หลังจากทีมงานนำเสนอข่าว?Builk.com Startup?ที่สามารถไปคว้าแชมป์การแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจที่งาน?Echelon ประจำปี 2012 จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เชื่อว่าใครหลายๆ คนคงสนใจอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมของ Startup รายนี้อย่างแน่นอน ทีมงาน?thumbsup?จึงไม่พลาดที่จะขอสัมภาษณ์คุณไผท ผดุงถิ่น (คุณโบ๊ท)?Pricipal/Evangelist จาก?Builk.com?เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราไปพูดคุยกับคุณโบ๊ทกันเลยดีกว่าค่ะ
thumbsup : ก่อนที่จะมาเป็น Builk?ทราบว่าทีมงานคลุกคลีอยู่ในวงการธุรกิจก่อสร้างมาอยู่ก่อนแล้วกับ Longongstudio ช่วยเล่าที่มาที่ไปหน่อย
คุณโบ๊ท?:?ใช่ครับ แม้แต่ก่อนทำ?Longongstudio?ก็คลุกคลีอยู่ในวงการนี้อยู่แล้ว คือเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างมาก่อน โดยยังไม่มีอะไรเกียวกับไอที แต่จุดเริ่มต้นตอนทำ?Longong?ก็เพราะในตอนนั้นเราเองยังหาซอฟแวร์ที่ช่วยธุรกิจก่อสร้างโดยตรงไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเห็นพวกซอฟแวร์กลุ่มบัญชีเสียเยอะ เลยตัดใจโดดมาทำดู ให้น้องที่มีประสบการณ์ด้าน?ERP?มาช่วยเขียนโปรแกรม ถ้าย้อนเวลากลับไปในช่วงนั้นก็ประมาณปี?2005?แหน่ะ (เป็น?Startup?มาหลายช่วง?:D) หลังจากทำมาได้สักระยะนึงก็ได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าค่อนข้างดีเลยทีเดียว มีผู้รับเหมาขนาดกลาง, ขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทญึ่ปุ่นสนใจมาใช้ซอฟแวร์ของเรา แต่เราก็ยังคงแกนหลักไว้คือ ERP?ที่เจาะกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง ซึ่งเป็นสายธุรกิจที่เราถนัดและโฟกัสจริงๆ ไม่ได้ทำ?ERP?สำหรับธุรกิจทั่วไป
thumbsup :?แล้วทำไมถึงมาเปิด?Builk?อีกบริการ?
คุณโบ๊ท?:
- ขยายฐานสู่ SME? – คือเมื่อทำไปสักพักซอฟแวร์ก็เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น มีฟังก์ชั่นมากขึ้น เริ่มใช้ยาก ถ้าเป็น?SME?จะใช้ไม่ได้ และบางรายก็บอกว่าราคาเริ่มสูงไป สำหรับ?Longong?ตอนแรกเลยผมตั้งราคาไว้อยู่ที่หลักหมื่น แต่พอทำไป ทำมาต้องมีทีมซัพพอร์ทลูกค้า,?มีทีมอิมพลีเมนท์ ราคาก็เริ่มเขยิบขึ้นไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ราคาก็มีตั้งแต่?5แสน ถึง?10ล้าน ซึ่งเหมาะกับบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ผมก็ยังอยากที่จะทำซอฟแวร์ให้กลุ่มคนส่วนใหญ่ในภาคธุรกิจนี้ด้วย เลยลองเปลี่ยน Business Model ดู
- ขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศ – อีกเหตุผลหนึ่งคือช่วงที่ธุรกิจก่อสร้างบ้านเราเข้าสู่ขาลง ผมลองวิ่งตลาดที่เวียดนามเอาซอฟแวร์ Longong?เข้าไป แต่ปรากฏว่ากลับเจ็บตัว เลยคิดว่าโมเดล?ERP?ที่ต้องอาศัยการอิมพลีเมนท์มันไม่เหมาะกับการขยายตัว?ซึ่งตัวผมมีความตั้งใจอยากให้ซอฟแวร์ไทยสามารถขายได้ในตลาดต่างประเทศด้วย แต่ที่ผ่านมามันกลับขายได้เฉพาะบริษัทต่างชาติในไทย แต่เมื่อไปต่างประเทศมันยังมีหลายสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เลยกลับมาดูที่แผนอีกครั้งเลยทำให้รู้ว่า เป็นเพราะ Business Model แบบเดิมนั้นไม่เหมาะกับการเจาะตลาดต่างประเทศ
thumbsup 😕?Business Model ใหม่ที่กล่าวถึงเป็นอย่างไร?
