Site icon Thumbsup

Startup 101 (ตอน 3) : กฎ 10/20/30 ศิลปะการนำเสนองานที่ Startup ควรรู้

ภาพจาก : abouttopics.com

แม้ไอเดียของคุณจะบรรเจิดแค่ไหน ผลิตภัณฑ์จะดี แผนธุรกิจน่าสนใจแต่ถ้าขาดซึ่งการนำเสนอที่ดีให้นายทุนเข้าใจได้ ประตูบานแรกอาจต้องปิดลง จากประสบการณ์ของ Guy Kawasaki ที่เป็นนายทุนคนหนึ่ง เค้ามักได้ยิน Startup หลายรายมานำเสนองานพร้อมสไลด์เป็นสิบๆ หน้าและพูดเกี่ยวกับ ?กำลังรอเรื่องลิขสิทธิ์?, ?เป็นผู้เริ่มลงมือก่อนได้เปรียบกว่า?, ?เพียงแค่ได้คนจีน 1% ซื้อสินค้าเราก็เพียงพอแล้ว!? เนื้อหาแนวเชิญชวนเหล่านี้ทำให้เค้าหมดความสนใจไปในทันที

Guy ได้แนะนำวิธีการนำเสนองานด้วยกฎ 10/20/30 ใน Reality Check ซึ่งหลายๆ ท่านอาจเคยทราบมาบ้าง แต่ถ้าใครยังไม่ทราบลองมาติดตามกันดูเชื่อว่ามีประโยชน์มากๆ ไม่ใช่แค่ Startup ที่ต้องการระดมทุนเท่านั้น แต่จะมีประโยชน์กับงานด้านการขาย การหา Partner อีกด้วย ซึ่งกฎนั้นก็คือ
“การนำเสนอด้วยสไลด์ 10 หน้า ใช้เวลาเสนอไม่เกิน 20 นาที และขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า 30 points” นั่นเอง

สไลด์?10 หน้า?? การนำเสนอเชิญชวนนายทุนด้วยสไลด์ 10 หน้าเป็นจำนวนที่เหมาะสม เพราะมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจเกิน 10 คอนเซ็ปในการประชุมแต่ละครั้ง?? โดยเฉพาะนายทุนทั้งหลายมักมีสมาธิน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำไป?? เนื้อหาในแผ่นสไลด์เหล่านี้ก็คือสิ่งที่คุณได้สรุปไว้แล้วใน ?Executive Summary? (อ่านเพิ่มเติม Startup 101 ตอน 2) และเพิ่มข้อมูลที่ใช้ติดต่อคุณเข้าไป

20 นาที? ?สไลด์ 10 หน้าต้องให้เหมาะเจาะกับเวลานำเสนอราว 20 นาที?? แน่นอนคุณได้ขอเวลาไว้ราวหนึ่งชั่วโมง แต่ในความเป็นจริงคุณควรนำเสนอ 20 นาทีแล้วยังมีอีกราว 40 นาทีสำหรับการซักถามและปรึกษาหารือต่อ

บรรทัดแรกที่เปิดตัวเป็นส่วนชี้เป็นชี้ตายในการนำเสนอเลยทีเดียวเชียวค่ะ ลองมาดูตัวอย่างกันว่าไม่ควรกล่าวอย่างไรและเหตุผลว่าทำไม? ดังต่อไปนี้

คุณบอกว่า ?ผมเป็นยอดนักคิด?
นายทุนจะคิดว่า ?เพียงแค่คิด แต่ยังไม่มี Business Model และยังไม่รู้จะส่งมอบสินค้าอย่างไร?

คุณบอกว่า ?ผมรู้จักบริษัทคุณไม่มากเท่าไหร่นักแต่คิดว่าผมควรติดต่อคุณ?
นายทุนจะคิดว่า?ขี้เกียจมาก (แม้กระทั่งจะหาข้อมูล)?

คุณบอกว่า ?ผมชอบคิดหาวิธีใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหา?
นายทุนจะคิดว่า ?นี่เป็นการแสดงผลงานทางวิทยาศาสตร์เหรอ? >_<?

