ปี 2020 ต้องเรียกว่าเป็นปีที่เหนื่อยหนักทั่วโลก อาจเพราะทุกคนต้องเจอปัญหาทั้งเศรษฐกิจ การเมืองและโรคภัยไข้เจ็บ รวมไปถึงเกือบจะมีเหตุให้ต้องเผชิญกับภาวะสงครามโลกครั้งที่สามแต่ที่ชัดเจนคือการห้ามออกนอกบ้าน ต้องกักตัวอยู่แต่ภายในเคหะสถานของตนเองนั้น กระทบถึงการทำงาน การออกไปใช้ชีวิต การเดินทาง รวมถึงเศรษฐกิจมวลรวมทั้งหมด ทำให้ทุกประเทศต้องกลับไปดูแผนฟื้นฟูธุรกิจ สุขภาพและประชาชนของตนเอง ให้รอดพ้นภัยพิบัตินี้
ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจจาก SCB
ทางด้านของตลาดหุ้นนั้น ทางธนาคาร SCB ประเมินว่ายังไม่มีผลกระทบที่รุนแรงต่อตลาดหุ้นและผลประกอบการแต่ก็มีข้อแนะนำให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจำกัดคือ กลุ่มพลังงาน บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องดื่มและถุงมือยาง ยังสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจเหล่านี้ได้ เพราะมีโอกาสเติบโตด้านผลประกอบการยาวไปถึงปีหน้า
ส่วนกลุ่มที่คาดได้รั
นอกจากนี้ ยังมีการประเมินผลกระทบเรื่องการระบาดของโควิดต่อพื้นฐานตลาดหุ้นไทยว่าจะไม่รุนแรงเท่ารอบแรก ส่วนการใช้มาตรการเข้มงวดของทางรัฐบาลเกี่ยวกับการจำกัดคนเฉพาะสถานที่สาธารณะต่างๆ ผลกระทบน่าจะตกไปอยู่ที่ปัจจัยพื้นฐาน จนกว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะชะลอตัวลดลงถึงจะมีโอกาสฟื้นกลับมาอีกครั้ง
ภาพรวมเศรษฐกิจจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ในมุมของศูนย์วิจัยกสิกรไทยนั้น มองว่า แม้ในปี 2564 อุตสาหกรรมหลักจะฟื้นตัวเป็นบวกได้ ต้องมาจากฐานที่ต่ำมากในปี 2563 ภาคธุรกิจยังมีความท้าทายยิ่งในภาคการท่องเที่ยว ถือว่ายังได้รับผลกระทบหนักต่อเนื่อง
แม้ว่ารัฐบาลจะมีความพยายามช่วยเหลือคนกลุ่มนี้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเราเที่ยวด้วยกัน หรือส่วนลดด้านภาษี แต่ก็ยังมีโรงแรมและที่พักในหลายพื้นที่ไม่สามารถประคองธุรกิจและมีรายได้หล่อเลี้ยงเพียงพอ อาจเพราะจำนวนธุรกิจรายย่อยในกลุ่มนี้มีเยอะมาก จะมีแค่รายที่สายป่านยาวจริงๆ ที่ยังเดินหน้าต่อได้
ส่วนกลุ่มที่อยู่อาศัยยังเผชิญกับความตึงตัวด้านสภาพคล่องอยู่บ้าง จึงต้องรอบคอบในการเปิดโครงการใหม่ แต่ผู้ประกอบการก็มีการปรับตัวบ้างแล้วในระดับหนึ่งและหารายได้อื่นมาเสริมทำให้สภาพการณ์ยังไม่น่ากังวลนัก
ทางด้านของกลุ่มรถยนต์ก็เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวจากกำลังซื้อทั้งในและต่างประเทศ จากการลงทุนด้านการผลิตรถยนต์แห่งอนาคต ซึ่งเป็นโจทย์ท้าทายในระยะกลางและระยะยาว
อย่างไรก็ตาม การระบาดรอบสองของโควิด-19 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ช่วงการล็อกดาวน์ของบางจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อนั้น ถือว่ามีความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อธุรกิจรายย่อยมูลค่ารวม 45,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
