ในช่วงก่อนงาน Echelon 2012 จะมีขึ้น ทาง thumbsup เคยแนะนำ Proteus Agility?บริษัทเป็นผู้พัฒนาแอพพลิเคชันที่เกี่ยวกับ Agile ที่ชื่อว่า Eidos ไปแล้วครั้งหนึ่ง มาในครั้งนี้เรามีบทสัมภาษณ์พิเศษแบบเจาะลึกมากขึ้นจากผู้บริหาร Proteus Agility ทั้ง 2 ท่าน ได้แก่…
คุณปอม?กุลวัฒน์ วงศาโรจน์ ตำแหน่ง CEO และ คุณแป๋ม?สินาภรณ์ สืบวิสัย ตำแหน่ง CTO ซึ่งให้มุมมองเกี่ยวกับความเป็นมาและแง่คิดที่เกี่ยวกับ Startup ได้ดี รายละเอียดจะเป็นอย่างไรลองติดตามอ่านกันได้เลยครับ
คำออกตัวจากผู้สัมภาษณ์และผู้ถอดเทป – ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้มีการคำที่ใช้เฉพาะทาง (Technical Term) เป็นจำนวนมาก ผู้ถอดเทปจึงได้มีการปรับแก้ในบางส่วนของการสัมภาษณ์ในบางส่วน และละคำเฉพาะไว้เพื่อความลื่นไหลในการอ่านโดยยังคงความหมายที่เข้าใจได้ง่ายอย่างเดิม
thumbsup: จุดเริ่มต้นของการมาทำธุรกิจ Startup อะไรคือแรงบันดาลใจหรือจุดตัดสินใจที่จะออกมาทำธุรกิจของตัวเอง
คุณแป๋ม: Product ตัวที่ทำอยู่ (Eidos) มีมาก่อนนานแล้ว แต่ใช้ภายในบริษัท Proteus Technologies แล้ว พอใช้มาสักพักเห็นว่ามันน่าที่จะเอาออกไปขายให้คนอื่นใช้ได้ ก็เลยมีการแตกบริษัท Proteus Agility ออกมา และก็คุณ Benjamin ซึ่งเป็นเจ้าของ Proteus Technologies มาเป็น Angel Investor ให้ทุนมา แล้วแป๋มก็เป็นคนพัฒนาโปรแกรมนี้มาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว เลยย้ายมาทำตรงนี้ต่อ
คุณปอม: ขอเสริมนิดนึงนะครับว่า ตอนแรกที่แป๋มเริ่มทำที่ Proteus Technologies เนี่ยะ คือทำ Software Project โดยใช้ Agile อยู่แล้ว ก็พยายามหา Agile Tool มาใช้ แต่ไม่ถูกใจ…
คุณแป๋ม:?คือ Proteus Technologies เป็น Service Company ที่รับทำ Software เป็น Project Project ไป และด้วยกระบวนการการทำงานที่เป็น Agile แล้ว ก็เลยพยายามจะหา Tool มาช่วยจัดการกระบวนการของตัวเอง แต่ตอนนั้นไม่มีอะไรถูกใจ เลยเขียนเองเลย
thumbsup: จริงๆ ก็คล้ายๆ Basecamp เหมือนกับว่าเราอยากจะได้อะไรแต่ปรากฏว่าในท้องตลาดไม่มี ก็เลยทำมันซะเองเลยใช่ไหม…
คุณแป๋ม: ใช่ แก้ปัญหาให้ตัวเองเลยอ่ะค่ะ แต่ถ้าให้คนอื่นมาดูหรือให้คนอื่นมาลองใช้ตัวเดิมที่เป็นตัว Internal Product ถ้าคนอื่นมาใช้จะรู้สึกว่ายาก แต่ว่าถ้ามาใช้ด้วยกันหรือมีคนที่รู้อยู่แล้วใช้ไปสักพักแล้วจะติด รู้สึกมัน เอ้อ…ใช้สะดวกดีนะ ก็เลยคิดว่าเราน่าจะพัฒนาจากตรงนี้ เพื่อให้คนทั่วๆ ไปที่อยากจะใช้ Agile ได้ใช้บ้าง
คุณปอม: คิดว่ามันขายได้…
คุณแป๋ม: (หัวเราะ) คิดว่ามันขายได้
thumbsup:?แล้วทั้งคู่มาเจอกันได้ยังไง
คุณปอม: เราเจอกันที่รอยเตอร์ (ซอฟท์แวร์ ประเทศไทย) แล้วก็อยู่ในแวดวง Agile ด้วยกัน เจอกันเวลาที่ไป Conference กัน หรือว่าไปพูดที่นู่นที่นี่ก็ติดต่อกันตลอด แล้วก็จริงๆ Ben (Benjamin) ก็ชวนมาทำอยู่พักนึง จากนั้นผมก็เลยตัดสินใจอยู่พักนึง และก็เผอิญว่าจังหวะดีตอนนั้น…
คุณแป๋ม: คือ Ben เขาก็มองหาคนที่ทำทางด้าน Agile และคนที่สามารถจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ และแป๋มเองไม่ได้อยากจะเป็น CEO (Chief Executive Officer) เพราะถนัดทางด้าน Technical มากกว่า แล้วเขา (Benjamin) ก็บอกว่าพี่กุลวัฒน์(ปอม)นี่แหละที่จะมาเป็น Partner กัน และจะทำให้อันนี้สำเร็จได้ ก็เลยชวนมา
คุณปอม: คือจริงๆ ก็ตัดสินใจยากอยู่เหมือนกันในการมาทำงานที่นี่ เพราะว่าทำงานบริษัทมาตลอดชีวิต ชีวิตดูจะมีมีความมั่นคง…
thumbsup:?คุณแป๋มเป็น CTO (Chief Technology Officer) คุณปอมเป็น CEO (Chief Executive Officer) ใช่ไหม
คุณปอม: ใช่ครับ
thumbsup:?เป็นผู้หญิงที่เก่งจัง คือจะไม่ค่อยเห็นผู้หญิงลง Technical เยอะแบบนี้
