ด้วยมูลค่าตลาดเบียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญนั้น ถือว่ามีการเติบโตในทิศทางที่ดีมาก แต่สำหรับในประเทศไทยการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์กลับเป็นเรื่องที่ไม่ถูกกฏหมายและคนส่วนใหญ่ก็มองว่าเป็นเรื่องที่ผิด ทำให้ Wishbeer ที่แม้จะให้บริการสินค้าประเภทนี้ผ่านอีคอมเมิร์ซ และมีอัตราการเติบโตมาก ก็ได้เดินหน้าขายเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อลบภาพความเป็นเบียร์เพียงด้านเดียว
แค่ได้ยินชื่อ หลายคนอาจคิดว่าจุดเริ่มต้นของ Wishbeer คือขายเบียร์ แต่ที่จริงแล้วเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับผู้ที่มองหาเครื่องดื่มนำเข้าทุกประเภทและถือว่าเป็นธุรกิจออมนิแชนแนล แม้ว่าช่วงแรกของการนำเข้าจะเป็นสินค้าเบียร์ เพราะทีมบริหารมองว่า เครื่องดื่มประเภทนี้ แม้จะมีเจ้าตลาดครองอยู่แล้ว แต่ยังมีเครื่องดื่มอีกมากที่ถูกผลิตมาและไม่ได้นำเข้ามาขาย เสมือนปิดกั้นรสชาติใหม่ ซึ่งคนที่สามารถดื่มได้จะต้องมีกำลังที่ค่อนข้างดีหรือเดินทางไปชิมถึงประเทศผู้ผลิต ทำให้ผู้มีรายได้ระดับกลางและคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยเดินทางได้ลองชิม
เมื่อเดินทางมาถึงจุดหนึ่ง Wishbeer มองว่าจะทำธุรกิจเพียงด้านเดียวไม่ได้ เพราะจุดเริ่มต้นของ เจโรม เลอ ลูแอร์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของ บริษัท วิชเบียร์ ไม่ใช่คนขายเบียร์ แต่เป็นนักธุรกิจด้านไฟแนนซ์ ระดับ CFO ของบริษัทชั้นนำ สัญชาติฝรั่งเศส ที่มีฝีมือด้านการตลาดและปั้นแบรนด์ธุรกิจออมนิแชนแนล จนทำให้ Wishbeer เป็นที่รู้จักในระยะเวลาไม่นาน
Startup ของไทยมีจำนวนเยอะมาก แต่ยังจำกัดอยู่ในธุรกิจที่ซ้ำๆ และใกล้เคียงกัน ไม่กล้าที่จะออกมาจากระบบเดิม เพราะมีแนวคิดว่าต้องการทำธุรกิจแบบไม่เจ็บตัวเยอะ หากไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ไม่ค่อยมีธุรกิจที่แตกต่างและล้มหายตายจากไปมาก
“หากคุณเป็น Startup แบบจับเสือมือเปล่า อาจจะเหนื่อยหน่อย เพราะแนวคิดแบบนี้จะทำให้ธุรกิจอยู่ได้แบบไม่ยั่งยืน ซึ่งนักลงทุนเขามองออกว่าคุณจริงจังกับการทำธุรกิจมากแค่ไหน”
เจโรม เริ่มต้นการเป็น Startup ด้วยการขึ้น Pitch บนเวที Echelon Thailand 2014 และได้รับการติดต่อจาก 500tuktuks เพราะเขาเห็นว่าผมจริงจังและเป็นแนวธุรกิจที่ไม่ซ้ำกับรายอื่นๆ ในตลาด นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัล Startup ที่น่าจับตามองในงาน Top 100 APAC ของปี 2558 และ 2561 ด้วย
อย่างไรก็ตาม แผนในอนาคตของ Wishbeer คือ การเตรียมพัฒนาระบบเทคโนโลยี สำหรับการบริหารจัดการร้านค้า หรือ POS รวมทั้งบริหารจัดการข้อมูลของลูกค้าที่เข้ามาภายในร้านอาหาร ให้เข้าถึงลูกค้าได้ดีกว่าเดิม เรียกว่าเป็น Startup ที่เชี่ยวชาญด้านระบบบริหารจัดการ
เริ่มธุรกิจด้วยออมนิแชนแนล
เจโรม เล่าให้ฟังว่า ภาพของ Wishbeer เป็นที่รู้จักได้เพราะขายผ่านช่องทางออนไลน์มาก่อน จากนั้นค่อยขยายมาเป็นการเปิดหน้าร้านเพื่อให้คนได้ทดลองสัมผัสหรือทดลองสินค้า จึงต้องเปิดหน้าร้านแบบออฟไลน์ จนขยายเป็นร้านอาหารที่ขณะนี้มี 4 สาขา คือ สุขุมวิท รัชดา ทองหล่อ เจริญนคร และในปีนี้ก็เตรียมขยายสาขาเพิ่มอีก 10 แห่ง เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่มีในพื้นที่ต่างๆ
เป้าหมายของบริษัท คือ ระดมทุนให้ได้อย่างน้อย 20 ล้านบาท แบ่งเป็น 7,290 หุ้น หุ้นละ 2,743 บาท เพื่อนำไปใช้ในการขยายธุรกิจด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พัฒนาช่องทางอีคอมเมิร์ซให้ดีขึ้น ขายส่ง รวมทั้งธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ทางด้านของยอดขาย Wishbeer มีการเติบโตที่ดีมาโดยตลอด ปีที่ผ่านมาทำยอดขายได้ 70 ล้านบาท ส่วนปีนี้ก็น่าจะปิดยอดที่ 100 ล้านบาท แบ่งเป็นสัดส่วนจากออนไลน์และออฟไลน์อย่างละ 50%
