นอกจาก “เสียภาษีทางตรง” ที่กรมสรรพากรเรียกเก็บทุกปีอย่าง “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” หรือ “ภาษีนิติบุคคล” แล้ว ยังมี “เสียภาษีทางอ้อม” ที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจากผู้บริโภคเมื่อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specification Business Tax) และอากรแสตมป์ (Stamp Duty)
ข้อมูลการเก็บภาษีจากกรมสรรพากรที่รวบรวมโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) ระบุว่า ในปี 2562 “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” คือภาษีที่มีมูลค่าการจัดเก็บสูงที่สุดถึง 6 แสนล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าการใช้จ่ายแต่ละวันของเราล้วนข้องเกี่ยวกับการเสียภาษี ตั้งแต่เราลืมตาตื่นหยิบยาสีฟันหลอดใหม่ที่เพิ่งซื้อมาจากร้านสะดวกซื้อเมื่อคืน เติมน้ำมันรถในปั้มข้างบ้านหรือซื้อตั๋วโดยสารรถประจำทางเพื่อไปทำงานต่อ จ่ายเงินซื้ออาหารจานด่วนหลากหลายมื้อตามร้านอาหาร ไปจนถึงการจ่ายค่าโทรศัพท์ ค่าเน็ต และค่าช็อปปิ้งใน Supermarket รวมถึงการช็อปในโลกออนไลน์
ข้อมูลจาก ธปท. ระบุ ณ เดือนกันยายน 2563 คนไทยมีเงินฝากเฉลี่ยต่อบัญชีเพียง 4,754 บาท สวนทางกับความเป็นจริงที่ว่า “เงินออม” เป็นสิ่งที่จำเป็นในทุกช่วงของชีวิต
สำหรับผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 11-12 ล้านราย และกลุ่มผู้เสียภาษีหน้าใหม่อย่างวัยเริ่มต้นทำงาน ถึงเวลาแล้วที่ควรเริ่มลงมือวางแผน “ลดหย่อนภาษี” อย่างจริงจัง เพราะเป็นสิทธิที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ
นอกจากการสร้างหลักประกัน ลดค่าใช้จ่าย แถมยังเพิ่มเงินออมเก็บไว้ใช้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในอนาคต หากเราวางแผนไว้แต่เนิ่น ๆ ก็จะมีเงินออมใช้จ่ายและคุ้มค่ายิ่งขึ้น ถ้าการลงทุนนั้นสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
สูตรการคำนวณภาษี
เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี* = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
การลงทุนพลิกโฉมไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านการเงิน เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการลงทุนได้สะดวกแบบไม่ต้องใช้เงินสด สำหรับใครที่กำลังมองหาการลงทุนแนวใหม่ในกองทุนรวม ทรูมันนี่ มีหลัก 4 ข้อ มาให้พิจารณาง่าย ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ
- อ่านให้เยอะ นโยบายการลงทุนของกองทุนเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะลงทุนในธุรกิจประเภทไหน เน้นหุ้นเติบโต หุ้นปันผล หุ้นขนาดใหญ่ หรืออ้างอิงตามดัชนี SET50 หาอ่านข้อมูลให้มาก ๆ จาก “หนังสือชี้ชวน” ซึ่งมีข้อมูลอยู่ในเว็บไซต์ของแต่ละกองทุนก่อนตัดสินใจ
- เสี่ยงน้อย เสี่ยงมาก รับได้แค่ไหน แน่นอนว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง เราสามารถรับความเสี่ยงได้มากก็สามารถลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงมาก แต่หากเรารับความเสี่ยงได้ค่อนข้างจำกัด ก็ต้องหันมาพิจารณากองทุนที่ลงทุนในหุ้นไม่เกิน 70%
- มีเงินปันผลให้ด้วยหรือไม่ สำหรับคนมองการณ์ไกล นอกจากจะซื้อไว้ใช้ลดหย่อนภาษีได้แล้ว ถ้าหากกองทุนนั้นมีการจ่ายเงินปันผลด้วยก็เหมือนกับการได้กำไรสองเด้ง
- เช็คประวัติการดำเนินงานกองทุนที่เราสนใจซื้อ ว่ามีผลการดำเนินงานย้อนหลังในรอบ 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี เป็นอย่างไร ถ้าเป็นกองทุนที่จ่ายปันผลก็ต้องดูว่าจ่ายปันผลสม่ำเสมอหรือไม่ เพราะผลการดำเนินงานในอดีตและปัจจุบัน ไม่ได้การันตีอนาคต
ทำไมต้องลงทุนผ่าน e-Wallet
ด้วยนวัตกรรมการเงินล้ำ ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการลงทุนสมัยใหม่โดยเฉพาะ ช่วยปิดข้อจำกัด ทลายความกังวลใจเรื่องการลงทุนให้กับทั้งนักลงทุนมือใหม่และมือเก๋า ที่สำคัญ “1 บาทก็เริ่มลงทุนได้” ผ่านแอปฯ TrueMoney Wallet ตัวช่วยลดหย่อนภาษียุค Cashless Society ที่มีจุดเด่นมากมาย
- เริ่มต้นง่าย มือใหม่ไร้กังวล ยังไม่เปิดพอร์ตก็เข้ามาดูและศึกษาการลงทุนได้ เพราะมีบทความแนะนำมากมาย เข้าใจง่าย เข้าถึงง่ายกว่าเดิม เริ่มลงทุนได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ ใช้เวลาเปิดบัญชีไม่ถึง 10 นาที ก็สามารถเปิดพอร์ตการลงทุนและเข้าถึงกองทุนรวมกว่า 600 กองทุน แบบไม่ต้องไปสาขา หรือเตรียมเอกสารให้ยุ่งยาก
- ไม่จำกัดค่าย ซื้อกองทุนได้แบบไม่จำกัดค่าย กว่า 10 บลจ. และมีกองทุนที่เริ่มต้นเพียงหนึ่งบาทก็ลงทุนได้ ลูกค้าที่มีเงินในบัญชีที่ยังไม่นำไปใช้จ่ายจึงสามารถเอาไปลงทุนให้งอกเงยได้อย่างสบาย รวมถึงมีกองทุนจาก บลจ. ที่เราสามารถลงทุนโดยตัดจากบัตรเครดิต
- มีเทคโนโลยีล้ำ ๆ ที่เข้าใจความต้องการนักลงทุนทุกคน ด้วย Disruptive Customer Journey และจัดทำ Personalized Fund Guide ที่เหมาะกับนักลงทุนโดยเฉพาะ จัดเรียงกองทุนตาม performance ที่ผู้ใช้สามารถตั้งค่าดูได้เองง่าย ๆ
- เชื่อมต่อนวัตกรรม e-Wallet เข้ากับบริการ FundConnext ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ช่วยให้นักลงทุนสามารถศึกษาการลงทุน ติดตามหนังสือชี้ชวนการลงทุน คำแนะนำต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ซื้อ หรือขายกองทุนผ่านหน้าแดชบอร์ดในแอปพลิเคชั่นได้แบบเรียลไทม์
สำหรับใครที่กำลังมองหา กองทุนรวม SSF/RMF หรือวางแผนซื้อประกันฯ ผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Wallet สามารถคลิกอ่านรายละเอียดและเริ่มลงทุนวันนี้เพื่อความมั่งคั่งในวันหน้าได้ที่ https://www.truemoney.com/taxsaving/