คุณบอกว่า?ผมมีไอเดียบรรเจิดมากมายแต่ลำบากที่จะเลือกอันใดอันหนึ่งมาพัฒนาต่อ? จึงขอเล่าสักสองถึงสามไอเดีย?
อันนี้ก็ไม่ควรนะคะ นักลงทุนต้องการความชัดเจนและอาจไม่ได้ให้โอกาสมากขนาดนั้น

คุณบอกว่า ?ผมต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ?
เกริ่นลักษณะนี้ก็ไม่จำเป็น ไม่ใช่รายการนักล่าฝัน ^^?

คุณบอกว่า ?ผมมั่นใจว่าคุณรู้ดีว่าความสำคัญของ….. Web 2.0, Open Source และอื่นๆ?
ไม่ต้องเน้นย้ำขนาดนั้นค่ะ ทฤษฎีเยอะก็ไม่ดี เอาให้เห็นภาพและนายทุนจะได้อะไรดีกว่านะคะ

คุณบอกว่า ?ถ้าคุณเซ็นสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูล แล้วผมก็จะบอกไอเดียของผม?
นายทุนจะคิดว่า ?คุณไม่รู้ได้อย่างไรว่านายทุน VC เขาไม่เซ็นสัญญาประเภทนั้นกัน? (อ่านเพิ่มเติม Startup 101 ตอน 1)

คุณบอกว่า ?เป้าหมายของผมคือการสร้างบริษัทระดับโลก?
แต่เขาจะคิดว่า ?คุณขายและส่งมอบสินค้าชุดแรกให้ได้เสียก่อนที่จะมาพูดอะไรในระดับนั้นไหม??

?นี่คือสิ่งที่บริษัทผมทำ……………..? เป็นสิ่งที่คุณควรพูดตอนเริ่มต้นค่ะ มันง่ายเช่นนั้นจริงๆ?? เป้าหมายหลักของคุณคือเพียงทำให้นายทุนสนใจและคิดเรื่องความเป็นไปได้ของบริษัทของคุณและขนาดของตลาดของคุณเท่านั้น?? ถ้าเขาไม่รู้ว่าบริษัทคุณทำอะไร แล้วมีอะไรสามารถให้เขาสนใจเพื่อนำไปสู่เป้าหมายได้ประตูของโอกาสบานแรกอาจจะปิดโดยไว?? ดังนั้นลดการแสดงออกในสิ่งที่ดูไม่มีประโยชน์ตั้งแต่แรกและอธิบายว่าบริษัทคุณทำอะไรบ้าง

ตัวอักษรขนาด?30 points? ?หลายครั้งที่เจอการใช้ตัวอักษรขนาด 12 points? ?เพื่ออัดข้อความให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้บนแผ่นสไลด์ แล้วก็อ่านให้ฟังด้วยเสียงดังในการนำเสนอ?? แต่โชคร้ายเมื่อนายทุนรู้ว่าเจ้าของธุรกิจจะอ่านให้ฟังพวกนายทุนก็จะรีบอ่านล่วงหน้าก่อน?? ผลลัพธ์ก็คือทั้งเจ้าของธุรกิจและนายทุนไม่ได้ร่วมฟังการนำเสนอครั้งนี้อย่างสอดคล้องกันเลย

เหตุผลที่คนใช้ตัวอักษรขนาดเล็กมีอยู่สองสาเหตุคือ? หนึ่งพวกเขาไม่รู้ข้อมูลอย่างดีพอ? สองเขาคิดว่าข้อความยิ่งมากยิ่งจูงใจ?? ซึ่งไม่ควรทำอย่างยิ่งค่ะ??? คุณควรบังคับตนเองให้ใช้ตัวอักษรขนาดที่ไม่เล็กกว่า 30 points จะทำให้การนำเสนอของคุณดีขึ้น เพราะมันบังคับให้คุณต้องทำการบ้านค้นหา และเข้าใจจุดเด่นที่สุดเพื่อให้กระชับที่สุด ?ไว้บนเนื้อที่จำกัดแต่ขยายความด้วยคำอธิบายของคุณแทน ?(ภาพการนำเสนองานระดับเทพของ Steve Jobs ลอยมา :D)

สุดท้ายอ่านมาถึงตรงนี้คุณอาจจะเป็น Startup ที่กำลังจะนำเสนองานแก่นายทุนหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับงานขาย หรือการหา Partner กฎนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน อย่าลืมนะคะกฎ 10/20/30 แล้วพบกันใหม่กับ Startup 101 ตอนที่ 4 ค่ะ