คุณปอม: ด้วยความที่…เคยคิดมาก่อนว่าเป็น Developer มา แล้วก็เคยทำมาหลายตำแหน่ง ตั้งแต่ Support, Developer, Project Manager ก็คือเห็นมาแล้วหลายๆ มุม แล้วก็เชื่อใน Agile พอ Ben ชวนมาทำกับตัว Product ที่เขาคิดว่ามันจะมี Value และขายได้ก็สนใจ เลยตัดสินใจจะมาร่วมงาน แล้วช่วงจังหวะเวลามันลงตัวก็เลยได้มาทำ
thumbsup:?แล้วคิดว่า Agile เหมาะกับการทำงานในไทยหรือเปล่า
คุณปอม: คือถ้าถามผม คิดว่าถ้าเป็นองค์กรที่อยากจะประสบความสำเร็จ ก็เหมาะ (หัวเราะ)
คุณแป๋ม: เท่าที่เจอหลายๆ เจ้าที่เขาบอกว่ายากส่วนใหญ่จะเป็นที่ลูกค้า คือเวลาที่ Proteus Technologies มีลูกค้าเข้ามา สิ่งแรกที่ต้องทำคือ สอนเขาก่อนว่า Agile มันคืออะไร ถ้าลูกค้าเปิดรับแล้วก็พร้อมที่จะทำงานร่วมกับเราในแบบ Agile มันก็จะง่ายขึ้น แต่เข้าใจว่าลูกค้าหลายๆ เจ้าในบ้านเรายังยาก
thumbsup: คือมันใหม่กับลูกค้า…
คุณแป๋ม: ค่ะ แต่ถามว่ามันเป็นไปได้ไหม ก็น่าจะได้ คือต้องค่อยๆ เรียนรู้กันไป แล้วในอนาคตถ้ามองเห็นว่าเขาใช้ Agile แล้วประสบความสำเร็จมากกว่าที่ไม่ได้ใช้ มันก็คงจะขยายวงกว้างไป
คุณปอม: ความยากมันอยู่ที่ความเคยชินกับสิ่งที่เราทำมา พอมีอะไรที่ทำให้ไม่เหมือนเดิมมันก็จะเกิดแรงต้านความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันไม่ใช่จะเกิดแต่กับคนไทยหรอก ทั่วโลกก็เจอปัญหาเดียวกัน เพียงแต่ว่าเขาอาจจะเริ่มมานานกว่า ถ้าพูดถึง Maturity ในการทำ Software เขาก็มีมากกว่าอยู่แล้ว อย่างพวกยุโรปหรืออเมริกาเขาทำกันมาพักนึงแล้ว แต่กระแสเราเพิ่งมาถึง รอยเตอร์เองก็เพิ่งเริ่มเอา Agile เข้ามาใช้ แพร่มาตามกระแสนิยม คือถามผม ผมว่า Agile คือการทำ Software ที่เข้าใจธรรมชาติของ Software แทนที่จะพยายามควบคุมมัน ก็ไปเข้าใจมันใช้ชีวิตร่วมกับมันได้ยังไง คือถ้าเป็นสมัยก่อนเขาก็จะพยายามควบคุมทุกอย่าง ทุกอย่างต้อง Fix ต้องมี Change Control ถ้าดิ้นก็ต้องจับเซ็นสัญญา แต่ในความเป็นจริง Software ก็เหมือนน้ำ มันไหลไปได้เรื่อยๆ มันมีการเปลี่ยนแปลง บางคนอาจจะบอกว่าไม่มี Agile ก็ทำกันได้มาเป็นสิบๆ ปี
แต่ว่าสิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงคือตอนนี้โลกก็เปลี่ยนไปเยอะ โลกก็ซับซ้อนขึ้นทุกวัน Requirement ก็ซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้ายังใช้วิธีเดิมอยู่ก็คงไปไม่ทันแล้วหล่ะ และถ้าถามถึงเมืองไทย ผมว่าก็มีความยากถ้าไม่นับความยากทั่วไปความเคยชินในการทำ Software แบบเก่าซึ่งเป็นความยากแบบสากลอยู่แล้ว ซึ่งเขาเปลี่ยนมาใช้แบบ Agile ก็มีแรงต้าน แต่กับเมืองไทยมีเรื่องวัฒนธรรมด้วย ในเรื่องเชื่อผู้ใหญ่ หรือในองค์กรที่ต้องมีลำดับชั้น อันนั้นผมมองเป็นความยากอย่างหนึ่ง แล้วก็อีกเรื่องนึงคือการรักษาหน้า เสียหน้าไม่ได้เป็นอุปสรรคอย่างนึงเลย
คุณแป๋ม: คือ Agile ไม่ได้แก้ปัญหาการเมืองในบริษัท คือถ้ามีปัญหาการเมืองอยู่แล้วมันก็จะยาก
คุณปอม: ความยากของ Agile มันคือการเอาความจริงมาตีแผ่ แทนที่เราเอาปัญหาหมกไว้ แต่นี่เราเอามาเปิดให้เห็น คือถ้าคนมัวแต่ชินกับการไม่ชอบเอาความจริงมาพูดกัน ชินกับเช้าชามเย็นชาม มันก็ทำยาก Agile แค่เอาปัญหามากองอยู่ตรงหน้าแล้วช่วยกันแก้ไข คืออย่างที่ผมบอก ซึ่งจริง ๆ แล้วมันเป็นสิ่งที่ต้องทำถ้าคุณคิดว่าจะประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจ ถ้าอยากสำเร็จ ก็น่าจะใช้…
@thumbsupTH: คำถามต่อไปมันจะเชื่อมโยงกับข้อที่แล้ว คือแนวคิดที่จะพัฒนาตัว Software สำหรับการทำ Agile มาจากอะไร
