เรื่องของเทคโนโลยีในปี 2021 นั้น ต้องเรียกว่ายังคงเน้นหนักในเรื่องของเทคโนโลยีหนักๆ อย่าง 5G, AI และการเก็บ Big Data เพื่อมาวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้ามากขึ้น หลายบริษัทด้านเทคโนโลยีเอง ก็คาดการณ์คล้ายๆ กันว่า เทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ในเชิงธุรกิจนั้น มุ่งเน้นในเรื่องของ 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนาเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตของคน
ตามมาด้วย เทคโนโลยีที่เน้นเรื่องของการวิเคราะห์พฤติกรรม การใช้จ่ายและการเข้ามาทดแทนการทำงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนทำงานที่ยังปรับตัวไม่ทันกับทักษะใหม่ๆ ส่วนคนหางานรุ่นใหม่ก็จำเป็นต้องมีความสามารถมากกว่าเดิม เพื่อดึงดูดตำแหน่งงานและนายจ้างให้อยากเลือกเข้าไปทำงาน
สถาบันไอเอ็มซีแนะธุรกิจไทยปรับ 4 ด้านรับมือ 9 เทรนด์แรงปี 64
- การคาดการณ์จากสำนักวิจัยการ์ทเนอร์ระบุถึง 9 แนวโน้มเทคโนโลยีสำคัญในปีหน้า เพื่อให้ธุรกิจไทยตอบรับ 9 เทรนด์นี้ องค์กรจะต้องปรับตัวอย่างน้อย 4 ด้าน
- 1 ใน 4 ด้านที่สำคัญที่สุดคือองค์กรต้องปรับตัวเรื่องไอที โดยเฉพาะการทำบิ๊กดาต้า เนื่องจากเทรนด์เทคโนโลยีสำคัญของปีหน้าคือ “อินเทอร์เน็ตแห่งพฤติกรรม” ที่ทำให้ธุรกิจต้องเก็บข้อมูลให้มากที่สุด
- สิ่งสำคัญที่ต้องทำคู่ขนานไปกับการปรับตัว 4 ด้านนี้คือการพัฒนาบุคลากร องค์กรควรวางกลยุทธ์ด้านคนให้รัดกุมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากความท้าทายหลักของการปรับตัวไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี แต่อยู่ที่คนในองค์กร
- สอดคล้องกับรายงานจาก WEF เรื่อง The Future of Jobs 2020 ระบุว่า การล็อกดาวน์และเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำงานอย่างมาก และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Double Disruption” ครึ่งหนึ่งของพนักงานที่มีอยู่จำเป็นต้องการปรับทักษะใหม่ (Re-skill) และคนที่ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม 40% ต้องเพิ่มทักษะ (Up-skill) การทำงานของตัวเอง เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของการทำงานในรูปแบบใหม่
รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) กล่าวว่า “การ์ทเนอร์แบ่งเทรนด์เทคโนโลยีปี 2564 ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือผู้คนยังเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง (People centricity) เพราะคนยังคงเป็นศูนย์กลางของธุรกิจที่จำเป็นจะต้องทำให้กระบวนการทำงานต่างๆ ถูกแปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
กลุ่มที่ 2 คือความเสรีที่สถานที่ทุกแห่งสามารถทำงานหรือเรียนได้ (Location independence) สอดรับกับรูปแบบการทำงานที่ไม่เหมือนเดิม และกลุ่มที่ 3 คือธุรกิจต้องปรับและคล่องตัว จะต้องเอาเทคโนโลยีเข้ามารองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (Resilient delivery) ทั้ง 3 ส่วนนี้จะกลายเป็นยุคใหม่ที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ตแห่งพฤติกรรมหรือ Internet of Behaviors ซึ่งธุรกิจต้องเข้าใจลูกค้า” อินเทอร์เน็ตแห่งพฤติกรรมถือเป็นแนวโน้มแรกที่การ์ทเนอร์ยกให้เป็นดาวเด่นแห่งปีหน้า”