- ความสูญเสียที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าประมงและอาหารทะเล ที่อาจมีมูลค่ารวมกันราว 13,000 ล้านบาท มีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดการชะลอการบริโภคสินค้าประมงและอาหารทะเลในระยะสั้น การส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวในระยะถัดไปก็อาจจะได้รับผลกระทบบ้าง โดยเฉพาะในด้านขั้นตอนการตรวจสอบและกระบวนการต่างๆ ที่คู่ค้าอาจหยิบยกให้ผู้ประกอบการไทยมีการดำเนินการเพิ่มเติมถึงแม้ขณะนี้จะยังไม่มีการยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าก็ตาม
ทั้งนี้ สมุทรสาคร นับเป็นแหล่งวัตถุดิบหลักในธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำ โดยปริมาณสัตว์น้ำสดที่ใช้ในธุรกิจการประมงและการแปรรูปสัตว์น้ำเค็ม มีสัดส่วนเกือบ 40% ของทั้งประเทศ (ไม่รวมวัตถุดิบนำเข้า)[1] การล็อกดาวน์ จึงส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการค้าและการผลิตหมวดนี้ไม่น้อย
อย่างไรก็ดี การสร้างความเชื่อมั่นต่อความปลอดภัยของสินค้าและกระบวนการผลิตโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน คงจะช่วยบรรเทาผลกระทบได้ นอกจากนี้ ผลกระทบดังกล่าวยังนับว่าอยู่ในขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัด จากการที่ผู้บริโภคและผู้ใช้วัตถุดิบยังมีทางเลือกในการซื้อและจัดหาสินค้าจากแหล่งอื่น อีกทั้งมีประเภทอาหารที่หลากหลายและเพียงพอ ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ก็นิยมบริโภคสินค้าประมงและอาหารทะเลในสัดส่วนที่น้อยกว่าเนื้อสัตว์อย่างหมูและไก่อยู่แล้ว
- การที่ประชาชนชะลอการทำกิจกรรมในช่วงเฉลิมฉลองปีใหม่ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท ได้แก่ การเลี้ยงสังสรรค์ การจัดกิจกรรมต่างๆ การลดความถี่ในการใช้จ่ายที่ร้านค้าปลีก เป็นต้น (ไม่รวมการเดินทางท่องเที่ยว) ขณะที่ ประชาชนอาจมีการจัดหาหรือสำรองสินค้าจำเป็น เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ อาหารพร้อมปรุง/พร้อมทาน เพิ่มเติมจากช่วงก่อนหน้านี้บ้าง รวมทั้งคงจะหันไปทำกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นแทนการออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน
- การชะลอการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ คิดเป็นเม็ดเงินที่หายไปประมาณ 17,000 ล้านบาท หรือราว 30% ของรายได้ท่องเที่ยวในช่วงเวลา 1 เดือน ภายใต้กรณีที่ยังไม่ได้มีประกาศห้ามการเดินทางข้ามจังหวัด โดยพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ จังหวัดในภาคตะวันตกและภาคกลาง รวมกรุงเทพฯ ตลอดจนจังหวัดรอยต่อชายแดนระหว่างไทยและเมียนมา อย่างไรก็ดี ประชาชนบางส่วนที่ยังต้องการเดินทางท่องเที่ยวในระยะเวลาใกล้ๆ นี้ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนจุดหมายปลายทางไปยังพื้นที่หรือจังหวัดที่ไม่พบจำนวนผู้ติดเชื้อทดแทนได้เช่นกัน
นอกจากความสูญเสียทั้ง 3 ด้านแล้ว สถานการณ์ COVID-19 รอบใหม่นี้ ยังอาจสร้างผลกระทบด้านอื่นๆ ที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้อย่างชัดเจนด้วย อาทิ ผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการที่ค้าขายสินค้าอื่นๆ ในตลาด จากการที่ผู้คนหลีกเลี่ยงการสัญจรโดยเฉพาะการสัญจรไปในพื้นที่ที่มีการระบาดหรือพบผู้ติดเชื้อ เป็นต้น
