กลุ่มธุรกิจ TCP ผนึกกำลังร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สนับสนุน “กลไกอาสาสมัครคุณภาพ” เร่งดูแลผู้ป่วยเด็กและครอบครัวในพื้นที่เปราะบางทั่วกรุงเทพมหานคร และโครงการ “สานฝันการศึกษาเพื่อน้อง” สร้างโอกาสทางการศึกษาไม่ให้เด็กหลุดออกนอกระบบแบบครอบคลุมทุกมิติ
นางสาวนุชรี อยู่วิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวว่า “กลุ่มธุรกิจ TCP มุ่งดูแลสังคมในภาวะวิกฤต โดยมีแนวทางตามกรอบการทำงานเพื่อความยั่งยืนของบริษัทฯ ซึ่งมีขอบเขตการทำงาน
เกี่ยวกับชุมชน นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจ TCP ในฐานะองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องดูแลพนักงานกว่า 5,000 ชีวิต เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมาก โดยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้ให้ การสนับสนุนโครงการการศึกษาทั้งในและนอกองค์กรอย่างต่อเนื่อง เช่น มอบทุนการศึกษา แนะแนวอาชีพบุตรหลานพนักงาน ริเริ่มโครงการด้านการศึกษาร่วมกับภาครัฐ”
“วิกฤตจากโควิด-19 ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ณ ขณะนี้รุนแรงถึงที่สุด และคนอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักคือเด็กกลุ่มเปราะบาง เรื่องด่วนที่กลุ่มธุรกิจ TCP จะเข้าไปดูแลร่วมกับ กสศ. คือ
การดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ของเด็กๆ เพื่อให้พวกเขาปลอดภัยและอยู่ในสภาพที่พร้อมเรียนรู้ รวมทั้งมีทุนทรัพย์พอที่จะได้เรียนหนังสือต่อโดยไม่ต้องออกจากระบบกลางคัน โดยให้ความช่วยเหลือผ่านโครงการ “กลไกอาสาสมัครคุณภาพ” และโครงการ “ทุนสานฝันการศึกษาเพื่อน้อง” ที่ดูแลทั้งสุขภาพและทุนทรัพย์ไปพร้อมกัน” นางสาวนุชรี กล่าวพร้อมกับระบุว่านี่คือเหตุผลหลักที่กลุ่มธุรกิจ TCP ได้ริเริ่มผนึกกำลังร่วมกับกสศ.ในโครงการด้านการศึกษาเพื่อหยุดยั้งปัญหานี้
วิกฤตการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบอย่างหนักสู่สังคมทุกภาคส่วน เด็กในชุมชนเปราะบางมีแนวโน้มได้รับผลกระทบมากที่สุด ทั้งจากการเข้าไม่ถึงการรักษาที่มีคุณภาพและปัญหาเศรษฐกิจ จนท้ายที่สุด อาจส่งผลให้การศึกษาต้องหยุดชะงัก ด้วยเหตุนี้ กลุ่มธุรกิจ TCP จึงสานพลัง กสศ. ช่วยเหลือเด็กๆ กลุ่มเป้าหมายระยะเร่งด่วน ผ่านการระดมทุนสนับสนุนโครงการสนับสนุนกลไกอาสาสมัครคุณภาพ ให้แก่อาสา กสศ. จำนวน 100 คนๆ ละ 400 บาท รวมงบประมาณ 1.2 ล้านบาท
และโครงการทุนสานฝันการศึกษาเพื่อน้องมอบโอกาสให้เยาวชนได้ศึกษาต่อในช่วงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. 1) ผ่านการสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางการศึกษา จำนวน 400 คนๆ ละ 10,000บาท รวมเป็นงบประมาณ 4 ล้านบาท เพื่อสร้างความเสมอภาค รวมถึงดูแลเด็กและเยาวชนครอบคลุมทุกมิติ
กลไกอาสาสมัครคุณภาพ จะทำหน้าที่เป็นกำลังเสริมให้แก่หน่วยงานหลักต่างๆ เช่น อาสาสมัครคุณครูทั้งในระบบและนอกระบบในชุมชน อาสาสมัครเยาวชน ช่วยรับส่งผู้ป่วยเด็ก รวมถึงส่งชุดยาและเครื่องมือติดตามอาการหรืออุปกรณ์ช่วยชีวิตในกรณีจำเป็นเร่งด่วนตลอด24 ชั่วโมง และยังสนับสนุนระบบอาสาสมัครดูแลเด็กสัมผัสเสี่ยงสูงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ระหว่างระยะเวลากักตัว 14 วัน ในสถานที่ กักตัว (State Quarantine) รวมถึงดูแลเด็กป่วยติดเชื้อที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในสถานพยาบาลทุกรูปแบบ พร้อมจัดตั้งอาสาสมัครเยี่ยมเด็กและครอบครัวในพื้นที่ชุมชน เพื่อติดตามการเลี้ยงดู ส่งยา อาหารหรือเครื่องใช้จำเป็น และอาสาสมัครเลี้ยงดูเด็กชั่วคราวในครอบครัวอุปถัมภ์
ดร. ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)เผยว่า สถานการณ์ปัจจุบันพบเด็กติดเชื้อโควิด-19 รายวันล่าสุดประมาณ 2,900 คน มีจำนวนเด็กติดเชื้อสะสม 107,245 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2564) ในจำนวนนี้ คาดว่าราว 70% เป็นกลุ่มยากจนด้อยโอกาส เนื่องจากสมาชิกแต่ละครอบครัวอยู่รวมกันในพื้นที่จำกัด ความแออัดทำให้การติดเชื้อโรคโควิด-19 เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รับผลกระทบในทุกมิติ ได้แก่ สุขภาพกาย ใจ สังคม และความเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษา
กสศ. จึงระดมความร่วมมือเพื่อทำงานเชิงรุกบรรเทาปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ผ่านศูนย์ประสานช่วยเหลือเด็กในภาวะวิกฤต กสศ. เพื่อเสริมการทำงานของหน่วยงานหลักที่ยังเป็นช่องว่าง หรือเป็นอุปสรรคทำให้กลุ่มเป้าหมายตกอยู่ในภาวะวิกฤตโดยสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นเร่งด่วนและสำคัญที่สุดคือกลไกอาสากสศ. ที่มีภารกิจชัดเจนว่าวิกฤตเกิดขึ้นกับเด็กของเราที่จุดไหน อาสากสศ.จะเข้าไปช่วยในจุดนั้นอย่างรวดเร็วทันที
พื่อป้องกันไม่ให้ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นทาง นอกจากนี้ในระยะฟื้นฟูจะมีการติดตาม วางแผนช่วยเหลือเป็นรายคนเพื่อป้องกันหลุดออกจากระบบการศึกษา กสศ.ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันสร้างระบบคุ้มครองทางสังคมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นได้จริงแม้ในยามวิกฤต