เรารู้ว่ามันอาจจะฟังดูวิชาการไปสักนิดถ้าจะพูดว่า เราทุกคนกำลังอยู่ใน “ยุคข้อมูลข่าวสารล้นหลาม” แบบที่ตำราว่าไว้นั้น แต่ก็ต้องยืนยันว่าเรื่องนี้ยังคงเป็นความจริง จริงซะยิ่งกว่าสมัยก่อนเสียอีก [วันนี้เราจะเกริ่นยาวสักหน่อย ถ้าต้องการทราบรายละเอียดงาน กดลงไปดูช่วงกลางได้เลย]
ลองจินตนาการในแต่ละวันดูนะครับว่า วันหนึ่งๆ เราต้องเสพย์ข้อมูลข่าวสาร หรือ Content มากขนาดไหน
- ตื่นเช้ามาเปิดโทรศัพท์มือถือเช็คอีเมล
- เช็คสเตตัสบน Facebook, Twitter
- ตอบคำถามเพื่อนใน Message (LINE, WeChat, WhatsApp, Facebook Messenger, Beetalk, Kakao ฯลฯ)
- ระหว่างทางเข้าออฟฟิศ ขับรถฟังเพลงทางวิทยุ
- ขับไปก็แล่นผ่านป้าย OOH ต่างๆ เห็นโฆษณาอีกบานตะไท
- เมื่อถึงสำนักงาน เราแวะทานข้าวเช้า เรายังเจอคนยืนแจกหนังสือพิมพ์และนิตยสารแจกฟรีให้เรา
ท้ายที่สุด…เราก็พบว่ามือเราถือหนังสือพิมพ์ แต่ตาก็ดูรายการโทรทัศน์ฆ่าเวลาก่อนจะเริ่มงาน นี่ยังไม่รวมถึง Notification จากข้อความที่เพื่อนแชร์มาบน Social Network ชี้ชวนให้เราอ่านเว็บไซต์อีกล้านแปดเว็บ
สังเกตนะครับ Content ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ฟรี หาง่าย และมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทุกคนสามารถเป็น Media ได้ ทุกคนเป็นเจ้าของสื่อเองได้ ด้วยต้นทุนไม่กี่ร้อยกี่พันบาท ไม่เหมือนกับสมัยก่อนที่ใครจะเป็นเจ้าของสื่อ ต้องลงทุนซื้อเทคโนโลยีแท่นพิมพ์นับล้านบาท
ท่ามกลางมหาสมุทรข้อมูลที่ทุกคนสามารถนำเสนอสิ่งที่ตัวเองคิด เราในฐานะผู้บริโภคเองก็ต้องเริ่มตั้งคำถามแล้วว่า Content อะไรที่น่าเชื่อถือ และอะไรที่ไม่น่าเชื่อถือ
thumbsup ในฐานะของเว็บข่าวและบทความด้านธุรกิจดิจิทัล จึงมองว่า ข้อมูลข่าวสารที่มาจาก ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ นั้นเป็นข้อมูลที่น่าจับตามอง ควรให้เวลาศึกษามัน เหมือนกับที่เวลาเราไม่เก่งอะไรสักอย่าง ต้องตามหาที่ปรึกษามาช่วยแนะแนวทาง เพราะคนเหล่านี้กว่าจะกลายเป็นที่ปรึกษาได้ ย่อมผ่านกระบวนการคิดและฝึกฝนมามากมาย
- อ่านบล็อกและเว็บบอร์ดข้อมูลทางด้านการเงินที่เจ๋งๆ โดยยอมจ่ายให้กับสมาคม ThaiVI เพราะในนั้นมี ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ จำนวนมาก
- จ่ายค่าเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับโบรคเกอร์ เพื่อเช็คข้อมูลข่าวสารของหุ้นในแอปของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มความรู้ ‘ความเชี่ยวชาญ’ ให้กับตัวเอง ก่อนที่จะลงทุน
- จองตั๋วหนัง ซื้อหนังสือ และเลือกซื้อสินค้าจากเว็บอีคอมเมิร์ซต่างๆ เพราะอ่านรีวิวที่น่าเชื่อถือจาก ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ในเว็บต่างๆ
เราเคยได้ยินคำพูดที่ว่า ถ้าคุณอยากจะเก่งอะไรสักอย่างในระดับผู้เชี่ยวชาญแล้วล่ะก็ ลองฝึกมันเข้าสัก 10,000 ชั่วโมงคุณก็จะสามารถกลายเป็น ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ นั้นได้ แต่เราจะเสียเวลาไปฝึกทุกๆ ทักษะที่เราอยากเก่งทำไม สู้ตามหา ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ กลุ่มนี้มาตอบสนองความกระหายใคร่รู้ของเราดีกว่า ได้ผลเร็วกว่ากันเยอะ ยิ่งในยุคออนไลน์ ที่ทุกคนสามารถใช้เครื่องมือออนไลน์ในการแสดงความเชี่ยวชาญ และพรสวรรค์ส่วนตัว เราตามหาคนกลุ่มนี้ได้ไม่ยากเลยล่ะครับ
