Site icon Thumbsup

มูลค่าส่งออกชะลอ ทำให้เศรษฐกิจโลกโน้มชะลอลง และเกิดปัญหา supply chain disruption

ด้วยภาวะการส่งออกสินค้าในช่วงนี้ ยังคงเป็นปัญหาสำหรับกลุ่มธุรกิจประเภทส่งออก โดยมูลค่าการส่งออกเดือนส.ค. ขยายตัว 8.9%YOY โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่อง (แบบ %YOY) ในทุกสินค้าสำคัญ

แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าแบบปรับฤดูกาล การส่งออกปรับลดลงมากถึง -9.1%MoM_sa โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกทองคำที่หดตัวมากถึง -85.8%YOY

อย่างไรก็ตาม การส่งออกสำคัญจากไทยที่ไปในประเทศต่างๆ 6 อันดับแรก ส่วนใหญ่มาจาก จีน 32.3% อาเซียน 26.9% สหรัฐ 16.2% ยุโรป 12.8% ญี่ปุ่น 10% ด้านการส่งออกสินค้าเมื่อเทียบกันระหว่าง เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม กลุ่มรถยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอรื เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ มาแรงมาก

แม้ไม่รวมการส่งออกทองคำ การส่งออกก็ยังปรับลดลงจากเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลจากการระบาดสายพันธุ์เดลตาที่ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว สะท้อนจาก Manufacturing PMI ที่ปรับลดลงในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะประเทศ EM

นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหา supply chain disruption ทั้งจากการปิดโรงงานในประเทศและการหยุดการผลิตของประเทศคู่ค้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน โดยพบว่าการส่งออกสินค้าสำคัญของไทยส่วนใหญ่ปรับลดลงตั้งแต่เดือนก.ค. เป็นต้นมา โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ที่ปรับลดลงมาก

EIC คาดว่าการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มชะลอลงจากฐานปีก่อนที่ปรับสูงขึ้น, ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง, ปัญหา supply chain disruption และปัญหาการขาดแคลนชิปที่เริ่มส่งผลกระทบมากขึ้น

ขณะที่ในปี 2022 คาดส่งออกจะขยายตัวได้ต่อเนื่องแม้ในอัตราที่ชะลอลงจากปีนี้ตามเศรษฐกิจโลกที่จะขยายตัวได้จากความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาที่จะขยายตัวเร่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้ค่าระวางเรืออยู่ในระดับสูง และปัญหาขาดแคลนชิป น่าจะยังเป็นปัจจัยกดดันผู้ส่งออกต่อเนื่องในปีหน้า

นอกจากนี้ การผลิตเพื่อส่งออกของไทยยังได้รับผลกระทบจาก supply chain disruption ทั้งที่เกิดจากการปิดโรงงานในไทยและการหยุดการผลิตของประเทศคู่ค้ำที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน

โดยมีหลายโรงงานที่ประสบปัญหาจากการระบาดในประเทศ ประกอบกับดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนกรกฎาคมที่ปรับลดลงชัดเจนในหลายอุตสาหกรรมอาจสะท้อนปัญหา supply chain disruption ที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้หากสถานการณ์ระบาดทั่วโลกและในประเทศเริ่มดีขึ้น ก็จะทำให้
ภาคการผลิตกลับมาดำเนินการได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้การค้าและการส่งออกโลกกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นอีกครั้งได้

 

ที่มา : EIC