คุณโบ๊ท?:?ในสายธุรกิจของผมปัจจุบันมีผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนอยู่กับกระทรวงพาณิชย์ประมาณ?8 หมื่นราย ซึ่งกลุ่มที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของ?Longong?น่าจะมีประมาณหลักพันเป็นลูกค้าผมไปแล้วประมาณ?250?ราย (ถือว่าเป็น???ของกลุ่มเป้าหมายของผมไปแล้ว) โจทย์ที่ตั้งไว้ก็คือทำโปรแกรมให้เล็กลงจากเดิม, ให้ขายง่ายขึ้นและมีคนมาใช้มากขึ้น ซึ่งในตอนนั้น Business Model ยังเป็นแบบ?Freemium?อยู่เลย ยังไม่เหมือนทุกวันนี้ แต่พอเริ่มทำจริงๆ ก็ทำให้รู้ว่าไม่น่าจะเหมาะอีก เพราะซอฟแวร์ของผมมันเจาะธุรกิจก่อสร้างที่ถือว่า?niche?อยู่แล้ว ผนวกกับตลาดในไทยที่ถือว่าเล็กมาก ยกตัวอย่างถ้ามีคนใช้?1,000?บริษัท และปกติคนที่มายอมซื้อ?Premium ใช้ต่อสัก?5 %?หรืออาจจะน้อยกว่านั้นแค่?1-2%?ด้วยซ้ำ แน่นอนรายได้ย่อมไม่พอ
เคยคิดลองทำเป็น Lite เวอร์ชั่นออกมาด้วยนะครับ แต่ปรากฏว่าเหนื่อยกว่าเดิมอีกเพราะคนที่เสียเงินหลักแสน, หลักล้าน กับคนที่เสียเงินหลักหมื่นก็ต้องการความสำเร็จในธุรกิจเหมือนกัน ต้องมีทีมซัพพอร์ทเหมือนกัน เลยตัดสินใจเปลี่ยน Business Model อย่างที่เห็นในปัจจุบันนั่นคือ เปิดให้ใช้ซอฟแวร์ฟรี, ทำซอฟแวร์ที่ใช้งานง่าย และหารายได้จากช่องทางที่มีโอกาสอย่างค่าโฆษณาแทน เลยเกิดมาเป็น?Mini ERP?แบบ SaaS (Software as a Service บน Cloud)?อย่าง?Builk?ครับ เมื่อทำไปสักระยะก็เริ่มมองเห็นโอกาสอื่นๆ เลยขยายภาพออกไปเป็นคอมมูนิตี้เป็น Professional Social Network สำหรับด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งลูกค้าสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างเปิดใบสั่งซื้อ, อนุมัติเอกสารได้, ของที่มาส่งแล้วถ่ายรูปยืนยันได้ เป็นต้น นอกจากนี้เรายังมีแอพพลิเคชั่นบน android (beta) สามารถใช้ติดต่อ Site Manager ได้, ถ่ายรูปจากหน้างานและแบ่งปันข้อมูลบนระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
thumbsup 😕Business Model ที่สร้างมาคือเปิดให้ใช้บริการฟรี?(ฟรีจริงๆ)?และหารายได้จากโฆษณาเป็นไอเดียที่มีใช้ในหลายภาคธุรกิจแต่ในสายธุรกิจก่อสร้างที่เปิดให้บริการซอแวร์ฟรีแบบนี้ในต่างประเทศมีไหม?
