เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย(Software Park Thailand) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน เดินหน้าผลักดันบุคลากรไอทีไทย เตรียมความพร้อมรับมือ AEC2015 ในงาน Software Park Annual Conference 2012 ภายใต้หัวข้อ ?IT Professional toward AEC2015? เพื่อกระตุ้นบุคลากรไอที อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้เรียนรู้ถึงสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นและตื่นตัวเร่งพัฒนาขีดความสามารถ ทักษะ ความรู้ ก่อนก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพในระดับเวทีนานาชาติต่อไปในวันที่ 7 กันยายน 2555 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซ่าลาดพร้าว
รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ Software Park Thailand เปิดเผยว่าในฐานะที่ซอฟต์แวร์พาร์คเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีบทบาทสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ? พร้อมทั้งมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบุคลากรไอที ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเข้มแข็ง และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ งานสัมมนาวิชาการประจำปีของซอฟต์แวร์พาร์ค Software Park Annual Conference 2012 จึงจัดขึ้นภายใต้แนวคิด ?IT Professional toward AEC 2015? เพื่อเจาะลึกรวมถึงเตรียมความพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่เวที AEC2015 และส่งเสริมให้บุคลากรในวงการไอทีของไทย ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดจากการเปิดตลาดสู่เวทีอาเซียนในปี 2015 ภายในงานมีกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรไอทีไทยในหลากหลายมิติ แบ่งเป็น
- การประชุมสัมมนาวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารจากภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรไอทีไทย ทั้งในเชิงเทคนิคการพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาทักษะและศักยภาพบุคลากรไอที เพื่อสามารถแข่งขันได้ในเวทีนานาชาติ
- การจัดนิทรรศการ แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย บูธแสดงสินค้า และบริการขององค์กร หน่วยงานที่สนับสนุนการจัดงาน อาทิ บริษัทเจ้าของเทคโนโลยีชั้นนำ ภาคการศึกษา บริษัทฝึกอบรมด้านไอที บริษัทที่ปรึกษาไอที และการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัทจัดหางาน ร้านหนังสือ และสื่อด้านไอที บูธประชาสัมพันธ์ซอฟต์แวร์พาร์ค และเครือข่ายพันธมิตร TSPA และ หอเกียรติยศ Software Park Thailand?s Hall of Fame 2012 เพื่อเผยแพร่ผลงาน และแสดงศักยภาพขององค์กร ที่เห็นความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้มีผู้ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ?Software Park Thailand Hall of the Fame 2012? จำนวน 3 องค์กร
รศ.ดร.ธนชาติ กล่าวต่อไปว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินของซอฟต์แวร์พาร์คที่ผ่านมา ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ของไทยมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบุคลากรเป็นกำลังสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฯ โดยได้ดำเนินการผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดอบรมสัมมนาทั้งทางด้านเทคนิคและการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการไทย การสนับสนุนการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอทีในระดับสากล เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญระดับสูงในด้านต่างๆ? ให้แก่อุตสาหกรรม การผลักดันและสนับสนุนให้บริษัทซอฟต์แวร์ไทยเข้าสู่มาตรฐานในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้ CMMI? ตลอดจนเป็นหน่วยงานที่ริเริ่มและขับเคลื่อนให้เกิดการรวมกลุ่ม และสร้างชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในแขนงต่างๆ อาทิ Thailand SPIN, IASA, Mobile Technology for Thailand (MT2), Cloud Thailand Alliance (CTA) และอื่นๆ? ทั้งนี้ เพื่อสร้างทักษะและให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีในกลุ่มนักพัฒนาที่มีความสนใจร่วมกัน นอกจากนี้ซอฟต์แวร์พาร์คยังเป็นผู้นำในเรื่องการสร้างความตระหนักและให้ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีก่อเกิด(Emerging