สมกับเป็นสิงห์ เจ้าพ่อธุรกิจเครื่องดื่มชั้นนำของไทย ที่ประกาศการลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพที่น่าสนใจ โดยจัดตั้งเป็นกองทุน สิงห์เวนเจอร์ ที่ฟอร์มทีมมาได้ครึ่งปีแล้ว แต่เพิ่งประกาศชัดเพราะต้องการเร่งสปีดให้สตาร์ทอัพไทย มีเงินทุนเพื่อก้าวขึ้นเป็นยูนิคอร์นได้สมใจหวังเสียที
เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา ทางสิงห์เวนเจอร์ ได้เข้าไปลงทุนใน 2 กองทุน คือ Kejora Ventures แพลตฟอร์มระบบนิเวศทางเทคโนโลยี และ Vertex Ventures จากสิงคโปร์ ซึ่งทั้งสองกองทุนถือว่ามีประสบการณ์และเครือข่ายอย่างมาก ส่วนในไทย กำลังอยู่ในช่วงพูดคุยกับทาง 500 ตุ๊กตุ๊ก ของสองหนุ่มอัจฉริยะ อย่าง ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ และ กระทิง พูนผล ในการเข้าไปลงทุนในกองทุนนี้ เพื่อพัฒนาศักยภาพสตาร์ทอัพไทยอย่างต่อเนื่อง
งานนี้ ภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร Singha Ventures เล่าให้ฟังว่า โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ซึ่งไม่สามารถหลีกหนีได้ และเมื่อเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม และปรับตัวให้ทันตามยุคสมัย เพราะคนที่แข็งแรงคือคนที่อยู่ต่อได้
การที่สิงห์ คอร์ปอเรชั่น มีธุรกิจที่ยาวนานมากว่า 85 ปี การขยับตัวลงทุนอะไรใหม่ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะความคาดหวังจะสูง การแยกออกมาตั้ง สิงห์ เวนเจอร์ จะช่วยให้คล่องตัวในหลายอย่างมากขึ้นรวมทั้งเชื่อว่าเป็นอนาคตของสิงห์ได้
“ปีที่แล้วเราใช้เงินไป 25 ล้านเหรียญ ก็ไม่เยอะในการเข้าไปลงทุนกลุ่มกองทุนต่างๆ ซึ่งปีนี้น่าจะใช้เงินเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ต้องดูที่ความเหมาะสมหลายอย่าง เพราะเราไม่ได้จำกัดว่าเม็ดเงินจะเท่ากับปีที่แล้วไหม ถ้าน่าสนใจก็อาจจะเพิ่มเงิน ทุกอย่างต้องดูจังหวะก่อน”
การลงทุนในจังหวะนี้ ก็ไม่ถือว่าช้ามาก เพราะสตาร์ทอัพไทยภาพรวมยังไม่แข็งแกร่งมาก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเกิดมาจะมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและบริหารบริษัทที่เติบโตได้พร้อมกัน คนกลุ่มนี้ก็ยังต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งสิงห์จะเข้าไป support ทั้งในเรื่องเงินทุน และความรู้ อยู่ที่ว่าเขาจะต้องการในแนวทางไหน
นอกจากนี้ การเข้าไปถือหุ้นของสตาร์ทอัพจะเป็นลักษณะของการร่วมทุน จะเลือกลงทุนในกลุ่ม Series A โดยถือหุ้นเพียง 25% เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ เพราะเราไม่ได้หวังจะเข้าไป exit ธุรกิจของใคร สิ่งที่จะเข้าไปช่วยคือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองของสตาร์ทอัพให้มีโอกาสโตและก้าวไปสู่ระดับโลก เหมือนกับประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซียและจีน เป็นต้น ส่วนระยะ Seed ที่เป็นเริ่มต้น หากมีความน่าสนใจก็ให้เข้ามาคุยกัน
ทางด้านของนายวรภัทร ชวนะนิกุล กรรมการผู้จัดการ Singha Ventures กล่าวเสริมว่า กลุ่มธุรกิจที่จะเข้าไปโฟกัส แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1.สินค้าอุปโภคบริโภค(Consumer products) ทั้งกลุ่
2.เทคโนโลยีในการจัดการห่วงโซ่
3.ลงทุนในระบบหรือโปรแกรมต่างๆ เพื่อช่วยในการทำงานขององค์กร(E
แม้ว่าทั้ง 3 ประเภทจะเป็นแกนหลักที่เราให้ความสำคัญเป็นหลัก แต่หากเป็นด้านของนวัตกรรมที่เปลี่ยนโลก เช่น Healthcare, Education, Property technology, และ Internet of Things(IoT) หรือรับยุค Aging Society เหล่านี้ เราก็ให้ความสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่ในไทยยังมีน้อย และเชื่อว่าจะเปลี่ยนการใช้ชีวิตของคนในอนาคตได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม เรื่องของฟาวเดอร์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะคุณลักษณะของฟาวเวอร์จะเป็นปัจจัยสำคัญและตัวช่วยบอกว่าน่าเข้าไปร่วมทุนหรือไม่ ซึ่งในต่างประเทศคนเก่งอาจอายุไม่เยอะ แต่เขามีแนวคิดที่น่าสนใจ ทางสิงห์ก็เลยเลือกไปลงทุน ซึ่งเราก็อยากให้สตาร์ทอัพไทยมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีแบบนี้เช่นกัน เพราะเรามีพาร์ทเนอร์กว่า 50 ประเทศทั่วโลก หน้าร้านค้าปลีกกว่า 4 แสนล้านรายทั่วประเทศ ที่จะคอยสนับสนุนและผลักดันให้เขาเติบโต
การขยับตัวของสิงห์ คอร์ปอเรชั่นครั้งนี้ แม้จะเป็นธุรกิจที่ดูไม่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี แต่ก็บอกให้รู้ว่าจะไม่ยอมเสียโอกาส เพราะหลังจากที่ลงทุนไป 2 บริษัทในต่างประเทศนั้น ก็มีรายได้หมุนกลับเข้ากระเป๋ามาแล้ว 3 เท่า แม้จะบอกว่าเป็นการลงทุนเพื่อระยะยาว แต่ดูเหมือนผลตอบแทนจะมาได้ไวกว่านั้นเสียแล้ว