คุณโบ๊ท?:?เอาตรงๆ เลยนะครับ ตอนที่เริ่มต้นธุรกิจ ผมก็มีความกังวลเหมือนกันเพราะว่าไม่เจอตัวอย่างในลักษณะนี้มาก่อนเลย เท่าที่ค้นคว้าดูที่อมริกาส่วนใหญ่ก็เป็น Freemium มากกว่าอีกทั้งเป็นอุตสหกรรมเดียวในประเทศเล็กๆ ไม่ได้ขยายออกไปใหญ่อะไร ในวันแรกยอมรับว่าไม่มีรายได้ เอารายได้สนับสนุนมาจาก?Longong?แทน แต่ก็ยังมีความเชื่ออยู่ครับว่ามันต้องมีโอกาส อีกทั้งผลตอบรับจากผู้ใช้ค่อนข้างดี และเห็นว่างบประมาณด้านการตลาดในสายธุรกิจก่อสร้างนั้นถูกใช้จ่ายออกไปเยอะมาก อย่างเช่นพวกสื่ออย่างบิลบอร์ด ซึ่งถ้ามองในแง่โฆษณาผมขอนิดเดียวที่จะมาลงกับ Builk ก็สามารถผลักดันธุรกิจนี้ต่อไปได้แล้วครับ ก็พิสูจน์ให้สปอนเซอร์ดูว่าแม้ไม่ใช่เว็บไซต์ใหญ่ ไม่ได้มี Page View เยอะ แต่เป็น คอมมูนิตี้ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายจริงๆ สักพักก็เริ่มได้งบมา?โดยช่วงแรกเป็นงบด้าน CSR (Corporate Social Responsibility)? ของแบรนด์ต่างๆ และค่อยๆ ขยับขยายไปเรื่อยๆ จนตอนนี้มันอยู่ด้วยตัวของมันเองได้
thumbsup: รายได้เริ่มเข้ามาเมื่อไหร่?
คุณโบ๊ท : เราพัฒนา Builk มาตั้งแต่ปี 2009 พัฒนามาปีนึงก็ยังไม่ได้เปิดตัว โดยทำ close beta กับเพื่อนๆ ก่อน และเปิดตัวกลางปี 2010 กว่าจะมีรายได้จริงๆ ก็ประมาณปี 2011 ช่วงไตรมาสที่ 1-2
thumbsup : ฟังดูแล้วเหมือนไม่มีคู่แข่งในภูมิภาคเอเชียโดยตรงเลยหรือเปล่า?
คุณโบ๊ท : เท่าที่ค้นคว้าดูยังไม่เห็นในลักษณะนี้โดยตรงหมือนกัน แต่ในเอเชียและตลาดโลก คำว่า Construction แอพพลิเคชั่น จะมีอยู่หลายตัวและส่วนใหญ่เป็น Freemium ไม่ก็เป็นกลุ่ม Construction Directory รวมผู้รับเหมาก่อสร้างและวัสดุก่อสร้างซึ่งพวกนี้มีเยอะครับ ทำรายได้จากการโฆษณาเหมือนกัน บางรายอาจทำธุรกิจสิ่งพิมพ์มาก่อนแล้วค่อยผันมากลายเป็นเว็บไซต์ อย่างของอเมริกาจะมี McGraw-Hill ที่ทำธุรกิจหนังสือต่อมาเข้าซื้อกิจการสายธุรกิจก่อสร้างเลยขยายมายังภาคธุรกิจนี้ สำหรับ Longgong ผมมีความสุขกับ Blue Ocean มาประมาณ 4 ปี (พูดไปอมยิ้มไป :D) และก็เริ่มมีคู่แข่งเกิดขึ้นโดยอาศัยเรื่องของราคามาเล่น สำหรับ Builk? แล้วพบก็ไม่ได้กลัวครับ ทุกธุรกิจย่อมมีการแข่งขัน อนาคตอาจมีคู่แข่งเกิดขึ้นก็ได้ ถึงแม้จะเป็นบริการฟรีแล้ว มันก็อาจจะมีฟรีแล้วดีกว่าในอนาคต แต่ทาง Builk ก็จะไม่หยุดนิ่งครับก็จะพยายามพัฒนาต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
thumbsup: ทราบวาคุณโบ๊ทเป็นคนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจก่อสร้างมาตั้งแต่เด็ก รวมถึงเรียนจบมาทางด้านนี้โดยตรง เลยเข้าใจภาคธุรกิจนี้เป็นอย่างดี ฟีเจอร์และความต้องการหลักๆ ทางคุณโบ๊ทสามารถให้ requirement กับทางนักพัฒนาได้ แล้วมีการเก็บ requirement จากกลุ่มลูกค้าด้วยหรือไม่อย่างไร?