คุณปอม: ผมเองเคยเจ็บปวดมาเยอะตอนที่ทำ Waterfall เคยเข้าไปอยู่ใน Project ที่โปรเจคใหญ่มากที่หนึ่ง มันวุ่นวายขนาดที่ต้องวางแผนกันใหม่ ต้องออกไปประชุมกันข้างนอก ไปถึงพัทยา กลับมาได้ Microsoft Project กลับมาเป็นพัน items สุดท้ายไม่ได้ทำอะไรตามแผนเลย คือทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด คนก็ลาออก เสียเวลาด้วย กลายเป็นว่าถ้าเราทำงานต่อไปใน Project ใหม่ มันก็กลายเป็นเรื่องธรรมดา Turnover มันก็สูง เดี๋ยวก็ไปหา Project ใหม่ หรือเดี๋ยว Project ก็ล่มบ้าง เคยไปขึ้นเวทีที่ซอฟต์แวร์ปาร์ค มีผู้ร่วมเสวนาเขาพูดหน้าตาเฉยว่าการทำโปรเจค Software เหมือนการโบ๊ยกันเป็นทอดๆ สุดท้ายส่งของให้ลูกค้าไม่ได้จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาของวงการ IT ก็เลยตั้งคำถามว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาจริงเหรอ จนกระทั่งไปอ่านหนังสือเจอ ไปศึกษาเจอว่ามีคนเขาทำอีกแบบนึง แล้วเขาก็ Success จึงเริ่มมารู้จัก Agile และโชคดีที่มาเจอ Benjamin คือ Ben เขาทำ Agile ตั้งแต่เขายังไม่เรียกว่าเป็น Agile
thumbsup:?เป็นคนแรกๆ ในเมืองไทยเลยหรือเปล่า
คุณแป๋ม: คือเขาย้ายมาโดยที่เขารู้จัก Agile อยู่แล้ว และเขามาอยู่ตรงนี้เป็น Manager แล้วเขาอยากจะดึงตรงนี้มาใช้กับที่ทีมที่เมืองไทยค่ะ
คุณปอม: เพราะคนจะเข้าใจได้ดีเมื่อคุณเจ็บมาก่อน คือได้ Suffer มาแล้วว่า อ๋อถ้าเราทำแบบนี้จะเจอปัญหา ในขณะที่มีคนคิดอีกวิธีนึงแล้วเขามาตอบโจทย์จากปัญหานั้น ง่ายๆ คือปกติถ้าเราทำโปรเจคธรรมดา รับ Requirement มา กลับบริษัทไปนั่งทำสัก 3 เดือน 6 เดือน เอากลับไปส่งลูกค้า มันตีกันตายตอนทำ UAT (User Acceptance Test) ส่งไปแล้วไม่เหมือนอย่างที่คิด ก็เลยส่งกลับไปอีก วนไปเรื่อยๆ ทำกันอยู่อย่างนั้น Agile ก็เลยบอกว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรู้ไปหมดว่าเราอยากได้อะไร ต่อให้ลูกค้าเองเขาก็ไม่รู้ว่าเขาอยากได้อะไรจริงๆ Agile เลยบอกว่าให้ทำ feedback สั้นๆ ทำเสร็จแล้วเอากลับมาดูไปเรื่อยๆ และแทนที่จะทำตามสัญญาที่เคยให้ไว้ เราให้ลูกค้า feedback คุยกัน โดยดึงลูกค้าให้มาเป็นส่วนหนึ่งของทีม ผมเคยพูด Model ทำนองนี้ไปเสนอกับหัวหน้าเก่าสมัยโน้น หัวหน้าบอกว่า ?จะบ้าเหรอ อย่างนี้ก็เปิดโอกาสให้ลูกค้าก็เปลี่ยนสัญญาซิ? อะไรอย่างนี้ คือถ้าอยู่ในวังวนนี้ มันจะเป็นการทำให้มันจบ ๆ ไป แล้วจะได้ไปทำอะไรอย่างอื่นต่อ คือทำตามสัญญาจริง ๆ แต่ไม่สนใจลูกค้าว่าจริงๆ เขาอยากได้อะไร ทำไปเพื่อให้มันจบแล้วเราก็ได้ตังค์แล้วไปทำอย่างอื่น มันเหมือนทำแบบขายผ้าเอาหน้ารอด
thumbsup:?ขอแทรกจากคำถามนี้หน่อย เวลาออกไป Bid งาน ไปแข่งงาน เจอคู่แข่งที่เป็นแบบเราเยอะไหม
คุณแป๋ม: ปกติ (Proteus Technologies) ไม่ค่อยได้ Bid เพราะว่า ลูกค้าเป็นต่างประเทศหมดเลย
คุณปอม: เราเลือกลูกค้าครับ (หัวเราะ)
thumbsup:?ส่วนใหญ่คือลูกค้าต่างชาติ?
คุณแป๋ม: คือมีอยู่เมืองไทยเจ้านึงก็เจ้าของก็เป็นคนต่างชาติ และก็ยังมีส่ง Proporsal อยู่เป็นคนไทยแท้แต่ยังไม่เริ่มทำงาน
คุณปอม: คือที่ผมได้คุยกับ Ben กับแป๋มผมเข้าใจว่า คือเขา (Proteus Technologies) ก็มี Process การเลือกลูกค้าเหมือนกัน คือไม่ใช่ว่าจะทำให้ทุกคน คือคุยกันแล้วโอเค เข้าใจในทางเดียวกันถึงจะไปด้วยกันได้ถึงจะทำ เพราะไม่งั้นแล้วถ้าทำไปปัญหาเยอะทีหลังมันก็ไม่คุ้ม
คุณแป๋ม: มันไม่คุ้ม คือถ้าทำงานแล้วไม่มีความสุข คือเราไม่รู้จะเอา Project นั้นเข้ามาทำทำไม คือเราก็เลือกลูกค้ากับคนที่เขาจะทำ ยอมรับความเป็น Agile ของเราได้ในระดับหนึ่ง
คุณปอม: ไม่ถึงขนาดว่าถ้าคุณไม่รู้จัก Agile เราก็ไม่ทำ เพียงแต่ว่าคุยกันแล้วเขา (ลูกค้า)พอจะ Get แล้วเราก็เรียนรู้ไปด้วยกัน ว่าเราไม่ได้ทำเหมือนเดิมนะ บางทีคุยกันแล้วเราก็ยกตัวอย่างว่า เราจะส่ง Software ให้ดูทุก 2 อาทิตย์ เอ้อ มันฟังดูดีนะ แล้วก็ทำไปด้วยกัน
คุณแป๋ม: เคย Bid งานในไทยเจ้าสองเจ้า แต่ Ben บอกว่าไม่คุ้มเลย เพราะเราไปด้วยราคาที่แพงกว่าคนอื่น เนื่องจากว่าเราคิดรอบคอบแล้ว แต่ปรากฏว่าคนอื่นมาในราคาที่ถูกกว่าเรา โดยที่ตอนจบแล้วเขาอาจจะราคาเท่าเราก็ได้ เพราะเนื่องจากเขาไม่ได้คิดรายละเอียดมาอะไรอย่างนี้อ่ะค่ะ คราวนี้ลูกค้าก็มักจะเลือกราคาที่ถูกที่สุดเสมอ และเรามองว่าเราไม่คุ้มที่จะทำในการลงรายละเอียดใน Proposal ก็เลยไม่ค่อยมีลูกค้า
