สำนักข่าวนิเคอิ (Nikkei) รายงานว่า สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยเศรษฐกิจไทยติดลบ 6.1% หดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998
ถือเป็นปีที่สามแล้วที่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ติดลบ โดย 2 ครั้งล่าสุดคือปี 2541 คิดลบ 7.6% และปี 2552 ติดลบ 0.9%
สศช. เผยจีดีพีหดตัว 4.2% ในไตรมาส 4 ปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 สะท้อนวิกฤตพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออกของประเทศ
อย่างไรก็ตามสัญญาณทางเศรษฐกิจมีการเติบโต 6.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2563 และมีอัตราเติบโตที่เพิ่มขึ้น 2 ไตรมาสติดต่อกัน
รายงานระบุว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2563 ลดลงมากถึง 60% เมื่อเทียบกับปี 2562 จากการยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะที่ภาคการส่งออกลดลง 5.8% เนื่องจากอุปสงค์หดตัวลงทั่วโลก
สำหรับการบริโภคในประเทศหดตัว 1% จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนในช่วงแรก ที่ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย ด้านภาครัฐพยายามลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ อุดหนุนค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวภายในประเทศ แต่ก็ไม่สามารถผลักดันให้เศรษฐกิจพ้นจากการติดลบได้
การแพร่ระบาดระลอกใหม่นับตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมปี 2563 ส่งผลให้หน่วยงานเอกชนและภาครัฐปรับคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจในปี 2564 อยู่ระหว่าง 3.5% – 3.5%
ที่มา