โซเชียลมีเดียก็เหมือนกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทั้งการสื่อสารระหว่างผองเพื่อนหรือการแลกเปลี่ยนข่าวสารกันของกลุ่มกันผู้คนที่สนใจในเรื่องที่คล้ายกัน จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมโซเชียลมีเดียถึงกลายเป็นแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางสังคมหรือ Social media activism
Social media activism กล่าวง่ายๆคือวิธีที่ผู้คนพูดถึงและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัวพวกเขาหรือการที่ผู้คนรวมตัวกันแสดงออกถึงปัญหาในสังคม เช่น Ice Bucket Challenge หรือ Black lives Matter
แบรนด์ก็แสดงจุดยืนได้
ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็อยากให้แบรนด์ที่ตัวเองรักออกมาแสดงจุดยืนกับปัญหาต่างๆ แต่ก็ยังมีหลายคนที่มองว่าการที่แบรนด์ออกมาพูดก็เพื่อการเพิ่มยอดขาย แล้วจะทำยังไงให้การสื่อสารออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเคลื่อนไหวบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่ไม่มีผู้นำเป็นศูนย์กลาง มันมักจะเกิดการสนับสนุนโดยผู้คนที่โพสต์ แสดงความคิดเห็น กดไลค์และแชร์เนื้อหาต่างๆ ซึ่งมีสิ่งที่แบรนด์ควรตะหนักไว้เกี่ยวกับเนื้อหาที่ควรพิจารณาเมื่อต้องการเข้าร่วม
โดยส่วนใหญ่เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับค่านิยมหรือภาพลักษณ์ของแบรนด์จะถูกมองว่าเป็นการแสดงความจริงใจมากกว่าการออกมาโพสต์เกี่ยวกับปัญหาต่างๆเป็นระยะๆ ตัวอย่างเช่น แบรนด์ผลิตภัณฑ์สินค้าผู้หญิงที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ
อย่าเอาแต่เข้าร่วมแต่ต้องเข้าร่วมอย่างถูกต้อง ควรมีการศึกษาข้อมูลของปัญหาให้ถี่ถ้วน การที่แบรนด์จะสื่อสารออกไปนั้นก็ควรทำให้แน่ใจว่าผู้คนจะเข้าใจปัญหาอย่างถูกต้องหรือได้รับแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม
การเคลื่อนไหวทางสังคมชอบถูกมองว่าเป็นการพูดมากกว่าการกระทำ แต่การขับเคลื่อนนี้คือพลังที่แท้จริงของการเคลื่อนไหวที่อาจเป็นจุดที่สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมได้ แบรนด์อาจลงมือทำเช่น การบริจาคเงินหรือแสดงตัวเพื่อประท้วงเกี่ยวกับปัญหา