thumbsup:?แล้วการทำให้ลูกค้าเขารู้จักเรา มาจากช่องทางไหน คือมาจาก Connection คนรู้จัก
คุณแป๋ม: Connection มากกว่าอ่ะค่ะ แล้วก็ต้องไปตามงาน Barcamp คือเราเป็น Sponsor ตั้งแต่แรกๆ
thumbsup:?Barcamp นี่ Geek มากเลยนะ
คุณแป๋ม: แล้วก็พวกงาน Meetup ต่างๆ ค่ะ
คุณปอม: มีลูกค้าคนไทยแท้ๆ คนนึง ผมเลยถาม Ben ไปว่าเขารู้จักเราได้ยังไง Ben เลยบอกว่า มีคนไปที่งาน Barcamp แล้วก็แนะนำให้รู้จักอีกทีว่าลองมาคุยกับ Ben ซิ แล้วก็ได้ คือคนที่จะไป Barcamp ก็จะถูกกรองในระดับหนึ่งแล้วว่าสนใจเทคโนโลยี มันก็เลยเป็น Network อีกวง? Geek Network
คุณแป๋ม: คือถ้าออกมาจากบริษัทใหญ่ๆ ถึงจะเห็น Network ตรงนี้ เพราะเราอยู่ในบริษัทใหญ่เราไม่ค่อยที่จะคุยกับคนพวกนี้
thumbsup:?โอกาสได้คุยน้อยด้วยหล่ะครับ
คุณแป๋ม: แต่พอมาอยู่ในบริษัทเล็ก ก็มาเจอคนที่เป็น Geek มันก็จะต่อกันไปเรื่อยๆ
thumbsup:?แล้วในเมืองไทย เคยเห็นองค์กรหรือบริษัทใหญ่ๆ ที่เขาใช้ Agile ในการทำงานกันบ้างไหม
คุณปอม: เท่าที่ผมรู้จักบริษัทใหญ่ๆก็ รอยเตอร์กับ DST ?ที่อื่นก็คงมีบ้างประปรายแต่ไม่มีข้อมูล
thumbsup:?ก็ถือว่าน้อยนะ
คุณปอม: คือถ้าเป็นบริษัทใหญ่ ก็จะทำตามยานแม่ว่าเขาสั่งมายังไง อย่างตอนที่ผมทำอยู่ทีมเล็กๆ ไม่กี่คน ก็พยายามทำแต่ปรากฏว่า Friction (การไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกัน) มันเยอะเหลือเกินเลยต้องสลายไป เลยเป็น Agile ตามมีตามเกิด เป็น Agile ลูกทุ่ง อยู่ไปสักพักหันไปมองทีมข้างๆ ทุกคนกลายเป็น Agile หมดเลย คือยานแม่สั่งมาว่าต้องเป็น Agile ตึ่ง เพราะไม่มีงบเยอะแยะแล้วนะ จะมานั่งทำแบบเดิมไม่ได้แล้ว
เดี๋ยวแนะนำอีกนิดว่า ตอนนี้เรามี Community ที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้นเรียกว่า Agile66 ที่โตมาจาก Blog ก่อนแล้วถึงมาเป็น Facebook Group ก็กำลังจะจัดงาน Agile Thailand 2012 …ชื่อมันยิ่งใหญ่มาก (หัวเราะ) คือเป็นการ Conference ที่เขาคนที่ทำอไจล์กันมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน เป็นช่วง 17 มิ.ย. นี้ (งานจัดไปเรียบร้อยแล้วนะครับ) จะเป็นการลองทดสอบดูว่าจะมีคนสนใจไหม แต่ก็ไม่ได้เปิดเยอะแยะอะไรเพราะเราไม่ได้มีกำลังมากมาย แต่พอเปิด Sign-up ปุ๊บ ก็เต็มเลย แต่กลุ่มคนสนใจก็ยังมีน้อยอยู่
คุณแป๋ม: แต่พอทุกครั้งที่เราพูดถึงคำว่า Agile ที่งานไหน ไม่ว่าจะ Software Park หรืออะไร ก็จะมีคนที่เข้าไปฟังตลอด
thumbsup:?แล้วคนส่วนใหญ่ที่เข้าไปฟังนี่เป็นใคร
คุณแป๋ม: เป็นบริษัทต่างๆ ที่เคยได้ยินว่า Agile ว่ามันคืออะไร คือส่วนใหญ่ยังไม่เคยมีใครที่จะทำจริงจัง แต่ว่าเขาอยากจะรู้
thumbsup:?เป็นนักพัฒนาอย่างนี้ด้วยใช่ไหม อย่างคนที่อยู่ในไอที องค์กรต่างๆ
คุณแป๋ม: คือเหมือนกับเขาอาจจะเคยได้ยินมาอะไรอย่างนี้อ่ะค่ะ
คุณปอม: เมื่อสมัย 4-5 ปีที่แล้ว พูด Agile ออกไปก็ไม่มีใครรู้จัก แต่สมัยนี้มันต่างกันที่ว่า เหมือนเคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร มันยังพอเข้าๆ มาบ้าง กำลังมา ขอโยงนิดนึง จริงๆ Eidos ที่เป็น Product ที่เราทำอยู่นี่ เราก็ไม่ได้ตั้งเป้าที่จะขายกับบริษัทไทย ไม่ได้บอกว่าจะไม่ขายบริษัทไทย แต่เป้าของเราคือ Go Inter ถ้าพูดจริงๆ ขายเมืองไทยก็คงขายไม่ออก บางบริษัทที่เขาอยากจะไปใช้ แต่เขาคงไม่อยากที่จะเสียตังค์กับตรงนี้จากที่ผมมองนะ แค่ถามว่าใครทำ Agile บ้างเนี๊ยะก็นับตัวได้แล้วในเมืองไทย ซึ่งเขาก็คงไปเริ่มที่ของฟรีก่อน เราก็มอง Global ไปเลย แต่ว่าในเมืองไทยเราก็มีธุรกิจที่หาลำไพ่ตัวเอง ด้วยความที่เราก็มีความ Expertise Agile เราก็เลยทำ Agile Training ไปด้วย ก็มีบริษัทเข้ามาติดต่อบ้างให้ไปทำ Agile Training เราก็อาจจะแนะนำ Tool เราด้วยไปในตัว แต่ไม่ได้มอง Training เป็นธุรกิจหลัก
thumbsup:?การแข่งงานกับต่างประเทศ เมื่อสักครู่บอกว่าส่วนใหญ่มาจาก Connection?