ภาวะนี้ยิ่งเห็นได้ชัดจากสถานการณ์โควิด-19 เพราะองค์กรที่ไม่ได้เตรียมการ จะไม่สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ดังนั้นทุกธุรกิจจะต้องพร้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แม้ว่าหลายองค์กรไทยจะเรียกพนักงานให้กลับไปทำงานที่ออฟฟิศแล้ว ก็เป็นไปไม่ได้ว่าจะต้องกำหนดให้พนักงานหรือลูกค้าเดินทางไปศูนย์บริการเท่านั้น เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคยกับการรับบริการจากที่ใดก็ได้
นอกจากนี้เมื่อเร็วๆนี้ทาง World Economic Forum (WEF) ได้เผยแพร่รายงานเรื่อง The Future of Jobs 2020 ผลการสำรวจมีข้อมูลที่น่าสนใจอยู่หลายด้าน โดยเฉพาะด้านทักษะการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเกิดวิกฤติโควิด ซึ่งทาง WEF ระบุว่า การล็อกดาวน์และเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำงานอย่างมาก และทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Double Disruption”ทำให้ความต้องการตำแหน่งงานใหม่ๆ มีมากขึ้น WEF ได้ระบุตำแหน่งที่จะมี
แม้ว่าคาดการณ์ตัวเลขการจ้างงานที่จะลดลงจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีปี 2025 จะลดลงไป 85 ล้านตำแหน่ง แต่ก็จะมีตำแหน่งงานใหม่ๆ เกิดขึ้นถึง 97 ล้านตำแหน่ง แสดงให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ยังให้ความสำคัญกับการหาบุคลากรในการทำงานอยู่ แต่ต้องการคนที่มีความสามารถ และปรับทักษะตามการเปลี่ยนแปลงของโลกได้
จากการสำรวจพบว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานที่มีอยู่จำเป็นต้องการปรับทักษะใหม่ (Re-skill) และคนที่ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม 40% ต้องเพิ่มทักษะ (Up-skill) การทำงานของตัวเอง เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของการทำงานในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีทักษะทั้งทางด้านการใช้เทคโนโลยี การวิเคราะห์ข้อมูล องค์ความรู้ด้านเอไอ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน รวมถึงทักษะความเป็นผู้นำ
4 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเทรนด์เทคโนโลยีนั้น จะส่งผลในเรื่องของการเปลี่ยนธุรกิจให้มีความทันสมัยและอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตมากขึ้น
คุณอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า เทรนด์นวัตกรรมที่มีนัยสำคัญภายใน 5 ปีข้างหน้านี้ที่น่าจับตามองต่อจากนี้ครอบคลุม 4 ประเด็นหลักได้แก่ Augmented Creativity, Symbiotic Economy, 5G Rapid Rollout และ Global Digital Governance โดยเทคโนโลยีด้าน ICT จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเทรนด์เหล่านี้ และจะมีผลโดยตรงต่อการสร้างโลกอัจฉริยะให้เป็นจริงขึ้นมาได้”
เทรนด์ Augmented Creativity คือการผสานกันระหว่าง AI และเทคโนโลยีใหม่อื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดบรรทัดฐานใหม่ในกระบวนการสร้างสรรค์งาน ทั้งนี้ รายงาน GIV (รายงานด้านวิสัยทัศน์ด้านอุตสาหกรรมโลกในปี ค.ศ. 2025 ซึ่งจัดทำโดยหัวเว่ย) ระบุว่าองค์กรขนาดใหญ่มากกว่า 97% จะเริ่มนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ ลดต้นทุน รวมถึงส่งมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้า
อันจะนำไปสู่เทรนด์ที่สองคือ Symbiotic Economy เมื่อองค์กรต่าง ๆ ต้องการสร้างความเติบโตทางธุรกิจไปในระดับโลกมากขึ้น กว่า 85% จะใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจของตนเองผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีได้จากทุกแห่งหน การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ทำงานร่วมกับ