คุณโบ๊ท : มีครับ หลังจากเรามีคอมมูนิตี้ ก็เป็นช่องทางสำคัญเลย เราก็ได้ requirement มาจากผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน ฟังเสียงผู้ใช้งานเป็นหลักครับ และก็มีการจัดงานพบปะกันแบบออฟไลน์ด้วย
thumbsup :?มีการเจาะตลาดต่างประเทศอย่างไร?
คุณโบ๊ท : ตั้งแต่ตั้ง Builk มาก็ตั้งใจเจาะตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น Longong ไปไม่ได้เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ Builk เป็น? Software as a Service (SaaS) ไปได้ง่ายกว่า ?ก่อนหน้านี้ก็มีไปกับสมาคมซอฟแวร์ที่ออกบูธเดินสายทั่วเอเชีย แต่ก็ยอมรับครับว่าคนมาดูงานที่ไม่ได้อยู่ในสายธุรกิจนี้ก็จะไม่ค่อยเข้าใจ แต่ถ้าเป็นกลุ่มสายธนาคาร, ธุรกิจโทรคมนาคมดูจะเข้าใจมากกว่า ผมเลยคิดว่าการไปออกงานก่อสร้างน่าจะส่งผลดีกว่าเป็นเสมือนบริษัทที่นำเสนอสิ่งใหม่ๆ ให้กับวงการนี้ หลังๆ เลยปรับแผนไปเน้นออกงานก่อสร้างมากขึ้น และไปคุยกับคนในวงการนี้ด้วยกัน อย่างตลาดที่เราสนใจก็มีเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ก็ไปคุยกับสมาคมก่อสร้างของประเทศต่างๆ โครงสร้างธุรกิจก่อสร้างที่นั่นคล้ายๆ บ้านเราครับ มี SME เยอะแยะเต็มไปหมด มีแค่สิงคโปร์และมาเลเซียที่มีลักษณะโครงสร้างต่างกัน อย่างสิงคโปร์จะใช้ผู้รับเหมาขนาดใหญ่ไปเลยและใช้แรงงานตรง ไม่ค่อยเห็นรายเล็กๆ แบบรับต่อเติมบ้าน และจากประสบการณ์ที่ได้จาก ?Echelon 2012 นับตั้งแต่การแข่งรอบแรกที่?Vietnam Satellite จนกระทั่งได้รางวัลที่ Echelon 2012 ทำให้ผมได้แรงบันดาลใจหลายๆ อย่าง และได้ Partnership จากหลายประเทศที่ไปร่วมงาน ถือว่าคุ้มค่ามากๆ เลยครับ และทำให้แผนที่จะบุกตลาดในต่างประเทศในปีหน้าก็คิดว่าน่าจะเร็วขึ้นแล้วเพราะมองเห็นช่องทาง
thumbsup : ?แผนในอนาคตอีก?4-5?ปีข้างหน้าอยากเห็น?Builk?เป็นอย่างไร?
คุณโบ๊ท :ผมอยากเห็น Builk มีคอมมูนิตี้ที่แข็งกว่านี้ ปัจจุบันมีผู้ใช้ประมาณ 4,000 คนจาก พันบริษัททั่วประเทศ ยังขยายได้อีกมาก ซึ่งหวังว่า 4-5 ปีข้างหน้าจะขยายฐานเพื่อครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้มากขึ้นและช่วยให้ผู้รับเหมาเติบโตขึ้นครับ นอกจากนี้ผมอยากเห็นคอมมูนิตี้แบบนี้ในประเทศต่างๆ และปรับให้เป็นภาษาท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ครับ ซึ่งก็ต้องจับมือหา? Partner ของแต่ละประเทศมาช่วยร่วมสร้างตรงนี้และใช้แพลตฟอร์มของ Builk
thumbsup : ได้ยินว่าหลังจากกลับมาจากงาน Echelon ได้พบ Partner มากมาย ช่วยเล่า Business Model ที่วางเอาไว้ในต่างประเทศ
คุณโบ๊ท : ผมตั้งใจว่าจะเป็นการให้ Exclusive Partnership กับตัวแทนในต่างประเทศครับ สามารถให้ความรู้ ทำตลาดแบบที่เราทำในประเทศไทย ผมต้องหาคนที่อยู่ในวงการก่อสร้างที่อยากสร้างคอมมูนิตี้ในประเทศนั้นๆ เหมือนกับเรา และคงความเป็นฟรีแบบ SaaS ไว้ ผมเข้าใจว่า เราคงขยายตัวเร็วแบบ Solomo? แอพพลิเคชั่น ไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่แค่ Localize แล้วจะเปิดตัวที่ไหนก็ได้ แม้ Exclusive Partnership มันเหมือนจะเป็นการใช้วิธีโบราณไปนิด แต่มันอาจจะเหมาะกับวงการก่อสร้างแบบเรามากกว่าครับ โดย Business Model อาจมาในรูปแบบของ Licensing แต่ยังอยู่ช่วงเจรจาอยู่ ถ้าได้ข้อสรุปอย่างไรจะมาอัพเดตให้ทราบแน่นอนครับ
thumbsup : ถ้าเกิด Builk ประสบความสำเร็จมากๆ สร้างเม็ดเงินได้เยอะ แล้วมีบริษัทสนใจที่จะซื้อบริษัท คุณโบ๊ทวางแผนไว้อย่างไร?
