Site icon Thumbsup

Skill Set แบบไหนที่คนสาย ‘เทคโนโลยี’ และ ‘การออกแบบ’ ควรมี

ในเวลานี้ เราเชื่อว่าผู้ติดตาม thumbsup คงสนใจการสร้าง Skill Set หรือชุดทักษะมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างทักษะของคนทำงานในสายเทคโนโลยี อย่างสายโปรแกรมมิ่ง (Coding) สายออกแบบ (Design) และสายวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ที่ต้องค้นหาทักษะในการทำงานของตัวเองให้เจอนั้นมีความจำเป็นอย่างมาก ยิ่งในยุค Digital Transformation เกิดเร็วและแรง เราต้องเตรียมตัวให้พร้อม!

วันนี้เราจึงไปพูดคุยกับกรรมการของเวทีการแข่งขัน TechJam 2019 by KBTG (www.techjam.tech)  ซึ่งในปีนี้มาในคอนเซปต์ Deep Jam ที่จะจัดแข่งเพื่อหาคนพันธุ์ Deep ที่รู้จริง รู้ลึก สุดยอดของสายเทคโนโลยีใน 3 ด้านคือ

ส่วนผู้ที่ให้ข้อมูลกับ thumbsup ในวันนี้ ประกอบด้วย คุณอาภาพงศ์ จันทร์ทอง Machine Learning Engineer ของ KASIKORN Labs, ดร.ภควัต ผลิตนนท์เกียรติ Data Scientist ที่ KASIKORN Labs ของ KBTG และคุณสรรพวิชญ์ ศิริผล Designer Beacon Interface ทีม Beacon ของ KBTG

รายละเอียดจะน่าสนใจขนาดไหน ติดตามได้จากบทความนี้เลยครับ

“เข้าใจโจทย์ก่อนแก้ปัญหา” ทักษะสำคัญของคนสายโปรแกรมมิ่ง (Coding)

คุณอาภาพงศ์ จันทร์ทอง อดีตนักศึกษาฝึกงานสายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็น Machine Learning Engineer ทีม KASIKORN Labs ของ KBTG ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการของการแข่งขันด้าน Deep Code กล่าวว่า Skill Set ที่คนเขียนโปรแกรมหรือเขียนโค้ดที่นอกเหนือจากการ “การเขียนโค้ดได้คล่อง” ควรมีทักษะ 3 ข้อ ได้แก่

(1) ทักษะการเข้าใจโจทย์ที่ได้รับก่อนทำการแก้ปัญหา – เราต้องเข้าใจก่อนว่าการแก้ปัญหาต้องมีโจทย์บางอย่างที่ชัดเจน มันมีอะไรให้มาบ้าง เราทำอะไรไม่ได้เพราะมีข้อจำกัดอะไรบ้าง รวมถึงระยะเวลาในการรันโค้ด (Running Time) รวมถึง โครงสร้างข้อมูล (Data Structure) และอัลกอริทึมที่ทำได้มีอะไรบ้าง เป็นต้น ทำให้ทักษะการวิเคราะห์โจทย์เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา (Solution) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

(2) ทักษะการแปลงไอเดียต่างๆ ออกมาเป็นโค้ด – ทักษะข้อนี้จะเกิดขึ้นได้จากกการสั่งสมประสบการณ์ ต้องผ่านการทำงานด้านโค้ดดิ้งในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้สามารถแปลงสิ่งที่คิดกลายเป็นออกมาเป็นโค้ดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

(3) ทักษะการแก้ไขโค้ด (Debug) – เนื่องจากการเขียนโค้ดเสร็จในรอบแรกไม่ได้หมายความว่าโปรแกรมนั้นจะทำงานได้ในทันที ฉะนั้นการแก้ไขโค้ดที่มีปัญหาในการทำงาน หรือเรียกง่ายๆ ว่า ‘บั๊ก’ (Bug) ได้ทันเวลาและรวดเร็วจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเหมือนกัน เพราะผู้ใช้หรือลูกค้าก็ต้องการโปรแกรมที่ใช้งานได้ตามปกติอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ซึ่ง 3 ทักษะนี้ คนสายโปรแกรมมิ่งจะขาดทักษะใดทักษะหนึ่งไปไม่ได้เลยจริงๆ

 

“เข้าใจถึงผู้ใช้งาน” ทักษะสำคัญของคนสายออกแบบ

คุณสรรพวิชญ์ ศิริผล อดีตผู้นำทีมดีไซน์ของแพลตฟอร์ม E-Commerce รายใหญ่ ล่าสุดได้มาเป็น Designer ทีม Beacon Interface ของ KBTG และเป็นหัวหน้าคณะกรรมการของการแข่งขันด้าน Deep Design มองว่าการได้โจทย์ด้านการออกแบบ (Design) มา เราจะไม่รู้เลยว่าจะเริ่มจากผู้ใช้ (User) หรือช่วงอายุไหนก่อนดี

ซึ่งสิ่งที่คนสายออกแบบ (Designer) ต้องทำก็คือ การหา User กลุ่มแรกที่มี Pain Point ให้เจอก่อน เพื่อจะได้นำมาสร้าง Product โดยดูโจทย์ที่ได้รับมาประกอบ ดังนั้น Skill Set ที่ควรมี นั่นคือเก็บข้อมูลหรือสัมภาษณ์คนได้ (การทำ User Interview) โดยเราต้องสามารถเลือกได้ว่าการสัมภาษณ์คนกลุ่มไหนเพื่อให้ข้อมูลที่ตรงจุดที่สุด

