Site icon Thumbsup

เคล็ดลับ 9 ข้อที่ช่วยให้ Facebook Page เอื้อต่อการค้นหาบน Graph Search (Infographic)

cats

“Facebook Graph Search” เป็นการค้นหารูปแบบใหม่บน Facebook ที่ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหารายละเอียดซึ่งมีความเชื่อมโยงและมีหลากหลายมากได้ยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น คน, เพจ, กลุ่ม, บริษัท, เพลงและหนัง และเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากการใช้งาน Graph Search สำหรับทำธุรกิจ วันนี้เรามีเคล็ดลับจำนวนทั้งหมด 9 ข้อมานำเสนอให้ติดตามกัน

เคล็ดลับทั้ง 9 ข้อที่เว็บไซต์ RightOn-NoBull.com ได้รวบรวมมานำเสนอนี้ จะช่วยเป็นแนวทางในการทำ Facebook Page ให้เอื้ออำนวยต่อการค้นหาข้อมูลบน Graph Search ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเคล็ดลับทั้ง 9 ข้อประกอบด้วย

1. การเลือกหมวดให้ตรงตามประเภทของธุรกิจ จากผลการสำรวยพบว่า ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักค้นหาแบรนด์โดยการเสิร์ชผ่าน “หมวดของธุรกิจ” เป็นส่วนหลัก ซึ่งหากแบรนด์มีการเลือกหมวด (Category) ให้เหมาะสมและตรงตามประเภทของธุรกิจ ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเสิร์ชหาแบรนด์ได้ง่ายและตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น

2. ระบุที่ตั้งของบริษัทให้ถูกต้อง ในการแสดงผลการค้นหาของ Graph Search มักขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยและหนึ่งในนั้น ก็คือ การระบุตำแหน่งที่ตั้ง (Location Based) โดยแบรนด์ควรมีการระบุถึงตำแหน่งที่อยู่อย่างชัดเจนและถูกต้องเพื่อให้เอื้อต่อการค้นหาข้อมูลบน Graph Search

3. กรอกประวัติให้ครบถ้วน การที่แบรนด์กรอกประวัติและข้อมูลอย่างครบถ้วน นอกจากจะช่วยเพิ่มการแสดงผลบน Graph Search ให้ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้บริโภคเข้าใจถึงประเภทของธุรกิจและหน้าที่ที่ทำได้อย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดประกอบด้วย ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำธุรกิจ (About), หน้าที่ (Mission), คำบรรยายเกี่ยวกับกับธุรกิจ (Description), รางวัลที่เคยได้รับ (Award) และสินค้า (Product)

4. ใส่คีย์เวิร์ด การใส่คีย์เวิร์ด หมายถึง การใส่ # (Hashtag) บนข้อความ, บทความและภาพถ่ายที่อัพเดตบน Facebook Page ซึ่งการใส่ Hashtag จะช่วยเพิ่มโอกาสในการค้นหาได้ง่ายและสะดวกกว่าเดิม

5. ให้ความสำคัญต่อจำนวน  Like จำนวน Like ที่ระบุหมายถึง การกด Like เพื่อกลายเป็นผู้ติดตาม (Follower) บน Facebook Page ซึ่งการที่เพจมีจำนวนผู้ติดตามเป็นจำนวนมากก็จะช่วยให้การแสดงผลบน Graph Search มีอันดับที่สูงขึ้น ซึ่งวิธีที่จะทำให้แบรนด์มีจำนวนผู้ติดตามเพิ่มมากขึ้น คือ การทำโฆษณาบน Facebook, การนำปุ่ม Like ไปรวมไว้บนเว็บไซต์หรือบล็อก รวมถึงการทำโปรโมชั่นและการแข่งขันเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค

6. สนับสนุนการ Check-in และการ Share Location การ Check-in และการแชร์ต่อบน Facebook ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและกว้างขวางมากขึ้น โดยวิธีที่เป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้งานหันมาทำการ Check-in เพิ่มขึ้น ได้แก่ การทำป้ายโฆษณาป้ายโฆษณาเชิญชวนให้ Check-in  ภายในร้านและบน Facebook รวมถึงการใช้ข้อเสนอหรือโปรโมชั่นต่างๆมาเป็นสิ่งกระตุ้น

7. โพสต์และแทคแบรนด์บนภาพถ่ายและวีดีโอ รูปแบบการนำเสนอโดยใช้ภาพถ่ายและวีดีโอพบว่า เป็นรูปแบบที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาแบรนด์บน Graph Search ได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งการโพสต์ภาพถ่ายและวีดีโอแต่ละครั้ง ควรมีการแทค (Tag) ถึงแบรนด์อย่างชัดเจนเพื่อเป็นประโยชน์ในการค้นหา โดยเคล็ดลับช่วยให้การนำเสนอโดยใช้ภาพถ่ายและวีดีโอสามารถแสดงผลได้ดียิ่งขึ้น คือ หมั่นโพสต์ทั้งภาพถ่ายและวีดีโอหลายครั้งต่อสัปดาห์, มีการใส่คีย์เวิร์ด รวมถึงแทคบนภาพถ่ายและวีดีโอทุกครั้ง

8. ใช้ Username ให้ตรงกับชื่อของธุรกิจ ชื่อ Username ที่ระบุในที่นี้หมายถึงนี้หมายถึง ชื่อที่แสดงต่อท้ายบน URL บน Facebook โดยชื่อที่ใช้นั้นควรมีความใกล้เคียงหรือตรงกับชื่อที่ใช้ในการทำธุรกิจมากที่สุด ซึ่งการที่ใช้ชื่อ Username ตรงกับแบรนด์นั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลทั้งบน Graph Search และ Search Engine อย่าง Google ใด้ดียิ่งขึ้น

9. ใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ การขอคำแนะนำหรือการใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ ก็เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยเสริมที่ช่วยให้แบรนด์สามารถประหยัดเวลา, มีขั้นตอนในการทำ Facebook Page ที่ถูกต้องและเอื้อต่อการแสดงผลบน Graph Search

 

ที่มา: RightOn-NoBull ฺBlog