คุณปอม: แป๋มพูดถึงบริษัทอีกบริษัทนึงที่อยู่ตึกเดียวกัน คือ Proteus Technologies
คุณแป๋ม: เป็นบริษัทแม่เราคือ Proteus Technologies
คุณปอม: ที่เขาทำ Custom Service
คุณแป๋ม: บริษัทเราชื่อ Proteus Agility
คุณปอม: เราทำ Product เราทำตัว Eidos มาขาย เหมือนกับว่าเราไปลงทะเบียนสมัคร Hotmail, Gmail มันเป็น SaaS (Software As A Service) เพราะเราไม่ได้ไป Bid แข่งอะไรกับใคร เรามี Tool อยู่ เรา Promote ว่า Tool จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ สนใจก็เอาไปใช้
thumbsup:?อ๋อ คนละส่วนกัน
คุณแป๋ม: ค่ะ
thumbsup:?คำถามถัดมา จุดเด่นที่สำคัญของ Eidos เมื่อเทียบกับการใช้งานในแบบเจอหน้ากัน (Face-to-Face) คืออะไร
คุณปอม: คือมองว่า Face-to-Face เป็นการสื่อสารที่มี Bandwidth ที่สูงที่สุด เราคุยกันอย่างนี้ ดีกว่าโทรคุยกัน ดีกว่าเราส่ง e-mail คุยกัน Face-to-Face จะ work มากถ้าเป็นทีมเล็กๆ อยู่ที่เดียวกัน พอทีมเริ่มใหญ่ขึ้นต่อให้อยู่ในตึกเดียวกัน แต่ว่ามีหลายทีม คนละชั้น หรืออยู่คนละที่กันอย่างเป็นพวก multiple sites หรือ distributed team อย่าง tester อยู่กรุงเทพฯ แต่ developer อยู่ New York จะเริ่มทำงานยากแล้ว ไม่ใช่แค่เรื่องภาษาที่มันยากเพียงอย่างเดียว ต่อให้พูดภาษาเดียวกัน แต่การทำงานร่วมกันมันเกิดขึ้นลำบาก Eidos จะเข้ามาอุดเรื่องพวกนี้ ด้วยเราเข้าใจว่า Agile มันต้องใช้อะไรบ้างในการที่ทำ Agile ในแต่ละ Practice คุณต้องการข้อมูลอะไรเพื่อมาประกอบการตัดสินใจ มาช่วยให้การทำงานร่วมกันมันง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น
คุณแป๋ม: คือจริงๆ ถ้าอยู่ในห้องเดียวกันอย่างนี้น่ะค่ะ การมีกระดาน Whiteboard มี Post-it มาแปะ ก็คือจบแล้ว แต่ว่าในบางที พอกระดาษ Post-it มันเริ่มเยอะ มันจัดการลำบาก คอมพิวเตอร์มันเก่งที่มันจัดการข้อมูลต่างๆ ได้เร็ว ก็คือพอเราเริ่มมี Data เยอะ Eidos ก็จะเริ่มมีคุณค่ามากขึ้นในการที่จะดึงข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมาแสดงอย่างง่ายแทนที่เราจะต้องไปนั่งค้นหากระดาษที่เราอาจจะทำเสร็จไปแล้วเมื่อ 4 Iteration ที่แล้ว
คุณปอม: ใช้ JIRA ไหมครับ (JIRA เป็น Tool ที่ใช้ในการ track issue, bug และ project management)
thumbsup:?ใช้ครับ
คุณปอม: ใช้ยากไหมครับ
thumbsup:?ก็ไม่ยากนะครับ (หัวเราะ)
คุณปอม: เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ผมเอา JIRA เข้ามาใช้ในทีมเล็กๆ ผมก็ชอบมากเลย JIRA คือเอามันมาช่วยในการ manage project ใช้มาจนถึงจุดที่เรียกได้ว่า… Ben เรียกผมว่าเป็น Saleman ขาย JIRA ไปแล้ว (หัวเราะ) มาถึงจุดที่ผมเห็น Toolหลายๆ ตัวจนผมเรียกได้ว่า JIRA มันยาก จริงๆ นะ คือผมเห็นจุดที่ใช้งาน ผมมองถึงความยากของพวก Tool เหล่านี้คือมันจะติดความ Complex นิดนึง คือถ้าคุณทำอะไรบางอย่าง เมนูมันเต็มไปหมดเลย คือเวลาผมจะไปทำผมต้องเข้าไปกด 4-5 ครั้งกว่าจะได้ข้อมูลที่อยากจะได้ สิ่งที่ต่างกันกับ Eidos ก็คือว่า เราเรียก Design ว่าเป็น Context Aware คือเราจะมองว่าสำหรับงานๆ หนึ่ง เราจะมีหน้าๆ นึงให้คุณมีทุกอย่างพร้อมอยู่ตรงนั้นเลย
สมมติว่าเราทำ Release Planning ใน Release Planning ต้องการอะไรบ้าง เรามีข้อมูลให้หยิบจับง่ายๆ มีข้อมูลทุกอย่างกองไว้ให้รอใช้งานเลย หรืออย่าง Iteration Planning มีอะไรบ้าง ในขณะที่ใช้ Tool อื่นๆ อย่าง JIRA ต้องไป Query ข้อมูลมาก่อน ต้องไปเปิดหน้านั้น หน้านี้ กว่าจะได้อะไรสักอย่าง
คุณแป๋ม: JIRA เขา Focus คนละอย่าง Data มีอะไรบ้าง แต่ของเรา Focus ว่าเวลาทำ Agile เรามีพิธีกรรม เช่น Iteration Planning หรือว่าเรา Standup Meeting กัน เราก็ต้องการ Whiteboard อะไรอย่างนี้อ่ะค่ะ คือมันก็จะมีหน้านึงสำหรับ Whiteboard , Release Planning อาจจะอยากเอา Story มาเรียงกันแล้วมาดูซิว่า มี Burn down chart ว่ามันจะไปเสร็จเมื่อไหร่อะไรอย่างนี้อ่ะค่ะ ก็คือจะมีให้อีกแบบนึง
thumbsup:?ก็คือ 1 หน้าจอ (UI: User Interface) ก็แทนด้วยหน้านึงไปเลย
คุณแป๋ม: ใช่ คือ Data เดียวกันแต่เอามาแสดงผลต่างกันตามหน้าจอ เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานอะไรประมาณนี้ค่ะ
thumbsup: มีอยู่คำถามนึง อันนี้สงสัยอ่ะ ตัว Eidos คือเท่าที่ฟังแล้วมันจะเป็น B2B (Business to Business)
คุณปอม: ครับ
thumbsup: มันมีแบบ B2C (Business to Customer) ด้วยหรือเปล่า