พาร์ทเนอร์ธุรกิจจะเป็นเรื่องปกติ และการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการดำเนินธุรกิจจะต้องเป็นไปอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
สำหรับ 5G Rapid Rollout มีการคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีสถานีฐานสำหรับการให้บริการ 5G ถึง 6.5 ล้านสถานีทั่วโลก รองรับการให้บริการผู้ใช้งานได้มากถึง 2,800 ล้านคน ครอบคลุมจำนวนประชากรโลกถึง 58%
และเทรนด์สุดท้ายที่น่าจับตามองก็คือ Global Digital Governance เมื่อเครือข่าย 5G แพร่หลายมากขึ้น ผู้คนและองค์กรธุรกิจใช้งานเทคโนโลยีมากขึ้น จะส่งผลให้ปริมาณข้อมูลทั่วโลกที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมีจำนวนสูงถึง 180 เซตตะไบต์ (หรือ 180,000 ล้านเทระไบต์) จึงต้องมีขั้นตอนการบริหารจัดการข้อมูลที่รัดกุมยิ่งขึ้น รวมทั้งมาตรการป้องกันการล่วงละเมิดทางข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
เทรนด์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่จะมีผลต่อโลกดิจิทัลในปี 2021
ปี 2020 ถือเป็นปีแห่งการพลิกผันและเป็นบททดสอบความยืดหยุ่นทางดิจิทัลที่แท้จริง ผลกระทบจาก COVID-19 มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องอีกหลายปีข้างหน้า ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องกลับมามองกลยุทธ์เพื่อที่จะดำเนินตามวิถี new normal ในระยะยาวอีกครั้งด้วยการพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ธุรกิจต่างๆจะประสบความสำเร็จในโลกดิจิตอลได้อย่างไร และนี่คือคาดการณ์เทรนด์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่จะมีผลต่อโลกดิจิตอลในปี 2021
การท่องเที่ยวแบบจับคู่และกรีนเลนจะสร้างข้อถกเถียงเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
- แม้จะมีการพูดคุยถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลมาหลายปี เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลอย่างระมัดระวังจากบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่บางแห่ง และการปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อคุ้มครองประชาชนในกลุ่มประเทศ EU หรือรู้จักกันในชื่อย่อว่า GDPR ยังคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับบริษัทหลายแห่ง แต่การติดตามผู้สัมผัสทำให้เราหันมาให้ความสนใจถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอย่างจริงจัง
- การติดตามผู้สัมผัสที่เข้มงวดและการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนได้อย่างทันท่วงทีได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อให้คงที่ได้ ในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกหันมาใช้เครื่องมือดิจิทัลดังกล่าวอย่างรวดเร็ว เมื่ออัตราการติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง การวิจัยจาก Future Market Insights ชี้ให้เห็นว่าจะมีแอพติดตามผู้สัมผัสเกิดขึ้นใหม่ในอัตราปีละ 15% เนื่องจากมีการติดเชื้อระลอกใหม่ในหลายประเทศ
- นอกจากการของภาคประชาชนนำโดยหน่วยงานสาธารณสุขแล้ว ภาคเอกชนยังให้การสนับสนุนความพยายามดังกล่าว อาทิ ระบบการแจ้งเตือนแบบเปิดเผย Apple–Google Exposure Notification system ที่เริ่มใช้ในบางประเทศแล้ว
- หลายประเทศมีการจับคู่ท่องเที่ยวระหว่างประเทศและเปิดช่องทางสีเขียวเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีการส่งข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างประเทศโดยมีมาตรการควบคุมความปลอดภัยที่เหมาะสมและสื่อสารอย่างโปร่งใสเรื่องการจัดการและจัดเก็บข้อมูล
