มีเหตุผลมากมายที่ทำไมนักช้อปฯ จำนวน 68% ถึงยกเลิกสินค้า ผู้ขายสินค้าออนไลน์ทั่วโลกสูญเสียรายได้ถึง 3 พันพันล้าน! ในแต่ละปีจากการยกเลิกสินค้า นับเป็นมูลค่ามหาศาลที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
การยกเลิกสินค้าเป็นปัญหาในตลาดออนไลน์ทั่วโลก นักช้อปฯ จะเยี่ยมชมเวปไซต์ มองดูสินค้าในเวป คลิกลงตะกร้ารถเข็น และลาจากไปโดยไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น ซึ่ง 75% ของผู้ยกเลิกสินค้าครั้งแรก และกลับมาดูอีกครั้งในเวลาต่อมา จะมีแนวโน้มซื้อสินค้านั้น ยิ่งละทิ้งสินค้าและกลับมาดูบ่อยเท่าไหร่ ยิ่งเป็นสัญญาณที่ดีแก่ผู้ขายดังนั้นลูกค้าในกลุ่มนี้จัดเป็นลูกค้าคนสำคัญ และง่ายต่อการทำให้มาเป็นลูกค้าของเราในที่สุด
พบ 6 Tips เด็ด! กับการป้องกันและลดการยกเลิกการซื้อสินค้าบนเว็บไซต์
- แจ้งเตือนให้ทันเวลา ผ่านทางอีเมลและโฆษณา – 12 ชั่วโมงแรกหลังลูกค้ายกเลิกสินค้าในตะกร้ารถเข็นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะ 72% ของลูกค้าจะกลับมาซื้อใหม่ภายใน 24 ชั่วโมง ร้านค้าหลายร้านได้รับลูกค้ากลับมาจากการแจ้งเตือนผ่านทางอีเมล รวมถึงโฆษณาแบบ Popup ที่เด้งขึ้นมาในกรณีการซื้อสินค้านั้นไม่สมบูรณ์
- ไม่มีค่าจัดส่งและควรส่งตรงเวลา – ไม่มีใครที่อยากรอสินค้านานและโดนเก็บค่าส่งเพิ่ม ลองเสนอการจัดส่งสินค้าฟรี รวมทั้งเพิ่มความรวดเร็วในการส่งจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
- ให้ความสำคัญกับลูกค้าที่ยังลังเล – ลูกค้าที่กลับมาดูสินค้าหลายๆ ครั้ง เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะซื้อสูง เมื่อเทียบกับลูกค้าที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ดังนั้นควรจัดให้พวกเขาเป็นกลุ่มเป้าหมายอันดับหนึ่ง
- ทำให้เว็บไซต์ใช้งานได้ง่ายในมือถือ – เนื่องจากการซื้อขายผ่านมือถือ มีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นถึง 63% ในปี 2013 และผู้ซื้อจำนวนสูงถึง 85% คาดหวังว่าเว็บไซต์จะใช้งานได้ดีในมือถือ ดังนั้นอย่าปล่อยโอกาสนี้ให้หลุดมือไป
- ออกแบบขั้นตอนการสั่งซื้อให้ง่ายเข้าไว้ – เพราะผู้ซื้อไม่ต้องการทำอะไรที่ซับซ้อนยุ่งยาก ตามหลักที่ว่า “อะไรง่ายๆ จะดีกว่าเสมอ”
- นำเสนอข้อมูลสินค้าให้ครบถ้วน – การให้ข้อมูลที่ครบถ้วนภายในหน้าเว็บไซต์ เป็นการเพิ่มความสะดวกกับผู้ซื้อโดยตรง ซึ่งช่วยลดการเปลี่ยนหน้าจอเพื่อไปหาข้อมูลเพิ่มเติม และลดการไปซื้อกับเว็บไซต์คู่แข่งแทน
Tips ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะได้ผลหรือไม่ ต้องลองเอาไปปรับแต่งใช้ดู ทั้งนี้ก็ควรคำนึงถึงประเภทของสินค้าที่ขายว่าเหมาะสมกับรูปแบบที่นำเสนอหรือไม่ เพื่อยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าให้สูงที่สุด
ที่มา Econsultancy