Site icon Thumbsup

สรุปเนื้อหาช่วง How digital technology transform Thailand? งาน Spark Conference 2016 “Digital Transformation”

ภาพจาก Twitter @yugi5002
ภาพจาก Twitter @yugi5002

แม้จะจบลงไปแล้วอย่างสมบูรณ์กับเสวนา Spark Conference 2016 “Digital Transformation” presented by dtac เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ณ สยามภาวลัย พารากอน ซีนีเพล็กซ์  แต่เชื่อว่าหลายคนที่ร่วมฟังต่างมีหัวข้อในใจให้กลับไปขบคิดกันมากมายกับแกนหลักที่วิทยากรนำมาเสนอ นั่นก็คือ “การเปลี่ยนแปลง”

เพราะตอนนี้เราอยู่ในยุคที่

ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่คนเมื่อ 30 ปีก่อนไม่เคยสัมผัส และหลายธุรกิจที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน หรือนานกว่านั้น ก็ไม่เคยสัมผัสเช่นกัน ดังนั้นการยืนอยู่ในโลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าครอบงำแล้วให้ได้นั้น ย่อมไม่อาจใช้ประสบการณ์จากเมื่อ 30 ปีที่แล้วโดยไม่ปรับตัวได้อีกต่อไป สัมผัสได้จากการเสวนา “How digital technology transform Thailand?” ที่วิทยากรได้นำเสนอ “ความเปลี่ยนแปลง” ที่เกิดขึ้นแล้วกับภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยภายใต้การมาถึงของเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีทั้งผู้ที่อยู่รอด และผู้ที่ต้องพับเสื่อปิดกิจการมากมาย ยกตัวอย่างเช่น มุมมองของคุณศิวัตร เชาวรียวงษ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บริษัท mInteraction จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในด้านสื่อ และคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่เผยว่า การเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิตอลได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเปลี่ยนไป เมื่อชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยน การรับสื่อ หรือวิธีการสื่อสารก็เปลี่ยน ผลก็คือ รูปแบบการตลาดโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็ต้องเปลี่ยนไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

“การตลาดต้องเปลี่ยนแน่ แต่อีกหลายฝ่ายก็ต้องเปลี่ยนตามด้วย ตอนนี้ผมมองว่า การจัดการ Crisis เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อก่อนเราไม่เคยมีภาระอย่างนี้ เช่น ต้องตอบคอมเพลนในเฟซบุ๊ก หรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ธุรกิจจึงต้องเรียนรู้การตอบให้เหมาะสม และจัดการให้เร็ว เพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง”

หรือในมุมของ คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ – ผู้อำนวยการโครงการ dtac Accelerate และพ่วงประสบการณ์การทำงานกว่า 12 ปีในสถาบันการเงินชั้นนำก็ได้เผยว่า ในฟากของสถาบันการเงินเอง ก็กำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากเทคโนโลยีดิจิทัลเช่นกัน เพราะโปรดักซ์ที่ฟินเทค (สตาร์ทอัปต่าง ๆ ที่พัฒนาแอปพลิเคชันด้านการเงิน) พัฒนาขึ้นนั้นสามารถเข้ามาทดแทนโปรดักซ์ของธุรกิจสถาบันการเงินได้แล้วทั้งสิ้น

“เราเคยเอาโปรดักซ์ของธนาคารมาตั้ง เป็น โปรดักซ์เอ โปรดักซ์บี โปรดักซ์ซี แล้วก็เอาฟินเทคมาจับ พบว่า ไม่มีช่องไหนเลยในโปรดักซ์ของแบงกิ้งที่ฟินเทคทำไม่ได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงนี้กำลังเดินทางมาแล้วแน่นอน เพียงแต่จะช้าจะเร็ว แบงค์จะรู้ตัวมากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง”

นอกจากการพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ โดย Tech StartUp แล้วสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดอีกประการหนึ่งก็คือ การขยับตัวของยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยี โดยคุณสมโภชน์ยกตัวอย่างโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีอย่างเฟซบุ๊กว่า หากเฟซบุ๊กเปิดบริการโอนเงินขึ้นในแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊ก (เช่น โอนเงินจากนายเอ ไปยังนายบีโดยคิดค่าธรรมเนียมถูก ๆ) ก็อาจทำให้ธุรกิจธนาคารทั่วโลกต้องปิดบางแผนกได้เลย

ขณะที่คุณศิวัตรได้ให้ภาพของตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ว่า ในอนาคต เราจะได้เห็นบ็อทต่าง ๆ (เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI) เข้ามาทำงานแทนที่งานบริการประเภทต่าง ๆ มากขึ้น โลกในยุคต่อไป คนจะมีโอกาสเก่งเร็วขึ้นมาก ๆ และการแข่งขันก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

การจะอยู่รอดในยุคดิจิตอล สิ่งที่ต้องทำให้ไวที่สุดในตอนนี้อาจเป็นการปรับตัว และมองหาเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดังที่วิทยากรอย่าง คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ – ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท efrastructure Group กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัทตลาดดอทคอม จำกัด ให้ทัศนะไว้ นั่นก็คือ การมองหาระบบหลังบ้านที่ช่วยจัดการงานต่าง ๆ ให้เช่น ระบบ ERP, ระบบบัญชี, ระบบ CRM มาไว้ใช้งาน ซึ่งระบบเหล่านี้ปัจจุบันมีให้ใช้ ทั้งแบบโอเพ่นซอร์ส หรือเป็นฟรีแวร์ เพื่อรองรับการเติบโตที่จะตามมาก็ถือเป็นการลงทุนที่ดี

ก่อนจากกัน เขายังได้ให้ไอเท็มน่าสนใจไว้ 4 ตัวด้วย นั่นคือ F – U – C – K ซึ่งแต่ละตัวมีความหมายว่า

ลุกไปทำ (เปลี่ยนแปลง) บางอย่างได้แล้ว!!!