[1] ข้อมูลจากรายงานสถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2561 โดยกรมประมง
อย่างไรก็ตาม การที่โควิด-19 กลับมาอีกรอบในช่วงปลายปีและกำลังจะเข้าสู่ช่วยไฮซีซั่นด้านการใช้จ่าย การออกไปใช้ชีวิตและการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยิ่งทำให้เม็ดเงินที่คาดว่าจะสะพัด อาจลดน้อยลงกว่าเดิม หรือหากมองในแง่ดีคือคนไทยปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่แล้ว รู้จักการป้องกันสุขภาพตนเองมากขึ้น แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องการ์ดตก ไม่สวมใส่แมสเมื่ออยู่ในที่ชุมชน แต่เชื่อว่าหลังจากนี้จะกลับมาตั้งการ์ดกันมากขึ้น
คุณกรีฑากร ศิริอัฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ใน เครือ เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการร้านอาหารภายใต้แบรนด์ ซิซซ์เล่อร์ เล่าว่า ในมุมของธุรกิจอาหารอย่างซิซซ์เล่อร์เอง เราค่อนข้างจะมีการวางแผนที่รัดกุมมาก จากเดิมเคยมีแผนสำรองเพียง 2-3 แผน ตอนนี้มีกว่า 10 แผนเลย ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรขึ้นมาก็แก้ไขได้ทันที
“เราผ่านช่วงโควิดรอบแรกไปแล้ว ถ้าไม่นับเคสที่เกิดขึ้นเราคาดการณ์ว่าธุรกิจจะไปได้เรื่อยๆ คือในแง่บริการก็ต้องผสมผสานไลฟ์สไตล์และเดินหน้ากลยุทธ์ออนไลน์ไปด้วยกันจนกว่าจะมีวัคซีนออกมา เราค่อนข้างที่จะเรียนรู้และปรับตัวได้มากแล้ว แผนการลงทุนต่างๆ ก็จะเลือกในแนวทางที่เหมาะสมก่อน อาจจะไม่ได้ตามแผนเดิมร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ไม่ได้ต่างไปจากเดิมมาก”
การปรับตัวที่รวดเร็วทำให้ยอดขายในไตรมาสที่ 3 เติบโตขึ้นจากครึ่งปีแรกคิดเป็น 100% และคาดว่าการเติบโตของซิซซ์เล่
นอกจากนี้ ซิซซ์เล่อร์ ได้พยายามนำร่องเรื่องเทคโนโลยีพวก Contactless ต่างๆ เช่น การจ่ายเงินก็ปรับให้รับได้ทุกรูปแบบออนไลน์-ออฟไลน์ (Cashless) การใช้ปุ่มกดแบบ Smart Alarm Order เข้ามาช่วยลดการส่งเสียงเรียกพนักงาน หรือใช้หุ่นยนต์มาช่วยเสิร์ฟอาหาร
ดังนั้น การลงทุนแต่ละอย่างในอนาคตเราจะเลือกดูจังหวะที่เหมาะสมในแต่ละเรื่อง เตรียมพร้อม Protocal ต่างๆ มากขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และชัดเจนสำหรับการทำงานของทีมด้วย
อย่างไรก็ตาม บริษัทประเมินว่าลูกค้าของซิซซ์เล่อร์มีความยินยอมในการปรับตัวในการใช้บริการสาขามากขึ้น เช่น ยอมวัดอุณหภูมิ ใส่หน้ากากก่อนเข้าร้าน ล้างมือด้วยเจล ใส่ถุงมือขณะตักอาหาร เป็นต้น จึงเป็นสัญญาณที่ดีว่าทุกคนปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตใหม่และรู้จักป้องกันตัวเองมากขึ้น
แม้ว่าเราจะอยู่ในช่วงใกล้สิ้นปีมากๆ อีกเพียงสัปดาห์เดียวก็จะเข้าสู่ปีใหม่ และไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ก็ขอให้ทั้งพนักงานและธุรกิจผ่านพ้นปัญหาและรักษาธุรกิจให้อยู่รอดได้อย่างราบรื่นนะคะ