Site icon Thumbsup

ผู้บริโภคก้าวสู่ “วิถีใหม่” มุ่งใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะ และสุขภาพ

เต็ดตรา แพ้ค อินเด็กซ์ 2564 เผยผลสำรวจแรงจูงใจและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกว่าผู้บริโภคหันมาคิดทบทวนถึงแนวทางการใช้ชีวิตและการเปลี่ยนวิถีชีวิตในแต่ละวันของพวกเขา ทั้งระบุว่าการระบาดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ตอกย้ำให้ผู้คนมองเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ไม่ว่าจะเป็น การใช้เวลาอยู่กับครอบครัวหรือผู้คนรอบตัว การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในความสัมพันธ์เหล่านี้

นอกจากนี้ ความเปราะบางที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เราทุกคนประสบในช่วงของการระบาดใหญ่ทั่วโลก ได้เปลี่ยนความกังวลไปสู่การดูแลป้องกันอย่างจริงจัง รวมถึงกระตุ้นให้เราเกิดความต้องการที่จะทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ตัวเราเอง อาหารของเรา ชุมชนของเรา และโลกของเรานั้นปลอดภัย

นอกจากนี้ ความปลอดภัยและความมั่นคงด้านอาหารยังถือว่ามีความสำคัญมากเช่นกัน การระบาดใหญ่ชี้ให้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพและยังได้แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนต่าง ๆ ในระบบอาหารออกมาให้เราเห็นอย่างชัดเจน

ความกังวลมากมายที่เรามีต่อสิ่งแวดล้อมชัดเจนมากขึ้น มลพิษและขยะพลาสติกในมหาสมุทรนั้นถือเป็นความกังวลหลักที่เกิดขึ้น (83%) ตามด้วยภาวะโลกร้อน (78%) ซึ่งนับเป็นสามในสี่ของผู้บริโภคที่ทำแบบสำรวจใน 9 ประเทศ โดยนำหน้าความกังวลในเรื่องปัญหาขยะอาหาร (77%) และการเข้าถึงอาหาร (71%) ยิ่งไปกว่านั้น เกือบครึ่ง (49%) ของประชากรทั่วโลกยังตระหนักว่า ทุกการตัดสินใจของพวกเขาในชีวิตล้วนส่งผลส่งกระทบผลต่อสิ่งแวดล้อม

การขาดอิสรภาพและไร้ทางเลือกในช่วงกว่า 20 เดือนที่ผ่านมาได้ผลักดันให้ผู้บริโภคทำทุกหนทางที่จะได้กลับมาควบคุมและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นอยู่

ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม พวกเขามองหาสิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตแบบเชิงรุก ยกตัวอย่างเช่นการเลือกรับประทานอาหาร เพื่อยกระดับสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ และการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยหันมารีไซเคิลกันมากขึ้นและลดการสร้างขยะ ยกตัวอย่างเช่น 62% ของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับคุณภาพของสิ่งที่พวกเขาเลือกรับประทาน

ในขณะที่ 54% ทิ้งอาหารน้อยลงกว่าในช่วงก่อนเกิดการระบาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กว่า 72% ของผู้บริโภคเชื่อว่า “บุคคลเช่นฉัน” จะต้องลงมือทำทันที มิฉะนั้นจะล้มเหลวในรุ่นต่อไปในอนาคต
ผู้บริโภคมองหาผู้ประกอบการที่จะช่วยนำและส่งเสริมนิสัยรูปแบบใหม่เหล่านี้ให้กับพวกเขาได้อย่างยั่งยืน

โดยกว่าหนึ่งในสามของผู้ทำแบบสำรวจ (35%) จะเลือกแบรนด์จากข้อมูลรับรองด้านความยั่งยืนมากกว่าในช่วงก่อนเกิดการระบาดใหญ่ ในขณะที่หนึ่งในสอง (50%) กล่าวว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่บรรจุภัณฑ์อาหารจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 61% คาดหวังให้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มก้าวมาเป็นผู้นำในการหาแนวทางโซลูชันอันยั่งยืน

ด้วยการใช้เวลาอยู่บ้านมากกว่าที่เคย เราจะเห็น “ร่องรอย” ของขยะที่เราสร้างขึ้นมาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ในการแก้ปัญหานี้ ผู้บริโภคเลือกเปลี่ยนการใช้ชีวิตในแต่ละวันของตัวเอง เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์รอบตัวที่เกิดขึ้น

มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภค (55%) มีความรอบคอบในการเลือกซื้ออาหารมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งและสร้างขยะอาหาร ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่ง (46%) ชี้ว่า ตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ พวกเขาพยายามคัดแยกขยะ ไม่ว่าจะเป็นกล่องกระดาษ แก้ว หรือพลาสติก เพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างเหมาะสมต่อไป หนึ่งในสอง (50%) บอกว่า พวกเขาจะหันมารีไซเคิลให้มากขึ้นในปีหน้า เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

การระบาดใหญ่ยังทำให้ผู้คนคิดรอบคอบถึงสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นยิ่งขึ้นกว่าที่เคย พวกเขารู้ถึงคุณค่าในความสัมพันธ์ที่พวกเขามีอย่างแน่นแฟ้นกับเพื่อน ๆ ครอบครัว และผู้คนรอบ ๆ ตัวในรูปแบบใหม่ และการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มร่วมกันได้เข้ามามีบทบาทสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์นี้เป็นไปอย่างสนุกสนานและเพลิดเพลิน

การทำกิจกรรม “ร่วมกันนอกบ้าน” เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ และผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อของจากผู้ประกอบการท้องถิ่น และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากในประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นระหว่างสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกเหนือจากครอบครัวและเพื่อนฝูงแล้ว ทุกคนยังพยายามที่จะสร้างสังคมใหม่ร่วมกัน โดยเกือบหนึ่งในสาม (32%) ร่วมผลักดันให้ชุมชนของพวกเขาหันมาลดขยะกันอย่างเต็มที่

ผู้บริโภคเร่งมองหาหนทางที่จะเปลี่ยนความเปราะบางที่เกิดขึ้นในชีวิตให้เป็นความยืดหยุ่น ซึ่งหมายถึงทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจของพวกเขาดีขึ้นผ่านการเลือกสรรอาหารและวัตถุดิบต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ ผู้บริโภคต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

และต้องสูญเสียหลาย ๆ สิ่ง สิ่งที่ชัดเจนก็คือ ผู้บริโภคกำลังหันมาเริ่มจากตัวพวกเขาเองเพื่อสร้างอนาคตที่มีความยั่งยืนมากขึ้น และคาดหวังว่าบริษัทต่าง ๆ จะเลือกทำแบบเดียวกัน รวมถึงช่วยให้พวกเขาสามารถทำภารกิจเพื่อโลกใบนี้ได้สำเร็จลุล่วง