คุณโบ๊ท : อาจเป็นการร่วมกันแบบ Partner โดยผมยังอยากบริหารต่อไปเพราะรักที่จะทำอยู่ในสายธุรกิจนี้มาก
thumbsup: มองภาพธุรกิจ Startup แบบ?B2B? กับกลุ่ม VC ไว้อย่างไร?มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่?VC?จะสนับสนุนเงินทุน?
คุณโบ๊ท : ก็ยอมรับว่า B2B ไม่ได้เติบโตรวดเร็วแบบ B2C ซึ่งผมเห็นว่าส่วนใหญ่ Tech Startup ที่มาสาย B2B มักมาจาก Software House มาก่อน รับพัฒนาให้กับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งแล้วเห็นว่ามันพอไปได้ ก็เลยเอามาต่อยอด ซึ่งไม่ค่อยมีความเสี่ยงในระยะเริ่มต้น แต่ก็อาจไม่ได้โตมากมายอะไร ปัญหาของ Tech Startup หรือ Software House ปกติก็คือ ถ้ามี Business Model ที่ไม่แข็งแรงพอ เราจะอยู่ได้ไม่นาน เพราะบริษัทก็ยังต้องมีค่าใช้จ่าย ต้องเลี้ยงทีมงาน เรื่องขึ้นเงินเดือน เรื่องโบนัสในแต่ละปี ถ้าจัดการไม่ดีนอกจากค่าใช้จ่ายที่ควบคุมไม่ได้แล้ว ต้องเจอปัญหาเรื่องคนอีกที่อยากออกไปอยู่กับบริษัทใหญ่ๆ? ดังนั้นบริษัทควรต้องเติบโตอย่างน้อย 30% ดังนั้น Business Model ต้องมองให้ไกล เป้าหมายแรกสำหรับผมนะครับต้องมีรายได้ 1 ล้านบาทต่อคนต่อปี ถ้ามีทีม 6 คนก็ต้องมีรายได้ 6 ล้านบาทต่อปีถึงจะอยู่ได้ในช่วงแรก ส่วนใหญ่ B2B มักล้มหายตายจากไปก็เยอะมากครับ แต่มันก็ยังมีโอกาสให้เริ่มได้ ถ้าคุณมีความถนัดและเข้าใจในสายธุรกิจนั้นจริงๆ อีกทั้งไม่มีคู่แข่งมากนัก ไม่เหมือน B2C ที่นายทุนบางคนเค้าบอกผมว่าเค้าเจอคนมาเสนอแอพพลิเคชั่นแนว SoLoMo วันเว้นวัน และสำหรับคนที่มาสายไอทีเป็นนักพัฒนาอาจลองคิดแบบนี้ดูครับ ถ้าอยากลองทำสาย B2B บ้าง ลองพูดคุยกับคนที่ถนัดและเข้าใจในภาคธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง (อย่างผมก็เป็นสายก่อสร้าง) คุณอาจได้เจอมุมมองใหม่ๆ หาจุดที่เป็นปัญหาในภาคธุรกิจนั้นๆ และเข้าไปแก้ไข คุณก็อาจได้เริ่มธุรกิจด้วยกัน แต่ในสายตาของนายทุน ยอมรับว่าเค้าไม่ได้มองว่า B2C น่าสนใจมากนัก ดังนัั้นคุณต้องโตด้วยลำแข้งของตัวเองก่อน พิสูจน์ให้เห็นว่ามันเกิดและมีรายได้เข้ามาได้จริงก่อน
thumbsup : มองเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC กับกลุ่ม Startup ไว้อย่างไร