ซึ่งทักษะนี้อาจจะได้มาจากการเรียนในมหาวิทยาลัย เช่น คณะจิตวิทยาก็จะมีการสอนเรื่อง User Interview หรือคณะศึกษาศาสตร์ก็จะมีการสอนสัมภาษณ์ นำเสนอข้อมูล รวมถึงการดึงข้อมูลออกมาแปลผลเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ไม่จำเป็นต้องจบแต่ด้านคอมพิวเตอรืเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้เราอาจจะฝึกฝนทักษะหรือกระบวนการสัมภาษณ์-เก็บข้อมูลต่างๆ เองก็สามารถทำได้เช่นกัน

แต่คุณสรรพวิชญ์ก็ยอมรับว่า ช่วงแรกของการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลนั้นมีความเหนื่อยยากและลำบากอยู่เล็กน้อย แต่ถ้าเรามีใจรัก, Passion และ Skill ที่มีอยู่ปรับให้เจอ Insight พอเราได้ Customer Insight เราจะคิดออกว่าจะทำอย่างไรต่อไป

 

“ตั้งคำถามที่ดี” ทักษะสำคัญของคนทำสายข้อมูล

ดร.ภควัต ผลิตนนท์เกียรติ อดีตนักศึกษาปริญญาเอกคณิตศาสตร์ประยุกต์ Cornell University (สหรัฐอเมริกา) ปัจจุบันเป็น Data Scientist ที่ KASIKORN Labs ของ KBTG ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการของการแข่งขันด้าน Deep Data ระบุว่าในการแข่งขันมันขึ้นอยู่กับสัญชาติญาณของแต่ละคนมากกว่า เพราะบางทีโจทย์ต่อให้มันยาก แต่ถ้ามีความรู้สึกว่าข้อมูลแบบนี้จะใช้ความรู้ที่มีอยู่มาแก้โจทย์ได้ ก็จะมีความได้เปรียบมากกว่า เพระาการแข่งขันมันมีเวลาจำกัด

แต่ถ้าในเชิงการทำงานกับ Data นั้น คนที่มี Skill Set อย่างความช่างสังเกต และพยายามพล็อตข้อมูลออกมาดูหลายๆ แบบ เพราะบางทีการดูแบบเดียวมันไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นต้องพล็อตหลายๆ แบบเพื่อที่จะได้เห็นข้อมูลในทุกด้าน เช่นมองมาในมุมนี้เห็นแบบนี้ มองในมุมนั้นเห็นแบบนั้น ทำให้สามารถหา Insight ได้จากการพล็อตข้อมูลได้เหมือนกัน

พอเรามี Insight เราก็จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง ใน 2 รูปแบบ คือ (1) เป็น Insight ที่มาจากคน โดยให้คนดูข้อมูลแล้วตอบว่าจะเอาไปทำอะไร กับ (2) ให้คอมพิวเตอร์ทำงานโดยเราไม่ไปยุ่งอะไรกับมันเลย เปรียบเสมือนเราโยนข้อมูลลงใน Black Box แล้วได้ผลลัพธ์บางอย่างออกมา

 

หากอยากมี Skill Set ที่หลากหลาย ต้องเปิดโอกาสให้ตัวเอง 

ซึ่งคุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) ระบุปิดท้ายว่า หากใครสนใจอยากสร้าง Skill Set ในหลายๆ ให้กับตัวเอง ก็ไม่ควรพลาดการสมัครเพื่อเข้าแข่งขันในเวที Tech เพื่อลับคมทักษะและเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เจอกับการแข่งขันที่ท้าทายความสามารถที่มีอยู่

หนึ่งในเวทีที่ขอแนะนำซึ่งถือได้ว่าเป็นเวทีประลองคนพันธุ์ Deep ที่ใหญ่ของประเทศคงหนีไม่พ้นการสมัครเข้าแข่งขันเวที TechJam 2019 by KBTG ซึ่งผู้สมัครเพียงแค่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดระดับการศึกษาหรือสาขาอาชีพ ก็สามารถเข้าร่วมแข่งขันแบบคนเดียวหรือ 2 คนก็ได้ แต่เลือกแข่งขันได้ 1 ด้านเท่านั้น

โดยการเปิดสมัครและแข่งขันในรอบแรก ผู้สมัครต้องทำผ่านทางออนไลน์ที่ www.techjam.tech ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม -11 พฤศจิกายน 2562 (เฉพาะการแข่งขัน Deep Code จะปิดรับสมัครวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562)

ประกาศผลผู้ผ่านรอบแรกในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ทางเพจ https://www.facebook.com/KBTGlive/ ทั้งนี้ การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและมองรางวัลจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน และวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2562 ที่อาคาร KBTG (เมืองทองธานี)

ซึ่งทีมผู้ชนะเลิศแต่ละด้านจะได้มีโอกาสเดินทางไปเปิดประสบการณ์ และดูงานด้านเทคโนโลยีและการออกแบบระดับโลกที่ Silicon Valley ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคุณเรืองโรจน์กล่าวต่ออีกว่า ดูงานที่ Silicon Valley จะไม่สนุกและครบทุกแง่มุมเท่ากับคุณกระทิงพาไปเอง เพราะคุณกระทิงเคยอยู่ใน Silicon Valley จึงรู้ทุกซอกทุกแง่ทุกมุมของพื้นที่ด้านนวัตกรรม

สำหรับใครที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.techjam.tech หรือสอบถามได้ที่ Inbox ของเพจ https://www.facebook.com/KBTGlive/

บทความนี้เป็น Advertorial