คุณปอม: พอดีว่า Nature ของเรามันต่างจาก Consumer Product อย่าง ShopSpot คือมันไม่ใช่ Mass ก็ต้องถามก่อนว่าลูกค้าของเราคือใคร ลูกค้าของเราคือ Software Developer หรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา Software ก็คือลูกค้าหมด ซึ่งส่วนใหญ่เราคงไม่ไปขายคนทั่วๆ ไป อย่างเช่นมีน้องเขียน Software คนเดียว จะไม่ได้ประโยชน์จากเรามากนัก ถามว่าจะซื้อแล้วเราจะขายไหม เราขาย (หัวเราะ) หลักๆ คือเราไปตอบโจทย์กับคนที่ทำงาน IT มากกว่าและต้องการการการทำงานร่วมกัน คนที่ทำงานเป็นทีม ก็จะเป็นบริษัท จริงๆ ไม่เป็นบริษัทก็ได้ เป็นกลุ่มคนที่จะเอาไปใช้ ผมยังมองว่าเป็น B2B ก็คงใช่ แต่มันคงไม่ใช่ Consumer Market ที่อยู่บน iPhone แล้วเอาไปใช้ คือใครก็ตามที่พัฒนา Software เป็นทีม นี่แหละกลุ่มเป้าหมายของเรา แม้แต่กลุ่ม Startup เองก็เป็น Potential Customer เหมือนกัน เราอาจจะมี Small Package ให้กับ SME ก็ว่ากันไป เพราะว่า Startup เป็นคนเขียน Code แนวลูกทุ่ง เขียน Software ให้เสร็จแต่ว่าโอเค มันได้แค่ตอนแรก ถ้าเราต้องการขยายออกไปตอนติดตลาด เราต้อง Scale ให้ได้ ต้องมีการพัฒนาต่อยอด มันไม่ใช่แค่ Mockup (ตัวจำลอง) แต่มันต้องทำให้ได้จริง ต้องการ Process ต้องการทำให้พัฒนาได้อย่างยั่งยืน และ Scale ได้จริงๆ คือต่อให้ไม่เอา Tool ของเราไปใช้ แต่เราก็ยังคงแนะนำให้ใช้ Agile?ถ้าอย่างเราไปดูอย่าง Lean Startup ?หลักๆ ก็คือ ผมเข้าใจ Agile มาก่อน มันคือการขยาย Agile ออกจาก Software Development เข้าไปใน Business Model คือมันไม่ใช่แค่ทำแบบ Big Planning 3 เดือน 6 เดือนแล้วรอผล แต่มันคือทำเอา Feedback เอา Feedback แล้วก็ Pivot ไปเรื่อยๆ มันก็คือหลักการของ Agile คือ Agile มันไม่ใช่อะไรใหม่ แต่มันคือการหยิบเอา Practice ที่ประสบความสำเร็จต่างๆ มาผสมกันแล้วก็มาแปลงเป็น Agile คือจริงๆ สิ่งที่เขาทำมาก่อนอย่าง Extreme Programming หรืออย่าง Scrums คือมันเกิดมาก่อนที่จะมีคำว่า Agile แล้วเขาก็บอก เฮ้ย อันนี้มันดีว่ะ อยากประกาศให้โลกรู้ เขาก็ตั้งชื่อว่าเป็น Agile
คุณแป๋ม: คือเขามานั่งคิดกันว่าอะไรที่เป็น Common ระหว่าง Practice ของแต่ละคน แล้วก็เขียนออกมาเป็น Agile Manifesto
คุณปอม: คือใครก็ตามที่อยากทำ Software ให้มันเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน ไม่ใช่ทำแบบฉาบฉวย ควรจะใช้ Agile ถ้าจะให้ดีก็ใช้ Tool เรา (หัวเราะ)
thumbsup:?แผนในอนาคตของบริษัทมีอะไรบ้าง
คุณปอม: คร่าวๆ คือว่าเราวางแผนจะออก Beta ในไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 แต่เรายังไม่ได้ Scope ชัดเจนว่าจะอะไรยังไง แต่เราก็จะปล่อยให้ลูกค้าได้ลองใช้งาน และได้เห็นบ้าง และตั้งใจว่าจะ Launch ในไตรมาส 3 ก็คือเอา MVP (Minimum Viable Product: ส่วนหลักที่สามารถใช้งานได้จริง) ออกไปก่อน แล้วก็ Plan คร่าวๆ เราจะใส่ Feature ใหญ่ที่สุดซึ่งเราไม่สามารถอัดลงไปได้ในไตรมาส 3 นี้ อย่างการเพิ่มการสนับสนุน Kanban เข้าไป แต่ว่าไม่แน่ต้องรอดูอีกทีนึงค่อยว่ากัน คือเราต้องดูทิศทางของคนใช้ ว่าใช้แล้วเป็นยังไง แล้วจะไปทางไหนต่อ ถ้าพอเห็นภาพคร่าวๆ Roadmap ก็คงเป็นตอนปลายปี Beta Launch แล้ว Big Feature น่าจะเป็นธันวาคม
thumbsup:?ความคาดหวังที่จะไปงาน Echelon ในครั้งนี้ ว่าจะได้อะไรมา เช่น connection
คุณปอม: เราประหลาดนิดนึง ถ้าเราไปเทียบกับ Consumer Product อันอื่น เรามีข้อด้อยที่ว่า มันไม่ได้ดึงดูดใจ มันไม่ได้จะไปจับตลาดเป็นล้านคนมันเป็น Market อีกแบบนึง ความคาดหวังเหล่านี้เราไม่ได้คาดหวังกับนักลงทุนเป็นหลัก เราคาดหวังว่า เราไป Raise Awareness ว่าเราทำอันนี้อยู่ เราจะทำอันนี้ เราไปประกาศให้โลกรู้ว่านี้คือ Roadmap ของเรา อย่างน้อยให้นักลงทุนเองรู้ว่า อ๋อ มีคนทำอย่างนี้อยู่ และถึงจุดหนึ่งเราทำได้ เขาก็ เอ้ย เราทำได้จริง ก็คือเอาแบรนด์ไปขาย
คุณแป๋ม: จริงๆ แล้วก็คือเหมือน investor เองที่เขาไปลงทุนกับ Startup เขาก็อยากให้ประสบความสำเร็จใช่ไหมค่ะ ถ้าเขาเห็นว่าเอ้อ Tool เรามันช่วย เขาก็จะไปแนะนำ Startup อื่นๆ ว่า Tool นี้ดีนะ มาใช้อันนี้แล้วมัน Light แล้วก็ช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว
คุณปอม: แล้วก็ไปทำความรู้จักกับ Startup คนอื่นๆ มันก็คือ Potential Customer มันก็คือการเอาลูกค้ามากองรวมกันแล้วเราก็เข้าไปคุย เราพอจะช่วยอะไรเขาได้บ้างไหม คือเรามองว่าเขาเป็นลูกค้าไปด้วย
คุณแป๋ม: คือเราเองยังไม่ได้ต้องการ Investor ขนาดนั้น อาจจะต้องเติบโตไปอีกสักหน่อย แต่ถ้าสนใจเราก็คงคุยกันได้ต่อไปเรื่อยๆ