ระบบ LIVE ของตลาดหุ้น
เหตุผลที่ต้องการระดมทุนเพิ่ม ทั้งที่มีนายทุนใหญ่อย่าง 500 Startup, 500 tuktuk และนักลงทุนทั่วไป ที่ช่วยสร้าง Wishbeer จากเมื่อ 5 ปีก่อนถึงไว้นี้ ลงทุนไปแล้วประมาณ 35 ล้านบาท ส่วนเหตุผลที่ต้องการระดมทุนเพิ่มอีก 20 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีให้ดีกว่าเดิม ซึ่งมีนักลงทุนรายย่อยให้ความสนใจจะเข้าร่วมทุน จึงดึงแพลตฟอร์ม LIVE ของตลาดหลักทรัพย์เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ อ่านรายละเอียดของ LIVE เพิ่มเติม
ทั้งนี้ เจโรม ยอมรับว่าได้คุยเรื่องการระดมทุนกับนายทุนหลายอุตสาหกรรม ซึ่ง Wishbeer สนใจ VC หรือ Angel ที่สามารถเข้ามาช่วยเสริมในเรื่องของการประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารกับลูกค้าวงกว้าง เพราะเรื่องนี้ยังเป็นจุดอ่อนของบริษัท หากมีทีมนักลงทุนที่แข็งแรงด้านนี้ จะเป็นอีกหนึ่งกำลังเสริมที่ดีมาก
เดินหน้า POS
แม้ระบบ POS จะมี Startup หรือหลายธุรกิจเข้ามาให้บริการแข่งขันกันมาก แต่ Wishbeer ก็ไม่ได้หวังไปแย่งลูกค้ากับใคร เพราะระบบที่ทำขึ้นมานี้ จะทดลองใช้กับหน้าร้านและแฟรนไชส์ของตนเองก่อน หากลูกค้ากลุ่มธุรกิจร้านอาหารที่เคยสั่งซื้อสินค้าของบริษัทสนใจสามารถนำไปใช้งานได้ เพราะสิ่งที่ระบบ POS ของ Wishbeer ทำได้นั้น ประกอบด้วย การจ่ายเงิน ระบบโอเปอร์เรชั่น Royalty Program เป็นต้น
“แนวคิดที่ทำระบบนี้ขึ้นมาก็เพราะ เรามองว่ามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการในร้านมากขึ้นทุกวัน หากสามารถเก็บข้อมูล ประวัติการดื่ม การใช้จ่ายได้ก็จะสามารถอำนวยความสะดวกและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในการเข้ามาใช้บริการได้ เพราะ Big Data ที่ดีจะช่วยต่อยอดเรื่องต่างๆ สำหรับการบริหารธุรกิจในอนาคตให้แข็งแรงได้ ซึ่งไม่ใช่แค่ Wishbeer แต่รวมถึงคู่ค้าที่ใช้งานระบบของเราด้วย” เจโรม กล่าว
ทั้งนี้ ระบบโมบายแอพพลิเคชั่นที่กำลังพัฒนานั้น ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซที่ช่วยสร้าง Royalty และต่อยอดไปถึงการจ่ายเงินให้แก่ลูกค้าที่ไม่ได้พกเงินสดมาใช้จ่ายได้สะดวกขึ้นด้วย
เดินหน้าแฟรนไชส์สู่ประเทศเพื่อนบ้าน
อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ เจโรม อยากจะทำคือเรื่องของการขายแฟรนไชส์ ซึ่งมีร้านค้าที่สนใจมากมายจนเรียกได้ว่า รายได้ที่มาจากกลุ่ม B2B และ B2C ซึ่งนอกจากการขายแบบเดิมแล้ว จะมีการเน้นด้าน Offline ผ่านการขายแฟรนไชส์ให้กับผู้ที่สนใจมากขึ้น ซึ่งค่าแฟรนไชส์จะเริ่มต้นที่ 7 แสนบาท เพิ่มเติมในส่วนของ Royalty Program 10% และ Marketing 2% เรียกได้ว่าสามารถเดินหน้าธุรกิจได้เลย
นอกจากจะขยายแฟรนไชส์ในไทยแล้ว ก็มองหาโอกาสในการขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามด้วย เพราะมีแผนอยากเปิดโรงผลิตเบียร์เพิ่มเติมและเวียดนามก็มี Ecosystem ที่น่าสนใจ
สิ่งที่ เจโรม อยากจะฝากถึงคนอ่านคือ อยากให้เปิดใจมอง Wishbeer ว่าไม่ได้มีดีแค่ขายเบียร์ แต่เขาเป็นทีม Startup ด้านอีคอมเมิร์ซที่แข็งแรงมาก เพียงแค่สินค้าที่ขายอาจเริ่มต้นด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ต่อไปจะมีสินค้านำเข้ากลุ่มกาแฟ และสินค้านำเข้าอื่นๆด้วย หากสนใจอยากได้ความรู้ในการทำออมนิแชนแนล ก็สามารถขอแบ่งปันความรู้จากเจโรมได้