ถือเป็นการเปิดตัวแพลตฟอร์ม “Tencent Social Ads” (TSA) อย่างเป็นทางการในประเทศไทย หลังจากเปิดทดลองใช้บริการมาแล้วประมาณ 1 ปี โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ ของไทย สามารถทำการตลาดโดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายลูกค้าจากจีนแผ่นดินใหญ่ผ่านบริการต่าง ๆ ของ Tencent นั่นเอง
โดยคุณกฤตธี มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท เทนเซ็นต์ ประเทศไทย จำกัด เผยว่า ที่ผ่านมา การเจาะกลุ่มเป้าหมายชาวจีนของผู้ประกอบการไทยค่อนข้างประสบปัญหา และมีขีดจำกัดหลายอย่าง เช่น เรื่องของภาษา และเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคที่บางส่วนอาจยังแตกต่างจากไทย และยังไม่มีแพลตฟอร์มใดที่สามารถให้ข้อมูลได้อย่างแน่ชัด นั่นจึงนำไปสู่การพัฒนา Tencent Social Ads ออกมาเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยผู้ประกอบการไทยให้สามารถ Target ผู้บริโภคในจีนได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
“Tencent Social Ads เป็นสื่อที่จะช่วยให้ธุรกิจในไทยสามารถไป Target กลุ่มคนจีนในประเทศจีนได้” คุณกฤตธีกล่าว พร้อมเผยว่า แพลตฟอร์ม TSA นั้นสามารถรองรับกระบวนการด้านการตลาดได้ครบทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การสร้าง Awareness ให้ชาวจีนได้รู้จักแบรนด์ของเรา ถัดมาคือการสร้าง Familiarity หรือคือการให้ข้อมูลสินค้าและบริการในแบรนด์ รวมถึงขั้นของการ Consideration และเกิดการซื้อ (Purchase) ขึ้นในที่สุด รวมถึงการสร้าง Loyalty ที่ทำอย่างไรให้เขาไปบอกต่อถึงสินค้าหรือบริการของเรากับเพื่อน หรือคนรอบข้างด้วย
คุณกฤตธีได้ยกกรณีของ Nestle ที่มีชาวจีนที่เคยมาท่องเที่ยวประเทศไทยได้ซื้อไปลองชิมและติดใจ จนนำไปสู่การเขียนรีวิวบนบล็อก และมีนักท่องเที่ยวจากจีนเดินทางตามรอยมาซื้อกันมากมาย กลายเป็นหนึ่งในไอเท็มห้ามพลาด กระนั้น ก็เกิดความผิดพลาดขึ้นมาจนได้เมื่อทาง Nestle ได้ทำการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งในจุดนี้ทำให้เกิดความสับสนในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีน ที่มาซื้อแล้วไม่เจอบรรจุภัณฑ์เดิมกับที่เคยอ่านจากบล็อก และซื้อไปลองชิมผิดยี่ห้อ จนนำไปสู่การรีวิวในเชิงลบออกเผยแพร่มากมาย ซึ่งหากเป็นอดีต การจะเข้าไปแก้ไขความเข้าใจที่ผิดพลาดนั้นทำได้ยากมาก แต่ทาง Nestle ได้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดังกล่าวในการสื่อสารกับผู้บริโภคชาวจีนจนเกิดความเข้าใจกันมากขึ้นในที่สุด
การมี Official Account มีประโยชน์คือเอาไว้เป็นที่สำหรับให้ข้อมูล เสนอโปรโมชันใหม่ ๆ รวมไปถึง Services ต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการต้องการจะส่งถึงผู้บริโภคชาวจีน
โดยคุณกฤตธีได้ยกตัวอย่างจุดที่ทำให้คนจีนใช้ Social Media กันสูงมากนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่พวกเขาสามารถจบการซื้อได้ภายในแอปพลิเคชัน ยกตัวอย่างเช่น การชมคลิปเพื่อนบน Social Media รีวิวการจ้างคนมาอาบน้ำสุนัขให้ที่บ้าน อาจทำให้ผู้ใช้งานรายอื่นก็เกิดความสนใจ ก็เข้าไปจ้างบ้าง และจ่ายเงินได้เสร็จสรรพภายใน WeChat เลยนั่นเอง
การมี WeChat Moment Ads ที่คล้ายกับ Timeline ใน Facebook
นอกจากมี Official Account แล้ว แบรนด์ยังสามารถแทรกโฆษณาลงใน TimeLine ของผู้ใช้งานได้ด้วย ซึ่งในจุดนี้เป็นรูปแบบการแสดงผลที่คนไทยคุ้นเคยกันดี
การลงโฆษณาใน QZone อีกหนึ่ง Social Media ของจีนที่ได้รับความนิยมสูง
โดย QZone เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มของ Tencent และกลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่น – วัยทำงาน (18 – 35 ปี) ที่แอคทีฟ และค่อนข้างมีฐานะ โดยมีผู้ใช้งานต่อเดือนอยู่ที่ 632 ล้านคน
การแสดงผลโฆษณาบน Qzone เป็นไปตามภาพที่ปรากฏ
เมื่อมาถึงในส่วนของการชำระเงิน ก็มี WeChat Pay รองรับ จึงทำให้เกิดการจ่ายเงินขึ้นได้ภายในแอปพลิเคชันและสามารถจบการทำงานได้ทันที
ส่วนเอเจนซีหรือฝ่ายการตลาดท่านใดที่มองว่ายังมีกำแพงภาษาอยู่นั้น ทาง Tencent ก็เตรียมทีมไว้ซัพพอร์ต และสามารถผลิตคอนเทนต์ภาษาจีนให้ด้วย ซึ่งจากเครื่องมือดังที่ปรากฏอยู่นี้ ใครที่สนใจทำตลาดกับกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน ก็สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Tencent ประเทศไทยเลยค่ะ