มีความจำเป็นในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่างๆ เช่นสายการบิน สนามบินและโรงแรม จะยังมีการถกเถียงเรื่องวิธีการจัดเก็บ การเข้าถึงข้อมูล และการใช้ข้อมูลในปี 2564 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนเริ่มใส่ใจถึงข้อมูลส่วนตัวที่กำลังถูกแชร์อยู่ในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม การแบ่งปันข้อมูลทางการแพทย์ที่ได้จากการทดสอบ COVID-19 ร่วมกับการติดตามผู้สัมผัสและการเช็คอินของพลเมืองที่ปฏิบัติตามกฎหมายทั้งหมด ไม่รวมบุคคลที่ถูกปฏิเสธจากภาครัฐ หากสามารถกลับมาท่องเที่ยวได้อีกครั้ง นักท่องเที่ยวต้องคิดให้รอบคอบอีกครั้งเมื่อพวกเขาต้องให้ข้อมูล
ภาคเอกชนรับช่วงต่อจากภาคประชาชนเพื่อต่อสู้กับโควิด19
- ในขณะที่เครือข่าย 5G ได้มีการเปิดตัวในตลาดมาก่อนแล้ว แต่ความพร้อมใช้งานของ iPhone 12 จะทำให้เห็นการใช้อุปกรณ์ที่รองรับ 5G อย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรก
- สิ่งนี้จะเป็นการกระตุ้นการให้มีบริการเครือข่าย 5G ในหลายประเทศ เนื่องจากบริษัทโทรคมนาคมพยายามปรับหาบริการใหม่ ๆ สำหรับผู้บริโภคและรัฐบาลได้ใช้โอกาสทางดิจิตอลฟื้นฟูเศรษฐกิจในปี 2564 อย่างไรก็ตามยังคงต้องใช้เวลาอีกสักพักก่อนที่จะความหน่วงในการส่งข้อมูลจะลดลงหรือความเร็วที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณตามที่ไดสัญญาไว้
- มีการใช้เครือข่าย 5G ส่วนตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในกลุ่มองค์กร Deloitte คาดการณ์จากยอดการใช้ว่า ว่า 1 ใน 3 ของตลาด 5G ปี 2020-2025 มาจากท่าเรือ สนามบินและสถานที่โลจิสติกส์อื่นๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มแรกๆที่เริ่มใช้เครือข่าย 5G
- การสำรวจล่าสุดของระบบเครือข่าย การบริการ และบริษัทซอฟแวร์ Ciena พบว่า 31% ของผู้ตอบแบบสอบถามจากองค์กรในประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ และญี่ปุ่น เห็นพ้องกันว่าผลกระทบที่ใหญ่ที่สุดของ 5G คือการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และความสามารถขับเคลื่อนดิจิทัลแอปพลิเคชั่นได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลกำลังยุ่งอยู่กับการรับมือกับโควิด 19 และการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ภาคเอกชนจึงรับหน้าที่ต่อเพื่อแข่งขันในเครือข่าย 5G
ในปี 2021 หลายๆ องค์กรควรให้ความสำคัญ จำนวนโหนดที่ต้องติดตั้งเพื่อใช้ในเครือข่ายดังกล่าวนั้น มีความท้าทายมากขึ้น เนื่องจากเป็นการเพิ่มโอกาสที่อาจถูกโจมตีได้อย่างมากเช่นเดียวกัน ภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานไม่สามารถใช้แนวทางเดียวกันเพื่อออกแบบและใช้เครือข่าย 5G อย่างที่เคยทำกับ 3G และ 4G เนื่องจากจะทำให้ตกเป็นเหยื่อจากการถูกโจมตีอย่างง่ายได้
คลาวด์ คอมพิวติ้งจะมีมูลค่าน้อยลง
- การใช้เครื่องมือคลาวด์ที่เพิ่มขึ้น ความต้องการใช้อุปกรณ์ที่มีราคาสูงกับคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากเดสก์ท็อปเสมือนจริง (virtualised desktops) เป็นโซลูชั่นส์ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
- ธุรกิจสามารถจัดหาอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อที่ใช้ง่ายให้แก่พนักงาน ช่วยให้เข้าโปรแกรมและข้อมูลออนไลน์ และส่งงานให้กับพนักงานโดยตรง ในทางกลับกัน เป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับริษัทอีกด้วย