นี่จึงเป็นสาเหตุของการที่ thumbsup อยากจะเชิญชวน thumbsupers มาทำความรู้จักกับยุคสมัยใหม่ ยุคสมัยที่เราขอเรียกมันว่า ‘Age of Expertise’ หรือยุคของ Content ที่มีความหมายนั้นจะมาจากผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือ
เราจึงอยากขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมทำความรู้จัก ‘Age of Expertise’ ในแง่มุมของการทำ Content Marketing ด้วยกันในงานสัมมนา “Spark Conference 2: Age of Expertise” การกลับมาของ Spark Conference งานสัมมนาของวงการธุรกิจดิจิทัล จากที่เราได้รับการตอบรับจาก thumbsupers และผู้สนใจธุรกิจดิจิทัลกว่า 1,000 คนเมื่อเดือนมกราคม 2557 ที่ผ่านมา
คราวนี้กลับมาภาค 2 เชิญอ่านรายละเอียดครับ
Spark Conference 2: Age of Expertise
วัน: ศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2558
เวลา: 10.00 น. – 17.15 น.
สถานที่: สยามภวาลัย พารากอน ซีนีเพล็กซ์, Siam Paragon
วาระต่างๆ ของงาน วิทยากรท่านไหนบรรยายหัวข้ออะไร: คลิกอ่านได้ที่นี่เลยครับ
สำหรับงาน Spark Conference 2 เราได้รวบรวมวิทยากรที่เราเชื่อมั่นว่าคนในแวดวงธุรกิจดิจิทัลจะชื่นชอบพวกเขา ณ ตอนนี้แขกรับเชิญที่จะมาร่วมงานกับเรามีหลายต่อหลายท่าน วันนี้เราขอแนะนำ 7 ท่านแรกก่อนนะครับ
คุณ Dave Kerpen ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท Likeable Local บริษัทซอฟต์แวร์ทางด้าน social media ระดับรางวัลของสมาคม Word of Mouth และผู้แต่งหนังสือขายดีระดับโลก “Likeable Social Media” บินตรงจากกรุงนิวยอร์ค, สหรัฐอเมริกาถึงกรุงเทพมหานครเพื่อแชร์ความรู้ด้าน Social Media และ Content Marketing ในงาน Spark Conference 2 โดยเฉพาะ
ทางด้านผลงาน หนังสือ Likeable Social Media: How to Delight Your Customers, Create an Irresistible Brand, and Be Generally Amazing on Facebook and other social networks ของคุณ Dave เป็นหนังสือที่ประสบความสำเร็จสูงสุดด้วยการติดอันดับขายดีของหนังสือพิมพ์ New York Times และ USA Today จากนั้นเขายังแต่งหนังสือที่ต่อยอดความสำเร็จของเล่มแรกออกมาอย่าง Likeable Business และ Likeable Leadership ที่มีการพิมพ์ซ้ำออกจำหน่ายและแปลอีกหลายภาษาทั่วโลกอีกด้วย
คุณศิวัตร เชาวรียวงษ์ – นักการตลาดดิจิทัลชั้นนำผู้เคี่ยวกรำงานมากว่า 15 ปี ปัจจุบันคุณศิวัตรเป็น CEO ของบริษัท mInteraction ซึ่งให้บริการด้าน Interactive/Digital advertising และ communication solutions สำหรับแบรนด์และองค์กรชั้นนำ นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่งนายกสมาคม Digital Advertising Association (Thailand) หรือ DAAT อีกด้วย
