ถือเป็นการขานรับนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อนสังคมไร้เงินสดได้อย่างน่าสนใจกับแคมเปญล่าสุดของธนาคารไทยพาณิชย์ที่เจาะอินไซท์ของร้านค้าสร้างเป็นคาแรคเตอร์ “แม่มณี” นางกวักคิวอาร์โค้ดจับกลุ่มผู้ค้ารับยุคดิจิทัล
โดยความเคลื่อนไหวของธนาคารไทยพาณิชย์ในครั้งนี้อาจถือได้ว่าเป็นการย้ำภาพของการ “เตรียมความพร้อม” ให้กับผู้ประกอบการก่อนการเปิดตัวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ (ปัจจุบันยังถูกจำกัดอยู่ในพื้นที่ทดลองภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ Sandbox)
สำหรับการเตรียมความพร้อมในครั้งนี้ ไทยพาณิชย์ได้เลือกทำผ่านการเปิดตัวแคมเปญ “SCB EASY PAY – แม่มณี Money Solution” โดยมีการนำคาแรคเตอร์แม่มณี ที่ถูกสร้างให้เป็นนางกวักแห่งยุคดิจิทัล มาใช้ร่วมกับ QR Code เพื่อให้ร้านค้าต่าง ๆ ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการรับชำระเงิน
คุณธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยว่า แม่มณีเป็นคาแรคเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อผู้ขาย เนื่องจากที่ผ่านมา การนำเสนอแอปพลิเคชันต่าง ๆ อาจเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้ประกอบการ แต่ถ้าเป็นคาแรคเตอร์แม่มณีก็จะทำให้ง่ายต่อการเข้าถึง และสามารถสื่อสารระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายได้สะดวกกว่า มากไปกว่านั้นยังมีการผสานเข้ากับระบบการแจ้งเตือนทุ
โดยแคมเปญดังกล่าวมาพร้อมกิจกรรมสื่อสารการตลาดอย่างครบวงจร ตั้งแต่ภาพยนตร์โฆษณา (TVC) ที่ได้พรีเซ็นเตอร์ “ใหม่ – ดาวิกา โฮร์เน่” และกิจกรรมโร้ดโชว์ทั่วประเทศเพื่อสร้างการรับรู้ ภายใต้งบประมาณ 30 ล้านบาท
“เราตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างคิวอาร์โค้ดออกไปได้กว่า 500,000 บัญชี ภายในสิ้นปี 2018 และคาดว่าแคมเปญใหม่นี้จะสามารถตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างครอบคลุม พร้อมมุ่งสู่การเป็นธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด (The Most Admired Bank) ตามยุทธศาสตร์ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้” คุณธนากล่าว
โดยส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตาคือประเทศจีนที่การชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านคิวอาร์โค้ดได้รับความนิยมและแพร่หลาย เข้าใกล้ความเป็นสังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีผู้ให้บริการหลักที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด คือ อาลีเพย์ (Alipay) และ วีแชทเพย์ (WeChat Pay) เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ
ส่วนในประเทศไทยนั้น ธนาคารมองว่าคิวอาร์โค้ดมาตรฐานที่ทาง ธปท. สนับสนุนให้เกิดขึ้นนั้นเป็นนวัตกรรมที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยสร้างความสะดวกให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าของธนาคารใดก็ตาม เพียงแค่สแกนคิวอาร์โค้ด ก็สามารถชำระเงินได้เช่นเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นการช่วยลดต้นทุนระบบการชำระเงินและการบริหารเงินสดของประเทศได้เป็นอย่างดี
ด้านคุณอภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุดปฏิบัติการ ผู้บริหารสูงสุด Retail Products และ Retail Paymentsธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ทางธปท. ได้เปิดให้ธนาคารพาณิชย์เข้าร่วมทดลองให้บริการคิวอาร์โค้ดในการชำระเงินแทนเงินสดในศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเงิน (Sandbox) นั้น ไทยพาณิชย์เป็นรายแรกๆ ที่ร่วมทดลองและให้ความสำคัญกับการลงพื้นที่จริง เพื่อสร้างความรู้ให้กับประชาชน ผ่านการสาธิตให้เห็นจริงอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม 5 กลุ่มหลัก ได้แก่
- แหล่งช้อปปิ้ง (ตลาดนัดจตุจักร, สยามสแควร์, แพลตตินั่ม, MBK)
- มหาวิทยาลัย (เกษตรศาสตร์,ธรรมศาสตร์)
- คมนาคมขนส่ง (วินมอเตอร์ไซค์, วินรถตู้, แท็กซี่)
- ตลาดสด (ตลาดสามย่าน, ตลาดมีนบุรี)
- วัด (วัดศาลพันท้ายนรสิงห์)
ทั้งนี้ ในอนาคตอันใกล้ ธนาคารไทยพาณิชย์คาดว่าจะเกิดช่องทางการชำระค่าสิ