thumbsup:? คิดว่าหลังจากกลับมาคงน่าจะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น…
คุณปอม: คืออย่างน้อยๆ ถ้ามีคนสนใจ Beta ของเรา
คุณแป๋ม: จริงๆ แล้วมีคนสนใจ Beta เยอะ พูดแล้วก็รู้สึกกดดันนิดนึง (หัวเราะ)
คุณปอม: เพื่อจะให้เรามีแรงบันดาลใจในการทำครับ
thumbsup:?คือมีคนติดต่อแล้วใช่ไหมครับตอนนี้
คุณแป๋ม: คือเนื่องจากเรามีกลุ่ม Agile ของเราอยู่แล้ว มันก็เลยกลายเป็นปากต่อปาก ก็เลยพูดกันว่า น่าสนใจนะนี่ คือคนในกลุ่มก็รอ Beta กันอยู่
thumbsup:?คราวนี้มองกลับมาที่ Startup ในเมืองไทย คิดว่า Startup ที่เป็น B2B ในเมืองไทย กับ VC (Venture Capital) จะมีทิศทางเติบโตไปยังไง แล้วถ้ามี AEC เข้ามาแล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้นในบ้านเราน่าจะเป็นอย่างไร
คุณปอม: คือถามผมเมื่อสัก 6 เดือนที่แล้วก่อนมาทำ ยังไม่รู้จักเลยว่า Startup คืออะไร คือเคยได้ยินเฉยๆ อ่อ Facebook, Google เป็น Startup แล้วยังไง เพราะเราอยู่ในโลกขององค์กรมาตลอด ดังนั้นผมเลยวาดภาพว่ามันคงไม่ใช่สิ่งที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจนักถ้าผมอยู่ในเมืองไทยนะ ยิ่งนักลงทุนก็ยิ่งไม่รู้จักอยู่ดี ผมคุยกับ Ben เขาก็พูดประมาณว่า เมืองไทยเขาไปลงทุนกับอิฐกับปูน เปิดโรงงานให้ตังค์ไปทำโรงงานทอผ้า ไปผลิตแล้วก็ได้ผลตอบแทนมา นั่นคือสิ่งที่เขาคุ้นชิน ถ้าบอกว่า Startup… ใครจะไปกล้าลงทุนถ้าเขาไม่รู้จักว่ามันคืออะไร ผมมองว่า โชคดีตอนนี้เรามีคนนำร่องแล้ว เรามี ShopSpot เริ่มเป็นที่รู้จักบ้าง อย่างน้อยก็รู้ว่ามีเด็กไม่กี่คนทำของขึ้นมา แล้วยิ่งถ้าเขาประสบความสำเร็จขึ้นมา ก็จะยิ่งทำให้คำว่า Startup เป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้วก็เริ่มมีคนทยอยตามมา มี Builk มี Eidos ก็หวังว่าจะเป็นหนึ่งในนั้นที่ประสบความสำเร็จตามมา ถึงจุดหนึ่งถ้าเกิดว่า ตอนนี้เริ่มมีแรงดันจาก Instagram เอย Facebook เอย ก็เริ่มพูดถึงมากขึ้น คำว่า Startup ก็เลยถูกยัดเยียดในสมองคนแล้ว ผมว่านักลงทุนก็น่าจะรู้จักมากขึ้น
พอเราเปิด AEC มันก็ถือว่าเป็นโอกาสมากขึ้น AEC มีผลอย่างไร ผมมองว่ามันคงจะมองตลาดเมืองไทยอย่างเดียวไม่ได้แล้ว เราชอบจะคิดแต่ว่าชาตินิยม หรืออะไรทำนองนี้ ?ของไทยทำทำให้คนไทยใช้? คือเขาไป Global กันหมดแล้ว
คุณแป๋ม: เราต้องคิดไกลไปกว่านั้น
คุณปอม: คือผมมองโอเค ถามว่ามีคนสองคนมาสมัคร ถ้าคนมีความสามารถเท่ากัน ผมก็เอาคนไทยก่อนถูกไหมครับ แต่ว่าผมคงไม่ปิดโอกาส สมมติเขาเดินเข้ามาช่วยเราได้ถึงแม้จะไม่ใช่คนไทย คือผมไม่ได้แปลว่าไม่ได้มีความรักชาติ แต่เรามองเป็น Global หมด แม้เรื่อง Technical เนี๊ยะ คือเราก็ต้องยอมรับว่าเราก็เรียนรู้อะไรจากเขาได้ เราเรียนรู้จากคนที่ทำมาก่อน อย่างในบริษัทเนี๊ยะ Ben เองก็มี Connection เป็น Developer ชาวต่างชาติเยอะแยะไปหมดเดินเข้าเดินออกบริษัท เราก็แลกเปลี่ยนความรู้กัน เรามีบางอย่างเราทำได้ดีกว่าเขา บางอย่างเขาทำได้ดีกว่าเรา คือเส้นมันเบลอไปหมดแล้วครับ ยิ่ง AEC ยิ่งทำให้เส้นแบ่งตรงนี้เบลอเข้าไปใหญ่
คุณแป๋ม:?จริงๆ ไม่เคยเจอประเทศอื่นนะคะ แต่ที่เคยเห็นมาคือคนสิงคโปร์เขาสนใจทางด้าน Business มากกว่า คนของเขาก็ไม่ค่อยมี Developer และหา Developer ยาก แต่มองว่าประเทศไทยมีคนที่ถนัดทางได้ Technical เยอะมาก เพราะเท่าที่ดูว่างาน Barcamp ที่สิงคโปร์มีคนไปนิดเดียว ของประเทศไทยเรานี่จัดทีนึง 400-500 คนเข้าไปแล้ว แต่อีกอย่างนึงเลยคือเราอาจจะไม่ชอบภาษาอังกฤษที่ทำให้เราดูด้อยไปกว่าคนอื่น แต่คิดว่าสักวันหนึ่งเราคงจะพ้นจากจุดนี้ ถ้าเปิด AEC แล้วเราได้สนทนากับคนต่างประเทศมากขึ้น เราคงได้พัฒนาตนเองขึ้นมาตรงนี้
thumbsup:?ลืมถามไปประเด็นนึง คู่แข่งกับทาง Eidos ที่เราเคยไปเจอในต่างประเทศมาจากประเทศไหนเป็นส่วนใหญ่
คุณปอม: จะมาจากฝั่งอเมริกา มียุโรปบ้าง
thumbsup:?อินเดียหรือฝั่งเอเชียมีไหมครับ
คุณปอม: เราอาจจะยังไม่เจอคู่แข่งแถวๆ นี้…
คุณแป๋ม: จริงๆ เราไม่ได้ไปสืบเลยว่าคนเริ่มทำมาจากที่ไหน ที่บอกว่าเป็นอเมริกาคงเพราะเขาทำ Agile กันทั่วหน้าแล้ว แทบจะไม่เหลือใครที่ทำ Waterfall Model แล้ว เราเลยอยากพัฒนา Tool นี้ ให้ไปขายได้ที่ตลาดตรงนั้น
thumbsup:?อินเดียก็ไม่ค่อยมีหรือเปล่า เพราะจริงๆ เขาชอบบอกว่าเขาเป็น Silicon Valley…
คุณปอม: ต้องบอกว่าอินเดีย ยังคงเป็นตลาดแรงงานของ Silicon Valley คือต้องถามว่ามี Product อะไรที่ออกมาจากอินเดียจริงๆบ้าง?