คุณโบ๊ท: มีผลกระทบแน่นอนครับ ถ้าว่ากันด้วยเรื่องการแข่งขันกับประเทศในแถบอาเซียน เราถือว่าเริ่มต้นช้าเหมือนกัน ขาดในเรื่องของระบบและสังคมที่จะสนับสนุน Tech Startup ในไทย, เรื่องทักษะด้านภาษาอังกฤษเรายังไม่แข็งแรง, เรื่องของการสร้างความรู้ความเข้าใจว่าอีก 3 ปีข้างหน้า AEC เข้ามาจะมีผลกระทบอย่างไรเพื่อให้พวกเราชาวไทยควรรีบปรับตัวให้ทัน คนไทยเราเก่งเรื่องเทคนิคครับไม่แพ้ใคร เก่งงานโอเปอเรชั่นและเป็นผู้บริหารระดับกลางได้ แต่พอเป็น? Startup มันต้องทำเองทุกอย่าง การจะก้าวไประดับเอเชียค่อนข้างยาก มีคนที่ไปถึงระดับนั้นได้ยังไม่เยอะเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
thumbsup: ข้อแนะนำสำหรับน้องๆ ที่ต้องการเป็น Startup
คุณโบ๊ท:สำหรับน้องๆ Startup ผมแนะนำว่า
- ต้องลงไปขลุกกับสายธุรกิจนั้นๆ จริงๆ ออกมาลงพื้นที่ครับ อย่านั่งอยู่กับหน้าคอมพิวเตอร์และโปรแกรมมิ่งอย่างเดียว ตอนผมทำผมก็ต้องลงไปขลุกกับผู้รับเหมาจริงๆ ต้องซึบซับมาให้ได้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือต้องไว คุณพัฒนาเสร็จแนะนำว่าควรลงไปลองตลาดว่าเป็นอย่างไร มีปัญหาตรงไหน กลับมาปรับปรุงแก้ไขให้ดี
- เรื่องการมองตลาด ผมว่าเด็กไทยหลายคนเก่งมีทักษะด้านเทคนิคมากนะครับ แต่อยากให้พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ และมองตลาดระดับภูมิภาคเอเชีย อย่ามองแค่ในบ้านเรา ยอมรับว่ากลับมาจาก Echelon เด็กๆ ในประเทศเหล่านั้นเริ่มไปไกลกว่าบ้านเราครับ? อย่างตอนไปแข่งรอบแรกที่เวียดนาม เด็กๆ ที่เป็น Tech Startup หรือแม้กระทั่งยังเรียนอยู่ มีความกระตือรือร้นมากเข้าร่วมฟังกว่า 200 คนเรียกว่าเข้ามาดูล้นห้องเลย และกล้าแสดงออกกล้าถาม สุดท้ายก็ขอเป็นกำลังใจให้กับ Startup ชาวไทยทุกคนครับ สู้ต่อไปและประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวัง
~*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~?*~
เราเรียนรู้อะไรจากการสนทนาครั้งนี้?
- วิเคราะห์ความโดดเด่นของ Builk
- รู้จักจุดแข็งของตนเอง – มีความรู้ความเข้าใจในสายธุรกิจของตนเองอย่างถ่องแท้โฟกัสมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามทิศทางนั้น
- การมองตลาดในระดับภูมิภาคเอเชีย – ทำให้สามารถเติบโต และขยายฐานลูกค้าออกไปได้กว้าง
- การวิเคราะห์ธุรกิจได้อย่างชัดเจน – เมื่อรู้ว่าต้องการเจาะกลุ่ม SME และขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศ การปรับ Business Model ให้แข็งแรงและนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายคือสิ่งสำคัญ
- ฟังความเห็นผู้บริโภค – นำคอมมูนิตี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์และลงไปคลุกคลีจริง
- เปิดรับโอกาสใหม่ๆ – สังเกตได้จากการร่วมงานต่างๆ ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจกับต่างชาติมากมาย