอบการขึ้นราคาสินค้าเพราะกำลังการผลิตลดลง สินค้าบางอย่างก็หายากขึ้น เช่น หน้ากากอนามัย หรือเจลล้างมือ แต่พอปรับตัวได้มีการใช้หน้ากากหรือเจลแอลกอฮอล์ทำเองได้ ราคาสินค้าก็ปรับตัวลง เพราะดีมานด์หายไป

“สินค้าที่ให้บริการทั้งออนไลน์และออฟไลน์อาจต้องปรับตัวเรื่องราคาให้ต่ำลงเพื่อรองรับผู้บริโภคระยะยาวและเพิ่มประเภทสินค้าให้หลากหลายจะช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ ตอนนี้ถ้าธุรกิจไหนฉวยจังหวะปรับตัวตอบสนองความต้องการของลูกค้าและทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในประสิทธิภาพสินค้าได้ รายนั้นจะอยู่ได้ยาว”

ยิ่งตอนนี้ผู้บริโภคใช้งานออนไลน์มากกว่าออฟไลน์แล้ว นั่นคือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าธุรกิจสามารถให้บริการได้ทั้งสองช่องทาง ทั้งการสั่งซื้อ การขนส่ง การใช้จ่าย และจำนวนสินค้าหลากหลายย่อมทำให้ผู้บริโภคเห็นคุณอยู่รอบตัว (Journey) ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เขาเลือกซื้อคุณมากขึ้น

นอกจากนี้ หลังจบสถานการณ์โควิท-19 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดีและเป็นโอกาสให้ลาซาด้าต้องพัฒนาตัวเองมากขึ้น เพราะหลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์วิกฤต ลูกค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ พฤติกรรม สถานการณ์เหล่านี้จะเปลี่ยนไปเร็ว เราจึงต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้เร็วขึ้น เพราะความชอบของคนเราเปลี่ยนแปลงเสมอ จึงต้องเรียนรู้ระบบแพลตฟอร์มในการทำงานให้ละเอียดขึ้น

สินค้าที่ขายดีบนแพลตฟอร์มลาซาด้าในอนาคตนั้น อาจจะต้องปรับเปลี่ยนสินค้าที่ราคาต่ำลง เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคต้องประหยัด สินค้าที่ต่ำกว่า 300 บาท คนจะตัดสินใจซื้อเร็วขึ้น เราจึงมีฟีเจอร์ราคาสินค้าไม่เกิน 99 หรือ 199 บาท เพื่อเพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าของยุคนี้

พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท LINE ประเทศไทย

ผู้บริโภคใช้บริการช้อปปิ้งของ LINE พุ่ง

จากปกติที่ LINE มีรายได้หลักจากการโฆษณา แต่ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา กลายเป็นว่าบริการด้านอีคอมเมิร์ซอย่าง LINE SHOPPING เติบโตขึ้นเกินคาด อาจเพราะต้องอยู่บ้านคนเลยใช้จ่ายเราเยอะขึ้น จากปกติที่เปิดไลน์มาเพื่อสื่อสาร แต่ตอนนี้ก็เริ่มใช้บริการอื่นๆ ของเรา

เพราะ Journey ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต้องเน้นที่ประสบการณ์ในการค้นหา ต่างฝ่ายต่างก็ต้องรู้ทันกัน ถ้าถามว่าคู่แข่งของ LINE เป็นใคร เราอยู่ในธุรกิจที่หลากหลายและมีการแข่งขันกับหลายธุรกิจ ดังนั้นเราไม่ได้มองว่าแข่งกับใคร แต่มองว่าโอกาสของเราอยู่ตรงไหนและเข้าไปหาโอกาสใหม่ เช่น คนไทยใช้โซเชียล 45 นาที จะทำอย่างไรให้เขาใช้เพิ่มขึ้นเป็น 60 นาที ซึ่งนาทีที่เพิ่มขึ้นก็เป็นที่มาของโอกาสที่มากขึ้น

ร้านค้าที่ใช้งาน LINE@ ในขณะนี้มีกว่า 4 ล้านราย เมื่อเทียบกับธุรกิจใหม่ที่จดทะเบียนการค้าอาจจะไม่เยอะมาก และยังเปิดรับธุรกิจอีกจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอกับการเติบโตของพฤติกรรมออนไลน์มากขึ้น ซึ่งจากที่หลายฝ่ายประเมินเชื่อว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เจอปัญหาใหญ่แน่ เจ้าของสินค้าหลายอย่างจึงต้องปรับตัวเพราะการมีหน้าร้านอาจสำคัญน้อยลง

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาทำให้การทำธุรกิจหลายอย่างต้องเร็วขึ้น การใช้จ่าย การตรวจสอบตัวตน พฤติกรรมการเลือกซื้อทุกอย่างต้องมองในมุมของลูกค้าให้มากขึ้นเพื่อหาทางรอด อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลงของยุค หรือการมาของเทคโนโลยีแค่ต้องตามให้ทันก็พอ จากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยมี SMEs กว่า 3 ล้านราย ร้านค้าที่ลงทะเบียนในลาซาด้าน่าจะมีเยอะกว่านั้น ส่วนของ LINE OA มี 4 ล้านราย ถามว่าส่วนต่างที่เกินมา 1 ล้านรายนั้น ทำไมไม่เข้าระบบ นั่นอาจเป็นเพราะเขายังกังวลในมาตราการต่างๆ ของรัฐ หากมีการเข้าไปช่วยเหลืออย่างถูกต้องก็น่าจะช่วยเศรษฐกิจภาพรวมกลับมาดีอีกครั้ง

ส่วนกลยุทธ์ที่ LINE แนะนำว่าจะเป็นทางรอดของธุรกิจ คือ