Site icon Thumbsup

วางแผนจัดการความเสี่ยง เพื่ออนาคตของธุรกิจ

เรื่องของความเสี่ยงทางธุรกิจไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ย่อมสร้างความกดดันและกังวลใจให้แก่เจ้าของธุรกิจ ดังนั้น การวางแผนเพื่อจัดการความเสี่ยงจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องนี้อย่างชัดเจนกันก่อน

โดยบริษัทจำเป็นต้องมองความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า ถือว่าเป็นแกนสำคัญที่บริหาร การวางแผนนั้นควรแบ่งไว้อย่างน้อย 3 ระยะ คือ ระยะสั้น (1-3 เดือน) ระยะกลาง (6-10 เดือน) ระยะยาว (1-5 ปี) เพราะเราไม่รู้ว่าปัญหาความเสี่ยงจะเกิดขึ้นตอนไหน จึงควรประเมินและคาดการณ์ไว้หลายรูปแบบ เผื่อว่าเกิดปัญหาลุกลามจะได้ควบคุมอย่างทันท่วงที

การบริหารความเสี่ยง เป็นสิ่งที่ผู้บริหารทุกคนต้องเจอ ดังนั้น สิ่งที่ควรทำจึงต้อง

  • การกำหนดวตัถุประสงค์ (Objectives Establishment)
  • การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)
  • การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
  • การสร้างแผนจัดการ (Risk Management Planning)
  • การติดตามสอบทาน/สื่อสาร (Monitoring & Review) / Communication

 

นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงยังแบ่งออกเป็นรายละเอียดย่อย อีก 2 ด้าน คือ

ปัจจัยเสี่ยงภายนอก คือ ความเสี่ยงท่ีไม่สามารถควบคุมการเกิดได้โดยองค์กรเอง เช่น

  • เศรษฐกิจ / สังคม / การเมือง / กฎหมาย
  • คู่แข่ง
  • เทคโนโลยี
  • ภัยธรรมชาติ
  • สิ่งแวดล้อม
  • พฤติกรรมความเช่ือมั่นในภาพลักษณ์องค์กร

ปัจจัยเสี่ยงภายใน คือ ความเสี่ยงที่สามารถควบคุมการเกิดได้โดยองค์กรเอง เช่น

  • วัฒนธรรมองคก์ร
  • นโยบายการบริหารและการจัดการ
  • ความรู้ / ความสามารถทักษะของบุคลากร
  • กระบวนการทำงาน
  • ข้อมูล / ระบบสารสนเทศ
  • เครื่องมืออุปกรณ์

ทั้งนี้ ประเภทของความเสี่ยงจำแนกได้เป็น 4 ลักษณะ ประกอบด้วย

  1. ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)
  2. ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR)
  3. ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk : OR)
  4. ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR)

ยกตัวอย่าง ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ เช่น การกำหนดกลยุทธ์ที่ผิดพลาดหรือไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ก็อาจจะส่งผลให้แผนกต่างๆ ปฏิบัติงานได้ไม่เต็มที่อย่างที่มีแผนไว้ หรือกลยุทธ์ที่วางแผนไว้ขาดการพัฒนาที่ที่ต่อสถานการณ์ก็อาจเสียลูกค้าไปให้แก่คู่แข่งได้

นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องของพนักงานเช่น การขาดทักษะใหม่ๆ ความชำนาญหรือความรู้เฉพาะทางก็ส่งผลให้บริษัทไม่มีความก้าวหน้า การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฏหมายหรือคุ้นชินกับการใช้สินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์จนมองข้ามปัญหาทางกฏหมายหรือไม่มีความรู้ที่แท้จริง ก็อาจทำให้เสียภาพลักษณ์องค์กรได้ ส่วนใหญ่จะเจอในกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอียุคเก่า ที่ยังไม่พร้อมปรับตัวในเรื่องของเทคโนโลยี

ทางด้านของการวางแผนเพื่อจัดการความเสี่ยงหรือทางเลือกในการจัดการความเสี่ยงนั้น อาจต้องใช้ กลยุทธ์ 4T (4T’s Strategies) ในการดำเนินการให้พิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน เช่น

โดยอาจจะมองหาทางเลือกหรือการแก้ไขปัญหาที่ทันต่อยุคสมัยก่อน วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง หรือพฤติกรรมของคนในสังคมเพื่อสร้างโอกาสและช่องทางในการขายใหม่ๆ รวมทั้งใช้ช่องทางการสื่อสารให้กว้างและรอบด้านมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การประเมินก็ช่วยให้เราสามารถเห็นภาพรวมว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้นมีแนวโน้มประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยอาจเลือกเป็นการประเมินการควบคุมด้วยตนเอง เพื่อมองหาโอกาสและความสามารถของเราที่จะช่วยลดปัญหาได้ หรือจะเลือกการประเมินการควบคุมอย่างเป็นอิสระ เพื่อลดปัญหาด้านผลกระทบและโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ไม่ว่าปัญหาความเสี่ยงของคุณจะมาในรูปแบบใด แต่หากรู้จักวางแผนประเมินไว้ล่วงหน้า เชื่อว่าจะสามารถก้าวผ่านปัญหาต่างๆ ได้นะคะ