- การออกแบบวิธีที่เชื่อมต่อของพนักงานเพื่อหลีกเลี่ยงความซับซ้อนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ส่วนตัว (BYOD) หรือใช้นโยบายคอมพิวเตอร์ของคุณ (BYOC) มีการแยกส่วนเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
- ความปลอดภัยจะถูกส่งผ่าน Edge ซึ่งจะเห็นโซลูชันส์ต่างๆเช่น Secure Access Service edge (SASE) เป็นบรรทัดฐานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ เนื่องจากความยืดหยุ่น ความเรียบง่าย และ visibility
การแก้ไขการกำหนดค่าที่ไม่ถูกต้อง
- ด้วยการระบาดของโรคทำให้ทีมไอทีห่างไกลจากความคิดที่ไร้ขอบเขตและมุ่งไปสู่ความคิดพื้นฐานมากขึ้น ในปี 2021 องค์กรต่างๆ จะหันมาให้ความสำคัญกับไอทีมากขึ้นเพื่อทำสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกต้องและเปลี่ยนไปสนใจสิ่งที่สำคัญอย่างแท้จริง แม้กระทั่งกลับไปทำวิธีเดิม
- การกระทำเช่นนี้ ทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และบทบาทถูกออกแบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการให้ความสำคัญโดยรวมเพื่อกลับไปแก้ไขและทำให้คลาวด์มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
- ในปี 2019 Bain & Company และ Facebook คาดว่า ในปี 2568 ประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะช้อปปิ้งออนไลน์มากถึง 310 ล้านคน เนื่องจาก COVID-19 ตัวเลขดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายในสิ้นปี 2563 ความเร็วขององค์กรและอุตสาหกรรมทั้งหมดกำลังเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันและข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ แม้ว่าจะมีความซับซ้อนของสภาพแวดล้อมมัลติคลาวด์แบบไฮบริด สัดส่วนที่สำคัญในงานนี้จะต้องถูกดำเนินการโดยระบบอัตโนมัติ
- ตอนนี้ความปลอดภัยต้องทำงานด้วยอัตราเร่งของระบบคลาวด์ และในปี 2564 องค์กรใดก็ตามที่รู้ช้า จะเกิดช่องโหว่แบบทวีคูณ
การขาดแคลนคนเก่งไม่ใช่ในแบบที่คุณคิด
ความต้องการ: ความอยากรู้อยากเห็นและนักแก้ปัญหา ความต้องการบุคคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จะยังคงแซงหน้าอุปทานจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐานด้านการบรรลุความสำเร็จระหว่างมนุษย์กับระบบอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในอนาคตของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องใช้มนุษย์และมนุษย์ไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่าง
บุคลากรจำเป็นต้องเสริมสร้างทักษะที่ระบบอัตโนมัติไม่สามารถทำได้และให้ความสำคัญกับงานที่มีความสำคัญกว่า เช่น การแก้ปัญหา การสื่อสารและการทำงานร่วมกัน บริษัท ต่างๆจำเป็นต้องหยุดค้นหาช้างเผือกที่เข้าใจยาก (พวกเขาไม่มีอยู่จริง!) และเริ่มมองหาผู้มีความสามารถที่เหมาะสม
ข้อมูลส่วนบุคคลเริ่มไม่ชัดเจน
กฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลมีมากขึ้นและความขัดแย้งอำนาจอธิปไตยของข้อมูล คนส่วนใหญ่ไม่พิจารณา ให้รอบคอบในการแลกข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้น เช่น แอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยม เกมบนมือถือ หรือการแข่งขันออนไลน์ เพื่อตอกย้ำปัญหาที่เพิ่มขึ้นและปกป้องข้อมูลพลเมือง กฎระเบียบจึงกำลังถูกสร้างขึ้นมาจากกฎหมายความเป็นส่วนตัว อาทิ ข้อมูลพลเมืองที่อยู่อาศัยในประเทศภูมิลำเนา
อย่างไรก็ตาม การสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่ไม่ได้ช่วยให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้งานหรือองค์กรเชื่อมต่อและเสี่ยงต่อการโจมตีระดับโลกมากขึ้น