ภาพประกอบจาก?http://www.hatetexting.com/
สำหรับคนรุ่นใหม่ที่นิยมส่งข้อความสั้นคงต้องหันมาอ่านบทความนี้สักหน่อย เพราะในยุคที่ทุกอย่างต้องการความรวดเร็ว กระชับ ฉับไว การส่งข้อความให้สั้นด้วยการใช้ตัวย่อต่างๆ ดูเหมือนจะกลายเป็นพฤติกรรมที่หลายๆ คนคุ้นเคยจนเป็นนิสัยไปแล้ว แต่นิสัยนี้จะมีผลเสียต่อภาษาที่สวยงามและสื่อถึงอารยธรรมหรือไม่ ลองดูกันครับ
ก่อนที่จะข้ามไปดูการสรุปว่าผลของการส่งข้อความสั้นมีผลกับภาษาอย่างไร ลองมาดูสรุปภาพรวมของการส่งข้อความสั้นบนโลกเรากันหน่อยดีกว่าครับ
- ในปีที่ผ่านมา คนทั้งโลกส่งข้อความทั้งสิ้น 8 ล้านล้านข้อความ หรือประมาณ 15 ล้านข้อความต่อนาที
- 95% ของผู้ที่ส่งข้อความทั้งหมดอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 – 29 ปี
- คนที่พิมพ์ข้อความสั้นเร็วที่สุด สามารถพิมพ์ได้ 149 คำใน 39 วินาที
- ในปีที่ผ่านมา Oxford English Dictionary ได้บรรจุคำย่อที่นิยมใช้ในการส่งข้อความสั้นเข้าไปในพจนานุกรม ทำให้หลายๆ คำย่อกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ เช่น LOL, OMG, FYI เป็นต้น
ทีนี้เมื่อมีการสำรวจว่าการส่งข้อความสั้นดัวยตัวย่อเหล่านี้ถือว่าเป็นการทำลายภาษาหรือไม่ พบว่ามีทั้งด้านที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
- ไม่เห็นด้วย – เพราะคนยังคงใช้ you are และ u r ในจำนวนที่เท่าๆ กัน และยังมีคนใช้ please มากกว่า pls ถึง 3 เท่า และ see you มากกว่า c u ถึง 4 เท่า
- เห็นด้วย – เพราะการที่คนนิยมใช้ตัวย่ออาจจะส่งผลให้ไม่ยอมรับคำใหม่ๆ เท่าที่ควรและกลายเป็นใช้ตัวย่อเหล่านั้นแบบถาวร
และหากลองมาดูว่าการส่งข้อความสั้นช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษหรือไม่ พบว่า เมื่อเด็กประถมปลายถึงมัธยมต้นมีการส่งข้อความสั้นมากขึ้น ความสามารถหรือทักษะทางภาษาโดยเฉพาะในฝั่งของ grammar มีแนวโน้มที่จะต่ำลง
แน่นอนว่าเทคโนโลยีจริงๆ แล้วมีประโยชน์มากมาย แต่หากไม่มีการส่งเสริมให้ใช้ในทางที่เกิดประโยชน์ มันก็อาจจะกลายเป็นดาบสองคมที่ส่งผลร้ายต่อผู้ใช้ไม่มากก็น้อย
บ้านเราควรมีคนออกมาสำรวจวิจัยดูบ้างว่าการใช้ภาษาในบ้านเราเป็นอย่างไรบ้างแล้ว ซึ่งเราอาจจะพบข้อมูลที่น่าสนใจไม่น้อยที่ชาวไทยเองอาจจะต้องตื่นตัวส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและภาษาให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้
ใครที่สนใจรายละเอียดเต็มๆ สามารถดูได้จาก infographic ด้านล่างนี้ครับ
ที่มา:?Mashable