การใช้งาน Tiktok ในยุคนี้ไม่ใช่แค่ผ่อนคลายด้วยการเต้นหรือร้องเพลงสนุกสนานแล้ว แต่หลายคนเริ่มนำมาใช้ในการรีวิวสินค้าหรือบริการ ขายของและทดลองใช้งานจริงให้ลูกค้าได้เห็นก่อนกดสั่งซื้อ ทำให้โอกาสสำหรับกลุ่มอีคอมเมิร์ซผ่าน Tiktok น่าจะเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่มาแรงในช่วงนี้
พฤติกรรมการซื้อสินค้าทางออนไลน์ ส่งผลให้ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องติดอันดับ 1 ใน 5 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยอัตราการเติบโต 15% ต่อปี (ข้อมูลจาก eMarketer, 2020)
โดยพบว่าหนึ่งในปรากฏการณ์สำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้ผู้คนนิยมซื้อสินค้าบนออนไลน์มากขึ้น เกิดจากประสบการณ์แห่งความสุขในระหว่างการซื้อสินค้า หรือที่เรียกว่า “Shoppertainment” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ผู้คนจำนวนมากใช้การช้อปปิ้งเป็นวิธีในการสร้างความสุข สอดคล้องกับการสำรวจผู้ใช้ TikTok ในประเทศไทยพบว่า 2 ใน 5 ของผู้ใช้พบว่าการซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ช่วยให้มีความรู้สึกดีขึ้น ผ่อนคลายขึ้น
นอกจากนี้ 1 ใน 3 ของผู้ใช้รู้สึกว่าอยากให้การช้อปปิ้งมีความบันเทิงมากขึ้น จึงถือได้ว่า “Shoppertainment” เป็นปรากฏการณ์สำคัญของการผสานกันระหว่างการ Shopping และ Entertainment จนส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการจับจ่ายที่น่าสนใจของผู้คนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนแพลตฟอร์ม TikTok ที่ถือเป็นแพลตฟอร์มที่สร้างพลังบวกและมอบความสุขและความบันเทิงให้กับผู้คนในปัจจุบัน
ปัจจุบัน TikTok เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นที่กำลังได้รับความนิยม และยังเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้กับแบรนด์ได้ค้นพบกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ผ่านคอนเทนท์วิดีโอสั้นและการทำการตลาดคิจิทัลรูปแบบใหม่ผ่านโซลูชั่น TikTok For Business โดยพบว่า วิดีโอสั้นได้กลายมาเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อในกลุ่มนักช้อปออนไลน์ ล่าสุดจากผลสำรวจผู้ใช้ TikTok
- ข้อมูลจาก AC Neilsen พบว่า
• 83% ของผู้ใช้ชื่นชอบการชมคอนเทนท์วิดีโอจากแบรนด์มากกว่าภาพนิ่งหรือ gifs
• 84% ของผู้ใช้บอกว่าเกิดความอยากซื้อสินค้าเมื่อได้ชมวิดีโอจากแบรนด์บน TikTok
อีกทั้งยังพบว่าผู้ใช้ TikTok เป็นกลุ่มที่ชื่นชอบการค้นพบ และทดลองสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง Mega Sales ที่พบว่า
• 79% ของผู้ใช้ TikTok มีการซื้อสินค้าจากแบรนด์ใหม่แทนที่จะซื้อสินค้าจากแบรนด์เดิมที่คุ้นเคย
• 58% ของผู้ใช้ TikTok มีการซื้อสินค้าที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าแต่เป็นการซื้อหลังจากที่ได้ชมคอนเทนท์ของแบรนด์บน TikTok
จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ #TikTokMadeMeBuyIt ที่แสดงให้เห็นว่ามีผู้คนมากมายซื้อสินค้าโดยไม่ได้ตั้งใจแต่เกิดจากแรงกระตุ้นหลังจากได้ชมโฆษณาหรือคอนเทนท์บนแพลตฟอร์ม TikTok ส่งผลให้แฮชแท็กดังกล่าวมียอดวิวสูงถึง 3.6 พันล้าน
สิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing ของ TikTok กล่าวว่า Mega Sales คือช่วงเวลาที่ทุกคนรอคอยและเป็นโอกาสสำคัญของแบรนด์ในสร้างยอดขายและตอบโจทย์พฤติกรรมนักช้อปในปัจจุบันที่นอกจากต้องการดีลที่ดีที่สุดแล้ว ยังต้องการประสบการณ์การจับจ่ายที่มาพร้อมความสุขหรือ Shoppertainment โดย TikTok ช่วยทำให้ผู้ใช้มีความสุขและนำไปสู่การอยากมีส่วนร่วมหรือการจับจ่ายใช้สอยกับแบรนด์ โดยความสุขที่เกิดขึ้นบน TikTok เกิดขึ้นจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ
- Joy of Discovery หรือความสุขการค้นพบแบรนด์ หรือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในรูปแบบคอนเทนท์วิดีโอสั้นที่เกี่ยวกับแบรนด์ที่ดูสนุกและน่าติดตาม
- Joy of Entertainment หรือความสุขผ่านความบันเทิงและการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น Hashtag Campaign, Branded Effect, Gamification และ Livestreaming
- Joy of Community commerce หรือความสุขผ่านชุมชนที่ช่วยทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย
สำหรับการวางกลยุทธ์เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเพิ่มยอดขายใน Mega Sales ควรมีการเริ่มสร้างแคมเปญโฆษณาล่วงหน้าอย่างน้อย 10-30 วันก่อนเริ่มแคมเปญ เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้บริโภคเริ่มทำการศึกษาหาข้อมูล โดย TikTok For Business ได้แนะนำ 3 กลยุทธ์หลักเพื่อการวางแผนโฆษณาและการตลาดดิจิทัลเพื่อส่งเสริมยอดขายในช่วง Mega Sales ไว้ดังนี้
- Always-on Core Solution การใช้ In-feed ads เพื่อช่วยในการสร้างการรับรู้และนำไปสู่การขาย โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของแคมเปญ ที่สามารถตั้งกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำ และมีความหยืดหยุ่นในการตั้งงบประมาณโฆษณา
- Immersive Shopping Experience การสร้างประสบการณ์ที่ดีในการซื้อของให้กับผู้บริโภค อาจจะเป็นการใช้ Dynamic product ads เพื่อให้โฆษณาที่ผู้บริโภคเห็นตรงกับความสนใจและความต้องการของผู้บริโภคในช่วงเวลานั้น
- Own Mega Sales Moment การสร้างแคมเปญหรือกิจกรรมเฉพาะของแบรนด์ในช่วงเทศกาล Mega Sales ซึ่งอาจจะทำได้ผ่าน Content solution ต่างๆ เช่น Branded Effect, Hashtag Challenge หรือแม้แต่ Top View ที่จะทำให้เข้าถึงผู้ใช้ TikTok ได้ถึง 100% ในแต่ละวัน
หากแบรนด์สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://