Technology) โดยเฉพาะอย่ายิ่งในด้าน Cloud Computing และ Mobile Technology ในยุคที่กระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกำลังจะเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ประกอบการ และบุคลากรซอฟต์แวร์ไทย ได้เตรียมตัวและวางเส้นทางในการพัฒนาธุรกิจและสายอาชีพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองและองค์กร และสร้างความเข้มแข็งให้สามารถพร้อมแข่งขันในเวทีอาเซียน โดยซอฟต์แวร์พาร์คยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินโครงการต่างๆนี้อย่างเข้มข้นขึ้น ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพื่อสร้างศักยภาพของบุคลากรและยกระดับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในการก้าวไปสู่ AEC 2015
นาย ไตรรัตน์? ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA เปิดเผยว่า การพัฒนาคนด้านไอทีเพื่อรองรับการแข่งขันการเปิดเสรีในอาเซียนนั้นต้องมีการยกระดับการพัฒนามากขึ้นกว่าเดิม โดยยุทธศาสตร์ของ SIPA นั้นวางการพัฒนาเป็นสองระดับ ระดับแรกคือพัฒนาเต็มรูปแบบ ด้วยการกำหนดงานด้านไอทีสำหรับ 6 อุตสาหกรรมหลัก ที่ไทยมีโอกาสแข่งขันและเป็นเจ้าตลาดได้สูงกว่า คือ ด้านเกษตรกรรมและอาหาร, ด้านการท่องเที่ยว, ด้านอัญมณี, ด้านการศึกษา, ด้านการขนส่ง, ด้านสาธารณสุข ซึ่งทั้งหมด SIPA จะร่วมมือกับพันธมิตรทุกด้านยกระดับคนไอทีทั้งกระบวนการขึ้นมา เช่น Software Park Annual Conference 2012 ภายใต้แนวคิด IT Professional towards AEC 2015 ในครั้งนี้
โครงการที่เป็นรูปธรรมที่จะเข้ามารองรับการพัฒนาคนใน 6 อุตสาหกรรมนี้ของ SIPA คือ การสร้าง SIPA Academy ด้วยการที่ SIPA จะนำบุคลากรด้านไอทีเข้าร่วมศึกษากับคนในภาคอุตสาหกรรมนั้นๆ แล้วในห้องเรียนทั้งสองฝ่ายได้พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ ไปจนถึงสามารถสร้างกรอบความคิดในการพัฒนาไอทีเพื่อรองรับอุตสาหกรรมนั้นๆ หรือ Industry Framework เพื่อให้เกิดการนำไปต่อยอดสร้างแอพพลิเคชั่นรองรับได้อย่างทั้งกระบวนการ โดย SIPA จะร่วมกับสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านขึ้นมา
สำหรับบุคลากรที่ไม่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมทั้ง 6 SIPA จะเข้าไปผลักดันให้บริษัทไอทีทั้งหมดผันตัวเองขึ้นเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอทีที่สามารถเชื่อมต่อบริการของตนเองกับซอฟต์แวร์คู่แข่งขันจากต่างประเทศที่เข้ามาตีตลาด โดยจะไม่เน้นการสร้างคนเขียนโปรแกรม หรืองานที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลัก ซึ่งงานเหล่านี้ SIPA จะหาทางถ่ายเทไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงถูกกว่าในประเทศไทย
อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านี้ SIPA จะร่วมกับพันธมิตรไม่ว่าจะเป็นสมาคมต่างๆ หรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวกับด้านไอที เพื่อประสานงานและผลักดันงานด้านพัฒนาคนอย่างเป็นระบบ และทำงานเชิงลึกมากขึ้นกว่าเดิม
นาย ณัฐพล อภิลักโตยานันท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยและมาเลเซีย ?ซีเอ เทคโนโลยี ??กล่าวว่า ในแง่ขององค์กรและบุคลากรในอุตสาหกรรมไอทีของไทย จำเป็นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ก้าวทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเร็วมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยี และที่สำคัญ ประเทศไทยจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในอีก?3?ปีข้างหน้า จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่องค์กรและบุคลากรในอุตสาหกรรมดังกล่าวจะต้องอัพเดทในเรื่องนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี โอกาสทางธุรกิจ รวมถึงตลาดใหม่ๆ และโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเกิดขึ้นของ?AEC
สำหรับ ซีเอ เทคโนโลยี เรามุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้มืออาชีพในอุตสาหกรรมไอทีสามารถเพิ่มพูนศักยภาพของตนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน Software Park Annual Conference 2012 โดยจะให้ข้อมูลภายใต้แนวคิด ?IT at the speed of business? อัพเดทเกี่ยวกับระบบไอทีอันทันสมัย ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจที่ต้องการเติบโตให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ โมไบล์ โซเชียลมีเดีย คลาวด์ การรักษาความปลอดภัยระบบ ซึ่ง ซีเอ เทคโนโลยี มีความเชี่ยวชาญอยู่ในขณะนี้
