Korn Ferry Hay Group เผยรายงานอัตราเงินเดือนทั่วโลกปี 2018 ชี้อัตราค่าจ้างในเอเชียเติบโตสูงสุดแต่ไม่แรงเท่าปี 2017 โดยอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อในแต่ละประเทศ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย สำหรับประเทศไทย คาดว่าอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น 4.5 % ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.6 % ในปีที่แล้ว
อัตราการขึ้นเงินเดือนของคนไทยที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ ถือว่าสูงกว่าอัตราฯ ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยทั่วโลกเพียง 1.5% ตามค่าเงินเฟ้อ โดยอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงครึ่งหนึ่งของปีที่ผ่านมา
ด้านสหราชอาณาจักร อาหรับเอมิเรตส์ และอียิปต์ มีอัตราฯ ที่ปรับตัวต่ำลง
หากเจาะที่ผลสำรวจของภูมิภาคเอเชีย Korn Ferry Hay Group ชี้ว่าหากยังไม่หักอัตราเงินเฟ้อ (Real wage) สูงสุด อัตราเงินเดือนในเอเชียจะเพิ่มขึ้นราว 5.4% ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 6.1% จากเมื่อปีก่อน แต่หากหัก Real wage แล้วจะอยู่ที่ราว 2.8% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราสูงที่สุดในโลก
สำหรับจีน มีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นที่ 4.2% ในปี 2018 ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้ในปีก่อนว่าจะเพิ่มขึ้น 4% ทั้งนี้ ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียมีสัดส่วนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี อาทิ เวียดนามคาดการณ์ที่ 4.6% ลดลงจาก 7.2% ของปีก่อน สิงคโปร์ที่ 2.3% ลดจาก 4.7% ญี่ปุ่นที่ 1.6% ลดลงจาก 2.1% ของปีก่อน
ส่วนประเทศไทย คาดการณ์ว่าอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น 4.5 % ซึ่งยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.6 % ในปีที่แล้ว
เมื่อพิจารณาการปรับขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ คาดการณ์ว่าลูกจ้างทั่วโลกจะได้รับสัดส่วนการขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยเพียง 1.5% ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ปี 2017 ที่ 2.3% และ 2.5% ของปี 2016
ทั้งหมดนี้ Korn Ferry Hay Group ให้เหตุผลว่าเพราะภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในแต่ละประเทศ จึงทำให้เห็นการลดลงของอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งแม้สัดส่วนการเพิ่มหรือลดเงินเดือนจะแตกต่างไปตามตำแหน่งงาน อุตสาหกรรม ประเทศ และภูมิภาค แต่ประเด็นสำคัญที่เห็นชัดเจนคือ พนักงานกินเงินเดือน “จะไม่สามารถรู้ได้ถึงการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนที่แท้จริง เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา”
ผู้สนใจข้อมูลผลการสำรวจเงินเดือนพนักงานทั่วโลกเพิ่มเติม สามารถอ่านรายละเอียดได้จากที่มา
ที่มา: BW, MalaysianDigest