นับตั้งแต่ปี 2560 ได้มีการประกาศนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยยังคงเร่งยกระดับอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ยังเริ่มทำการวิจัยอุปกรณ์ 5G ในระบบควบคุมอัตโนมัติทางด้านอุตสาหกรรมกับบริษัทในประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศในการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคนิคขั้นสูง งานสัมมนาออนไลน์ได้นำเสนอโซลูชันทั้งหมดจากอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติของไต้หวัน
ซึ่งรวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเที่ยงตรงสูง ระบบตรวจสอบคุณภาพของเครื่องจักร หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม และระบบเครือข่ายอุตสาหกรรม และทำให้ผู้ซื้อชาวไทยทราบว่าโซลูชันจากไต้หวันสามารถตอบสนองทุกความต้องการในการพัฒนาระบบอัตโนมัติ และสร้างสายการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง มีความยืดหยุ่นสูง
นายสแตนลีย์ คัง กล่าวว่า “นโยบาย “ประเทศไทย 4.0” มุ่งเน้นไปที่ระบบอัตโนมัติ การแปลงข้อมูลเป็นดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ และแพลตฟอร์มการแปลงข้อมูลขนาดใหญ่ และเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความร่วมมือระหว่างไต้หวันและไทยในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี“
ด้าน นายซือ กั๋วอี กล่าวว่า “บริษัทที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence แสดงถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และคุณภาพที่ได้รับการยอมรับจากตลาด TAIROA สามารถช่วยผู้ผลิตในไทยนำเข้าโซลูชันการผลิตอัจฉริยะขั้นสูงและครบวงจรจากไต้หวัน“
ในงานสัมมนาออนไลน์ บริษัทผู้ผลิตชั้นนำทั้ง 5 บริษัท ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชันการผลิตอัจฉริยะล้ำสมัยที่สุด คุณทาเคชี โฮ รองผู้จัดการ บริษัท โตโย ออโตเมชั่น จำกัด ได้นำเสนอกระบอกสูบไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและมีการใช้งานที่หลากหลาย พร้อมเผยเหตุผลทำไมผลิตภัณฑ์ของบริษัทจึงสามารถแทนที่กระบอกสูบแบบเดิมได้ ถัดมา คุณไมเคิล ลี ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท โซโลมอนเทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น ได้แสดงวิธีดำเนินการผลิตอัจฉริยะด้วยหุ่นยนต์ ระบบตรวจสอบคุณภาพของเครื่องจักร และการผสมผสานปัญญาประดิษฐ์โดยผ่านกรณีศึกษา
ด้าน คุณฟรานซีน ชู รองผู้จัดการฝ่ายโปรแกรม บริษัท เทคแมน โรบอท ได้นำเสนอวิธีการใช้หุ่นยนต์ TM12 และซอฟต์แวร์พิเศษเพื่อสร้างโซลูชันอัจฉริยะสำหรับคลังสินค้า และช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัย คุณเอพริล ลิน ตัวแทนฝ่ายขาย บริษัท เอออน เทคโนโลยี ได้แสดงถึงการนำระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) + การตรวจสอบด้วยแสงอัตโนมัติ (AOI) ไปใช้ในสถานีงานประกันคุณภาพของสายการผลิต ซึ่งไม่เพียงแต่ลดกำลังคนในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย
สุดท้าย คุณฟีบี้ เฉิน ผู้จัดการฝ่ายภูมิภาค บริษัท แพลนเน็ต เทคโนโลยี คอร์ปอเรชั่น ได้เปิดตัวเกตเวย์ IoT บนเครือข่าย 5G สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยให้ผู้ผลิตสามารถสร้างโรงงาน 5G ขั้นสูง และ “ระบบควบคุมการจัดการพลังงานทดแทน” ซึ่งช่วยให้โรงงานอัจฉริยะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้
นอกจากงานสัมมนาออนไลน์ในวันที่ 23 มิถุนายน 2564 Taiwan Excellence จะเข้าร่วมงาน “Manufacturing Expo” ในเดือนพฤศจิกายน และแสดงโซลูชันการผลิตอัจฉริยะขั้นสูงในงานแสดงสินค้าดังกล่าว เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมไทยบรรลุเป้าหมายในการยกระดับได้เป็นผลสำเร็จ