นาย เอกราช? คงสว่างวงศา ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด ?กล่าวว่า ?แนวทางของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ในการเตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่ประชาคมอาเซียน? นั้นเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพและความรู้ความสามารถของบุคลากรในทุกวัย ตั้งแต่เยาวชนไปจนถึงผู้ใหญ่ และครอบคลุมคนทุกกลุ่ม อีกทั้งการสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นหลัก เนื่องจากเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการต่างๆ ของไมโครซอฟท์ที่ได้ริเริ่มขึ้นในประเทศไทยในด้านต่างๆ เช่น โครงการ?Partners in Learning, Imagine Cup, Microsoft Innovation Center (MIC),?และ?Microsoft BizSpark?เป็นต้น
ดร. ณัฎฐกฤตย์ ?สงวนดีกุล ?Senior System Analyst? ?บริษัท ?ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด ?กล่าวว่า เนื่องจากใกล้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ??นับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะรวมกลุ่มกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับประเทศยักษ์ใหญ่ในด้านอุตสาหกรรมไอทีอย่างจีนและอินเดีย โดยบุคลากรด้าน IT ของไทยเองก็จำเป็นจะต้องมีความพร้อมและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่กำลังขยายตัวและปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันได้ ทางบริษัท ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในคุณภาพของบุคคลากรไอทีไทยดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทางออกเป็นสองรูปแบบ คือการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสำหรับนักพัฒนาด้านไอทีไทย และการพัฒนาตัวบุคคลากรภายในศูนย์เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของตลาดในอนาคตอันใกล้ได้ โดยพัฒนาระบบคลาวด์ขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสและลดความซับซ้อนในการสร้างบริการชนิดใหม่ๆ ส่วนด้านการพัฒนาตัวบุคคลากรภายใน นั้น ทางศูนย์ได้มีนโยบายในด้านการวิจัยพัฒนาร่วมกันกับบริษัทพาร์ทเนอร์ในต่างประเทศ? ทำให้เจ้าหน้าที่ของเราได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆในเชิงลึก แต่ยังทำให้ได้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับคนต่างชาติอีกด้วย?
ดร. พีรสัณห์ บุณยคุปต์ นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย? (TSEP)?กล่าวว่า การใช้ซอฟต์แวร์และไอทีมีความสำคัญสำหรับทุกอุตสาหกรรมในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นความสามารถด้านการพัฒนาและการใช้ไอทีจะเป็นกุญแจสำคัญในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย เรามีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหมู่ผู้ใช้ไอซีที รวมทั้งการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ผลิตภัณฑ์ไอที และบริการไอทีของเรา ให้เติบโตและเป็นที่ยอมรับ ประเทศไทยยังคงขาดแคลนบุคคลากรด้านไอทีในทุกระดับ กลยุทธ์ในการพัฒนาบุคคลากร ผู้ประกอบการ และผู้ใช้งาน เราจึงควรมุ่งเน้นไปในทิศทางและกลุ่มอุตสาหกรรมที่เสริมอุตสาหกรรมหลักที่ประเทศไทยมีศักยภาพ และตรงกับความต้องการของตลาด ใช้เทคโนโลยีและมาตรฐานที่เหมาะสม และตอบสนองพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สมาคม?TSEP?หวังว่าการประชุมสัมมนาครั้งนี้จะสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของไอซีทีในอุตสาหกรรมไทยและนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีไทย
นางสาว อธิตานันท์ อภิธนทวีพัฒน์? กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอเชียน อินเทลลิเจนท์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด ??กล่าวว่า ในฐานะของผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ได้เล็งเห็นถึง การเตรียมความพร้อมระดับองค์กรสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 ในเชิงกลยุทธ์อันสำคัญคือ1.การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร2.การพัฒนาโครงสร้าง และระบบบริหารจัดการเชิงนโยบาย และ 3.แนวปฏิบัติอันประกอบ การพัฒนาภาพลักษณ์องค์กรเพื่อให้สามารถแข่งขันในเวทีอาเซียนได้ ในส่วนการพัฒนาศักยภาพบุคลากร หรือการสร้างคนนั้น มุ่งเน้นในการเพิ่มทักษะ และความสามารถให้บุคลากรมีคุณภาพ หลากหลาย และมีจุดเด่นในความต่างมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเสริมสร้างวิสัยทัศน์ของบุคลากร เพื่อรองรับความต้องการของตลาด ดังนั้นการจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน ในการขับเคลื่อน เพิ่มโอกาสทางการค้า และเปลี่ยน ความรู้ความคิดเห็นโดย AIIT ขอร่วมเป็นหนึ่งในการให้ความร่วมมือ และการเป็นพันธมิตรของธุรกิจด้านไอที และหวังว่างานนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้คนไอทีสามารถมีแนวคิดใหม่ ในการพัฒนาความรู้ความสามารถมีแนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อการก้าวไปสู่สังคมอาเซียน
อาจารย์ ชยุตม์ สิงห์ธงธำรงกุล? ผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาการฝึกอบรมระหว่างประเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ?บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ?กล่าวว่า ในการเตรียมความพร้อมบุคลากรไอทีของไทยสู่ AEC2015 สิ่งที่จำเป็นอย่างมากคือ การที่ภาครัฐและเอกชนควรสนับสนุนการสอบใบรับรองความสามารถของบุคลากรไอทีของไทย โดยเฉพาะในเรื่องงบประมาณ และส่งเสริมงานทางด้านไอทีให้เป็นวิชาชีพ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการวัดความรู้ความสามารถของบุคลากรทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เพื่อให้บุคลากรไอทีของไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีนานาชาติ
นาย อดิเรก ปฏิทัศน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ( ATCI) กล่าวว่า การเปิดเสรี
ภาคการบริการของ AEC ในปี 2015เป็นโอกาสดีของนักอุตสาหกรรมไอทีไทยที่จะเข้าถึงตลาดบริการโลกที่ไร้พรมแดนและใหญ่มาก ??เพราะอุตสาหกรรมภาคการบริการครอบคลุมธุรกิจหลายประเภทที่ต้องใช้ข้อมูลข่าวสารและเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นสำคัญ? ซึ่งประเทศไทยมีทักษะและคำตอบไอทีที่ดีในหลายประเภท? แต่ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยและแพร่หลายทั้งในและนอกประเทศ? การร่วมมือกับสมาชิก AEC แลกเปลี่ยนกันทำการค้า สร้างพันธมิตรธุรกิจ การสามารถใช้แรงงานที่มีประสบการณ์และต้นทุนต่างกันจากต่างแดน จะเป็นประโยชน์กับแต่ละสมาชิกของ AEC และเป็นการเร่งการพัฒนานักไอทีและอุตสาหกรรมไอทีของไทยด้วย? อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาอีกสองปีกว่านี้ ประเทศไทยต้องเร่งสร้างความรู้และความมั่นใจของซอฟต์แวร์และบริการของคนไทย เช่นการสนับสนุนจากภาครัฐในการใช้งบประมาณทางด้านนี้ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายและได้ผลงานตรงกับความต้องการมากกว่าการลงทุนในซอฟต์แวร์ที่มี feature และ function เกินกว่าความจำเป็น และเป็นการพัฒนานักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยให้แข็งแกร่งขึ้นอีก?
นาย สมพร มณีรัตนะกูล นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย(ATSI) กล่าวว่าในส่วนของสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ที่มีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวนมากกว่า400?ราย เห็นด้วยอย่างยิ่งที่มีการจัดงานนี้ และมีความยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะว่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะกระตุ้นเตือน และให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ได้เข้าใจและเตรียมตัวให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยเข้าสู่?AEC?ในปี?2015?ซึ่งจริงๆ แล้วผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในไทยมีความรู้, ความสามารถ, ประสบการณ์, โอกาส, ผลิตภัณฑ์ที่ดี แต่ยังขาดอย่างน้อย?3?เรื่อง คือ1.?ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับ?AEC 2.?ด้านภาษาทั้งภาษาสากล, ภาษาท้องถิ่น 3.?และความร่วมมือกันอย่างจริงจังต่อเนื่องที่จะพัฒนาความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย ซึ่งนี่เป็นบทบาทที่สำคัญของทุกหน่วยงานที่ร่วมกันจัดงานในครั้งนี้
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนได้ที่นี่
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย : โทรศัพท์ 0 2583 9992 ต่อ 1420-5:???? โทรสาร? 0 2583 2884