คุณแป๋ม: เหมือนกับว่าเขาจะรอรับว่าฝั่งนู้น (อเมริกา) เขาว่าอะไรมา เขาก็จะทำตามนั้น
คุณปอม: เขายังปรับตัวกับ CMMI (Capability Maturity Model Integration มาตรฐานกระบวนการในการพัฒนางาน) level 5 กันอยู่ มา Agile ไม่ทัน
คุณแป๋ม: คุณ Ben เคยเล่าให้ฟังว่า ทำไมถึงไม่มี Innovation อะไรออกมาจากอินเดียและเอเชีย เพราะว่าคนบ้านเราทำอยู่ในบริษัทใหญ่ๆ เป็นส่วนใหญ่ คนเก่งๆ จบออกมาก็ต้องเข้าไปทำบริษัทใหญ่ พอทำงานสักพักไม่เกิน 3 ปี จากคนที่เก่ง Technical มากๆ ก็ถูกดันให้เป็น Manager หลังจากนั้นก็ไม่ได้ Code อีกเลย ก็คือไม่ค่อยมีบริษัทไหนที่มี Technical Career Path ก็คือจะไม่มีการพัฒนาตัวเองทางด้าน Technical ขึ้นไปเรื่อยๆ ค่ะ
คุณปอม: คือถ้าเราไปบอกว่าเราทำงานมา 5 ปีแล้วยังเป็น Developer อยู่ มันเหมือนกับเราไม่มีความเจริญก้าวหน้าเลย ถ้าเป็นฝั่งเอเชียนะ
คุณแป๋ม: คือเราถูกปลูกฝังไปแล้วว่า 3 ปีเราจะต้องเป็น Manager นะ จริงๆ แล้วมันมีทางเดินทางอื่นอีก อย่างที่ Proteus Technologies คือพนักงานคนไหนอยากจะ Technical ก็ Technical ไปกันจนวันตาย มันขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน
คุณปอม: อย่างที่แป๋มบอก ถ้าทุกคนไปเป็น Manager กันหมดแล้วใครจะทำ? (หัวเราะ) แล้วสุดท้ายถ้า Career Path มันโดนหยุด แล้วก็กลับมาตั้งคำถามว่า ฉันจะทุ่มไปทำไมเพราะทุ่มยังไงก็ไม่เจริญ ฉันก็ไปทางนี้ดีกว่า ต้องบอกว่าผมเองมีประสบการณ์ทำงานเป็น Developer อยู่ที่อเมริกา ถึงแม้ได้ทำอยู่ไม่นานแค่ 2-3 ?ปีแต่เรารู้สึกได้ว่าเรามีค่ากับบริษัทที่เขาดูแลเหมือนเป็น Asset (ทรัพย์สิน) คือเรารู้สึกได้เองว่าเรามี Value เรามีความสำคัญกับบริษัท ในขณะที่ผมมามองคนทำงานในบ้านเรา Programmer มันเหมือนคนใช้แรงงาน อะไรทำนองนั้น ความรู้สึกมันต่างกัน แล้วใครมันจะไปลงทุนกับตรงนั้น สุดท้ายก็หนีไปเรียน MBA กันหมด
thumbsup:?สุดท้าย ฝากข้อคิดหรือใครที่มีแรงบันดาลใจให้กับคนที่อยากจะมาเป็น Startup?
คุณปอม: ให้ทำทันที!
คุณแป๋ม: ให้ทำทันที!
คุณปอม: ยกตัวอย่างน้องที่ทำงานอยู่กับบริษัทตอนนี้ กำลังขึ้นปี 4
น้องบีม: คือผมไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ Stanford ไปเปิดหูเปิดตา ไปเอาภาษา
คุณแป๋ม: น้องๆ เขาอยากทำ Startup คือยังเรียนไม่จบ แต่อยากฝึกงานไปเรื่อยๆ ก็ทำเลยอ่ะค่ะ คือเข้ามาลองทำงานเลยจริงๆ
thumbsup:?ทำเลย อย่าคิดเยอะ…
คุณแป๋ม: คือแก่แล้ว ก็มีภาระหน้าที่เยอะ มีลูกแล้ว มันจะเริ่มยาก เริ่มคิด เอ๊ะ…ฉันจะเอาตังค์ที่ไหนมากินข้าว คือ Startup จะไม่ค่อยมีตังค์ในช่วงแรกๆ
คุณปอม: อย่างแรกๆ เลยคือต้องเปิดหูเปิดตาก่อน ทุนยังไม่ต้องมีก็ได้ คือมันเหมือนว่าเราถูกครอบในระบอบแบบเดิมๆ เรียนจบ ทำงานเข้าบริษัท มีอยู่ Path เดียว ในขณะที่ในโลกความเป็นจริงมีอีกมากมาย แต่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยสัมผัสเรื่องพวกนั้น อาจจะไม่เคยได้ยินว่าคนทำแล้วประสบความสำเร็จยังไง ตอนนี้มันเริ่มได้ยินแล้ว เราหันมาดูว่ามันไม่ได้มีอยู่ Path เดียวที่คุณจะทำได้ มันมีเส้นทางอื่นๆ ให้คุณได้ลอง …ต้องออกจากกะลา
คุณแป๋ม: คือเราอยากจะไปทำงานที่ Google จังเลย แต่เราไม่ได้มองว่า Google มาจากอะไร และเราจะเป็นเหมือน Google ได้ยังไง
thumbsup:?จริงๆ แล้ว Cost ทางบริษัทก็มีไม่ค่อยเยอะใช่ไหม
คุณปอม: ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่คุณจะออกจากงาน แล้วมาตั้งบริษัทเอง ทำไมเหรอ เพราะว่าทุกอย่างถูกถ้าเทียบราคา Infrastructure กับเมื่อ 5-10 ปืที่ผ่านมา เพราะทุกอย่างอยู่บน Cloud อย่าง Amazon Web Service คุณไม่ต้องไปจ้างทีมงานมาดูแลระบบต่างหาก เพราะเราซื้อบริการเขาดูแลให้หมด แถมยังนับวันราคายิ่งจะถูกลง เพราะเขา (Amazon) อยากจะให้คนมาใช้บริการของเขาเยอะขึ้นๆ สุดท้ายทุกๆ อย่างมันอยู่ที่ idea และคุณก็หาคนที่ไว้ใจได้และมีฝีมือในระดับหนึ่งและเริ่มทำเลย ภาษาอังกฤษอาจจะเป็นอุปสรรคหนึ่งของบ้านเรา แต่ในทีมเราไม่ต้องพูดภาษาอังกฤษก็ได้ แค่ทำยังไงให้มันประกอบร่างกันในทีมได้
คุณแป๋ม: และความรู้มันก็มีอยู่ทั่วไป มันอยู่บนอินเทอร์เนตหมดแล้ว
thumbsup:?ทุกอย่างมันอยู่ที่คำว่า ?เริ่ม??
+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+
สิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากได้สัมภาษณ์กับ Proteus-Agility
- ซอฟท์แวร์ที่พัฒนาเกิดจากแก้ปัญหาของตัวเองและคาดหวังว่าน่าจะช่วยแก้ปัญหากับคนอื่นได้
- ทำในสิ่งที่ตนถนัดอยู่แล้ว นั่นคือ Agile
- มุ่งสู่ตลาดโลกเป็นหลัก ตลาดไทยเป็นรอง
- Startup เมื่อคิดได้ จงลงมือทำเลย อย่าไปรอ