อาจกล่าวได้ว่า จนถึงวันนี้ Social Media หลายรายได้แสดงท่าทีออกมาแล้วว่า “ถอดใจ” กับปุ่ม Buy ที่ไม่ประสบความสำเร็จบนแพลตฟอร์มกันนัก ไม่ว่าจะเป็น Twitter, Facebook, Instagram และ Pinterest ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย และค่อนข้างจะเป็นทิศทางตรงกันข้ามกับธุรกิจ Amazon ที่โตเอาโตเอา ทั้งนี้ สาเหตุที่ปุ่ม Buy ไม่ตอบโจทย์อาจเป็นเพราะ…
1. มีคอนเทนต์คู่แข่งบนแพลตฟอร์ม Social network นั้นๆ มากเกินไป โอกาสที่จะสร้างความต้องตาต้องใจให้ผู้ซื้อจึงมีแค่แป๊บเดียว
2. เรื่องของการสำรองสินค้า ลองนึกภาพ Amazon มีคลังสินค้าของตัวเอง จะบริหารจัดการก็แสนสะดวก แต่ Social Media ไม่สามารถจัดการได้แบบ Amazon บางครั้งผู้ซ้ือคลิกเข้าไปที่ Link ที่ผู้ขายให้มาแต่เมื่อเปิดอาจไม่เจออะไร ทำให้รู้สึกเสียเวลาและอารมณ์เสียมากขึ้นไปอีก
3. การจ่ายและรับเงินยังต้องปรับปรุงอีกมาก เพราะรูปแบบการชำระเงินในอดีตยังค่อนข้างยุ่งยาก
4. ยังไม่ได้รับความเชื่อมั่นมากพอ จากผลโพลของ GlobalWebIndex ได้ทำการสำรวจผู้ใช้งานSocial Media อายุระหว่าง 16 – 64 ปีในเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา พบว่า มีแค่ 14 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบบสอบถามที่บอกว่าสนใจจะใช้งานปุ่ม Buy ขณะที่ Pinterest มีแค่ 13 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจกล่าวได้ว่า คนที่เข้ามาเล่น Social Media นั้นไม่ได้อยู่ใน “Shop Mode” ก็ว่าได้ ถ้าเข้ามามองหาสินค้าก็ออกแนว Research Mode เสียมากกว่า
ด้าน Jessica Liu จาก Forrester Research วิเคราะห์ว่า ทุกวันนี้ ผู้บริโภคก็ยังมอง Social Media เป็นพื้นที่สำหรับการเสิร์ชหาสินค้าและบริการจากแบรนด์ต่างๆ จากจุดนี้ ทำให้เห็นว่า สุดท้ายแล้ว การใช้งานเครื่องมืออย่าง Social Media ให้ถูกต้อง เช่น ใช้เป็นช่องทางเปิดตัวสินค้า และบริการ จึงน่าจะเป็นทางที่ดีกว่านั่นเอง
ที่มา: Digiday