Site icon Thumbsup

ผลการศึกษาเผยคุณแม่ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ใช้ Facebook พร้อมเพิ่มลูกของพวกเธอเป็นเพื่อน!

นอกจากควานิยมในการใช้งาน Facebook ของกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นวัยรุ่นแล้ว เพื่อเข้าถึงหรือสื่อสารกับพวกเขาผู้ปกครองหลายๆ คนเลือกที่จะหันมาใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กบ้างเช่นกัน จากผลการศึกษาล่าสุดพบว่าเหล่าคุณแม่ชาวไต้หวันมีแนวโน้มว่าจะใช้ Facebook และเพิ่มลูกๆ ของเธอเป็นเพื่อนบนนั้นเช่นกัน

แม้โซเชียลเน็ตเวิร์กจะทำให้พวกเขาสามารถสื่อสารกับลูกๆ ของพวกเธอได้ง่ายขึ้น แต่ทว่ากลุ่มวัยรุ่นน้อยกว่าครึ่งนั้นไม่ต้องการให้ผู้ปกครองขอพวกเขาเป็นเพื่อนบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก

จากการศึกษาของ Facebook เผยว่า 79% ของคุณแม่ชาวไต้หวัน นั้นได้เพิ่มลูกๆ ของพวกเธอเป็นเพื่อนบน Facebook ซึ่งมากกว่ากลุ่มคุณแม่ในประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐอเมริกา, อิตาลี, ญี่ปุ่น หรือ ออสเตรเลีย

โดยมีสตรีที่มีบุตรแล้วกว่า 584,000 ในไต้หวันที่ใช้งาน Facebook และ 72% จากกลุ่มผู้ใช้งานดังกล่าวเผยว่าพวกเธอนั้นเข้าใช้งาน Facebook ทุกวัน นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบกว่าจากกลุ่มสตรีวัยเดียวกัน สตรีที่มีบุตรแล้วมีแนวโน้มว่าจะใช้งาน Facebook มากกว่ากลุ่มผู้ใช้งานที่ยังไม่มีบุตร โดยพวกเขาจะโพสต์สเตตัสใหม่บ่อยกว่าผู้ใช้งานที่ยังไม่มีบุตรถึง 2.1 เท่า และโพสต์ภาพถ่ายบ่อยกว่าถึง 2.2 เท่า!

นอกจากนี้พวกเธอยังมีแนวโน้มว่าจะเข้าใช้งาน ณ ช่วงเวลา 17.00 – 22.00 น. และมีแนวโน้มว่าใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กบนสมาร์ทโฟนมากกว่าบนคอมพิวเตอร์ถึง 4 เท่าอีกด้วย แต่อย่างไรก้ตามแม้เหล่าคุณแม่จะขยันอัพเดทเนื้อหาและภาพต่างๆ แต่ดูเหมือนว่าเหล่าคุณลูกๆ จะไม่ต้องการถูกแท็กบนภาพเหล่านั้น

เพราะจากผลการศึกษาของ King Car Education Foundation พบว่า 41.5% ของวัยรุ่นในวัยเรียนนั้นไม่ต้องการให้ผู้ปกครองของพวกเขาเพิ่มพวกเขาเป็นเพื่อนบนโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ หากแบ่งตามระดับชั้นการศึกษาจะได้ข้อมูลดังนี้

37.% ของนักเรียนระดับประถมศึกษาไม่ต้องการให้ผู้ปกครองของพวกเขาเพิ่มพวกเขาเป็นเพื่อนบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก 43% ของนักเรียนระดับปมัธยมศึกษาตอนต้นไม่ต้องการให้ผู้ปกครองของพวกเขาเพิ่มพวกเขาเป็นเพื่อนบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก และ 44.4% 37.% ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต้องการให้ผู้ปกครองของพวกเขาเพิ่มพวกเขาเป็นเพื่อนบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก

โดย Kuo Chih-chun (郭芷君) นักเรียนชาวไต้หวันได้ให้เหตุผลว่าทำไมเธอถึงไม่ต้องการให้ผู้ปกครองเป็นเพื่อนกับเธอบนโซเชียลเน็ตเวิร์กว่า อย่างแรกนั้นเธอคิดว่าผู้ปกครองของเธอไม่ควรจะทำความรู้จัก หรือทำความเข้าใจเธอผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก และอย่างที่สองคือเธอไม่ต้องการให้ผู้ปกครองของเธออ่านบทสนทนาของเธอกับเพื่อนๆ บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก

ข้อมูลดังกล่าวมาจากการส่งแบบสอบถามไปยังนักเรียนจำนวน 16 โรงเรียนในเมืองต่างๆ โดยแบบสอบถามมีด้วยกันทั้งหมด 1,800 ชุด แต่ได้รับการตอบรับเพียง 1,519 ชุดเท่านั้น!

ที่มา : TAIPEI TIMES

ภาพ : HUFFPOST