คุณกฤตธี มโนลีหกุล – คุณกฤตธี มโนลีหกุล ร่วมงานกับสนุก! ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร รับผิดชอบการบริหารงานทั้งหมด ได้แก่ บริการเว็บพอร์ทัล (www.sanook.com) เนื้อหาบนมือถือ (Sanook! Mobile) เกมส์ และโฆษณาออนไลน์ (Topspace) ทั้งยังปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับเทนเซ็นต์ (Tencent) ทั้งในด้านการทำตลาด การพัฒนาธุรกิจและการบริหารจัดการกิจกรรมด้านการตลาดต่างๆ ทั้งหมดให้ WeChat ในประเทศไทย
ก่อนร่วมงานสนุก! คุณกฤตธีทำงานที่ Expedia Inc. ซึ่งเป็นบริษัทผู้บุกเบิกธุรกิจ E-Commerce การจองตั๋วและโรงแรมออนไลน์ (Online Travel Agent) โดยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เป็นเวลา 4 ปีที่สำนักงานในฮ่องกง มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาความก้าวหน้าให้กับพันธมิตรทางการค้าทั้งหมดของ Expedia Inc. กำหนดกลยุทธ์ และการปฎิบัติการในเอเชียและแปซิฟิก และก่อนที่จะร่วมงานกับ Expedia Inc. เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาในหน่วยงานที่ดูแลด้านการวางกลยุทธ์ของ Samsung ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ รวมทั้งยังร่วมงานในสายธุรกิจต่างๆ กับ Samsung เช่น Samsung Electronics และ Cheil Communications ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการร่วมงานกับบริษัท CGI ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ให้คำปรึกษาทางด้านเทคโนโลยี ในสหรัฐอเมริกา
คุณกฤตธีจบการศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจ (MBA) ด้านการตลาด การเงิน และกลยุทธ์จาก Kellogg School of Management และปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จาก Brown University ที่สหรัฐอเมริกา
คุณพรทิพย์ กองชุน – หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย
คุณพรทิพย์ร่วมงานกับ Google มา 9 ปี โดยเป็นผู้บุกเบิกตลาดให้กับ Google ในการพัฒนาและสร้างสรรค์
คุณสุหฤท สยามวาลา – ผู้บริหาร บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องเขียนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ แต่วัยรุ่นหลายคนคงรู้จักเขาในฐานะศิลปิน พ่อมดอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ชายที่บอกว่าเป็นวัยรุ่นที่แก่ที่สุดในโลก ที่ออกมาประกาศอาสาขอรับใช้ประชาชนลงท้าชิงในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2556 พร้อมนโยบายที่จะทำให้คนกรุงเทพฯต้องเซอร์ไพส์ ซึ่งครั้งนี้คุณสุหฤท จะนำเบื้องหลังการสร้างแคมเปญหาเสียง ที่ชาวกทม. หลายหมื่นเสียงทุ่มเทคะแนนเสียงให้ในโลกดิจิทัลมาแชร์ คิดว่าหลายคนยังคงจำ MV นี้กันได้
คุณสุรางคณา วายุภาพ CEO แห่ง สพธอ. หรือ ETDA (Electronic Transactions Development Agency (Public Organization) กระทรวงไอซีที ผู้ผันบทบาทจากนักกฎหมายที่มีส่วนร่วมผลักดันกฎหมายไอทีหลายฉบับ สู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนให้ e-Transactions และ e-Commerce ของประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือ และมั่นคงปลอดภัย ETDA ยังได้เป็นหน่วยงานหลักหน่วยหนึ่งที่ร่วมผลักดันนโยบาย Digital Economy กับรัฐบาล
คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง นักการตลาดดิจิทัลที่เคยอยู่
นอกจากนี้แล้ว คุณณัฐพัชญ์ยังเป็นคอลัมน์นิสต์
Wolfgang Jaegel นักการตลาดดิจิทัลที่มีประสบการณ์คร่ำหวอดมานานกว่า 20 ปี กับการทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล และเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในภูมิภาคนี้อย่างลึกซึ้ง ปัจจุบัน Wolfgang ดำรงตำแหน่งผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัท Syndacast ดิจิทัลเอเยนซี่ที่โดดเด่นด้านมีเดียและ performance-based และได้รับเชิญไปพูดในงานระดับภูมิภาคชั้นนำต่างๆ มากมาย อาทิเช่น Adtech, SEMCon, iMedia Asia และ PATA
คุณจันทร์เพ็ญ จันทนา เป็นลูกผสมระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะ ผู้ทำงานด้านการสื่อสารออนไลน์มากว่า 15 ปี ทั้งในฐานะ Agency และในองค์กร เคยได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อแลกเปลี่ยน Professional Exchange ด้านสื่อดิจิทัลที่สหรัฐอเมริกา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการบรรยายตามสถาบันการศึกษาและงานสัมมนาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และยังเคยได้รับรางวัลด้านงานคิดสร้างสรรค์-งานเขียนระดับชาติกว่าร้อยครั้ง รวมถึงการได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ หลายสิบครั้ง
ปัจจุบัน เป็น Senior Vice President (SVP) Integrated Digital Marketing Management และได้ทำให้ SCB ได้รับรางวัล Best Social Media in Asia จาก Global Finance สหรัฐอเมริกา, รางวัล Thailand Best Bank Website จาก Asian Banking & Finance สิงคโปร์ รวมถึงรางวัลล่าสุด Top Brand Engage on Social Media จาก Thailand Zocial Award 2014 นอกจากนี้ ยังเขียนคอลัมน์ประจำใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ section ธุรกิจการตลาด ชื่อ “Digi|มิติ” และนิตยสาร Business Plus คอลัมน์ “Digital Life”
และนี่คือโฉมหน้าของวิทยากรทั้ง 9 ท่าน ในงาน Spark Conference 2
ใครที่สนใจก็กด ลงทะเบียนร่วมงาน ได้เลยครับ
บัตรเข้างาน ราคา 1,200 บาท แต่ตอนนี้เรามี “อัตรานกตื่นเช้า” ที่ 1,000 บาท ตั้งแต่วันนี้ – 20 กุมภาพันธ์ 2558 พร้อมรับฟรี! Report ของ Econsultancy 1 ชุดมูลค่า 23,000 บาท* Sold out
ขอบพระคุณผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ Spark Conference 2: dtac, Econsultancy, ETDA, Samsung Galaxy, Sanook!, Syndacast, WeChat, Loxbit PA
เกี่ยวกับ Spark Conference: Spark Conference เป็นงานสัมมนาด้านธุรกิจดิจิทัลชั้นนำของประเทศ นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ทางด้านการตลาดดิจิทัล โดยจะมีการแบ่งปันความรู้ตลอดจนอัปเดตเทรนด์การตลาดดิจิทัลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลจากทั้งในและนอกประเทศ
หมายเหตุ:
– สนใจซื้อบัตรร่วมงานสำหรับองค์กรในราคาพิเศษ (5 ใบขึ้นไป) กรุณาติดต่อ ticket@thumbsup.in.th Sold out
– Report จาก Econsultancy จะแจ้งรายละเอียดการดาวน์โหลดอีกครั้ง
บรรยากาศของงานในปีที่ผ่านมา: